มั่นใจ เอกสารเก่าล้ำค่าจันทบุรี ขึ้นแท่นเป็นมรดกความทรงจำโลกได้


เพิ่มเพื่อน    

 

17ส.ค.61-จันทบุรี 0มั่นใจ เอกสารเก่าล้ำค่าจันทบุรี ขึ้นแท่นเป็นมรดกความทรงจำโลกได้  โดดเด่นสะท้อนการบริหารงานราชการส่วนกลาง-ภูมิภาค ในช่วงตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่1และครั้งที่ 2 เกี่ยวข้องบุคคลทุกระดับตั้งแต่พระมหากษัตรยิ์ นายกฯ รมต.และเจ้าหน้าที่  อีกทั้งค้นพบภาพในหลวง ร.9 เสด็จจันทบุรี 6ครั้ง ภาพความทรงจำที่หายาก

 จากกรณีหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี กรมศิลปากร ค้นพบเอกสารสำคัญของจันทบุรีบริเวณใต้ถุนอาคารศาลาว่าการมณฑลจันทบุรี ซึ่งต่อมาใช้งานเป็นสำนักงานหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี โดยเป็นเอกสารสำคัญเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ระดับโลก อายุเฉลี่ย 100 ปี ระหว่าง พ.ศ.2449-2522 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1-2 และช่วงสงครามเย็น โดยทางหอจดหมายเหตุแห่งชาติจันทบุรีได้ทำโครงการ “การบริหารราชการหัวเมืองตะวันออก:จันทบุรี” เพื่อนำเสนอเข้าคณะกรรมการมรดกความทรงจำโลกแห่งประเทศไทย และเคยเสนอให้คณะกรรมการฯ พิจารณาแล้ว เมื่อเดือนธันวาคม 2560 ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับแก้เอกสารนั้น 


ความคืบหน้าล่าสุด  นายเมธาดล วิจักขณะ รองอธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า ในการแก้เอกสารจดหมายเหตุ “การบริหารราชการหัวเมืองตะวันออก : จันทบุรี” เพื่อเสนอขึ้นทะเบียนเอกสารมรดกความทรงจำแห่งโลกของประเทศไทย นอกจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี ที่มีหน้าที่จัดทำเอกสารแล้ว มอบหมายให้คณะกรรมการจดหมายเหตุแห่งชาติ ที่มีเจ้าหน้าที่สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ร่วมเป็นคณะกรรมการ ช่วยปรับแก้เอกสารชุดนี้   เพื่อให้เป็นไปตามหัวข้อที่กำหนด ให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์ รวมถึงแนบเอกสารเพิ่มเติม แบบแผนบริการจัดการและการดูแลรักษาเอกสารมรดกชุดนี้ อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการจดหมายเหตุแห่งชาติชุดนี้เคยประสบความสำเร็จในการเสนอฟิล์มกระจกและต้นฉบับภาพถ่ายชุดหอพระสมุดวชิรญาณขึ้นเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก เชื่อว่า จะให้คำแนะนำแก่หัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี อาจไม่คุ้นเคยกับการจัดทำเอกสารเสนอมรดกโลกได้ ขั้นตอนต่อไปคณะกรรมการมรดกโลกของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่ง สหประชาชาติ (ยูเนสโก) ก็จะต้องเดินทางมาดูเรื่องการบริหารจัดการและดูแลรักษาเอกสารด้วย  

 

นางสุมลฑริกาญจณ์ มายะรังษี หัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี กล่าวว่า ตนได้เสนอให้คณะกรรมการมรดกความทรงจำโลกแห่งประเทศไทย พิจารณาโครงการ “การบริหารราชการหัวเมืองตะวันออก:จันทบุรี” ขึ้นมรดกความทรงจำโลก เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2560 เป็นครั้งแรก โดยคณะกรรมการฯ เห็นว่าข้อมูลดี แต่วิธีการนำเสนอยังไม่ชัดเจน  และคิดว่าข้อมูลเอกสารที่มีสามารถขึ้นทะเบียนได้ในระดับโลก เพราะมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สำคัญ คือ “การบริหารราชการหัวเมืองตะวันออก : จันทบุรี” เนื้อหาภายในของเอกสาร แสดงถึงพัฒนาการด้านการบริหารราชการระหว่าง ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ที่เชื่อมโยงโต้ตอบไปมา โดยมีลักษณะทางกายภาพที่ชัดเจนด้วยเอกสารประเภท สารตรา ใบบอก และบันทึกต่าง ๆ ระยะเวลาของเอกสารตั้งแต่ พ.ศ.2476 – 2522 มีจำนวน 163 ฟุต 326 กล่อง 4,260 รายการ 358,600 แผ่น 537,900 หน้า      
"เนื้อหาเอกสารมีความโดดเด่น แสดงความสัมพันธ์เชื่อมโยงถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์สำคัญตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 สงครามโลกครั้งที่ 2 และช่วงสงครามเย็น  สัมพันธ์กับเอกสารจดหมายเหตุของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ชุดกระทรวงมหาดไทย และชุดกระทรวงการต่างประเทศ และเอกสารจดหมายเหตุของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ตรัง ชุดมณฑลภูเก็ต    นอกจากนี้ยังมีบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเอกสารชุดนี้ เช่น พระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 9  รวมถึงเสนาบดีกระทรวงต่างๆ   นายกรัฐมนตรี  หัวหน้าคณะปฏิวัติ  สมุหเทศาภิบาลมณฑล  ผู้ว่าราชการจังหวัด  กรมการจังหวัด  เป็นต้น "


นางสุมลฑริกาญจณ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้  โดยเอกสารสำคัญ ซึ่งมีคุณค่าที่ค้นพบคือ เอกสารแจ้งการเสด็จพระราชดำเนินของในหลวง รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 นำไปสู่การค้นหาพระบรมฉายาลักษณ์ เพื่อยืนยัน ซึ่งพบว่าทรงเสด็จพระราชดำเนินมาที่จังหวัดจันทบุรีถึง 6 ครั้ง ดังนี้ .


 วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2499  เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิดอาคารผ่าตัด “ประชาธิปก” และทรงเปิดป้ายนาม “โรงพยาบาลพระปกเกล้า” ซึ่งได้สร้างและจัดตั้งเป็นอนุสรณ์แด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 

วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2513  เสด็จพระราชดำเนินไปยังบ้านโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานถึงของขวัญแก่นาวิกโยธินและตำรวจตระเวนชายแดน สิ่งของเครื่องอุปโภคแก่ราษฎร และเครื่องเรียนให้แก่นักเรียน แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท 

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2514 เสด็จพระราชดำเนินโดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งจากสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ไปทรงเยี่ยมราษฎรในอำเภอตาพระยา อำเภออรัญประเทศ จัวหวัดปราจีนบุรี และอำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี 

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ.2520  เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ ไปทรงเททองหล่อพระประธาน วัดเขาสุกิม พระราชทานธงลูกเสือชาวบ้านและทรงเยี่ยมราษฎร ณ วัดเขาสุกิม ตำบลบายศรี อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี 

วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2524   เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ สวนสาธารณะทุ่งนาเชย อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี 

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2531พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในหลวงร. 9 เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราขกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดเขื่อนและโรงไฟฟ้าพลังน้ำ “คีรีธาร” อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"