''บิ๊กตู่'' ไม่ปลื้มค้านโทษประหาร เผือกร้อน 7 ว่าที่ กสม. ในมือ สนช.


เพิ่มเพื่อน    

      ทันทีที่รายชื่อผู้จะเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.) 7 คน ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการสรรหาเมื่อวันที่ 22 สิงหาคมปรากฏออกมา ทั้งข่าวในหน้าสื่อ ตามมาด้วยเสียงวิเคราะห์วิจารณ์จากสังคม รวมทั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก็ประสานเป็นเสียงเดียวกันในทำนองว่า เอ็นจีโอเข้ามาเกินครึ่ง

      แถมตั้งประเด็นว่า 1 ใน 7 คนนั้น มีเอ็นจีโอหญิงคนหนึ่งที่ชื่อ นางสมศรี หาญอนันทสุข มีจุดยืนคัดค้านการลงโทษประหารชีวิต จะมีความเหมาะสมกับการที่ สนช.จะต้องพิจารณาและลงมติให้ความเห็นชอบไปเป็น กสม.หรือไม่

      ตรวจสอบรายชื่อ 7 ว่าที่ กสม.ที่ผ่านคณะกรรมการสรรหา พบว่า มี 4 คนเป็นเอ็นจีโอและนักกิจกรรมทางสังคม นอกจากนางสมศรีแล้ว ก็มีนายไพโรจน์ พลเพชร, นายบุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์ และนายสุรพงษ์ กองจันทึก

      ส่วนอีก 3 คนที่ไม่ได้เป็นเอ็นจีโอ ได้แก่ นายจตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร น.ส.ปิติกาญจน์ สิทธิเดช และ น.ส.พรประ ไพ กาญจนรินทร์

      ประเด็นร้อนที่ถูกหยิบยกขึ้นมาถกแถลงกันอย่างเคร่งเครียดก็คือ การมีจุดยืนคัดค้านการลงโทษประหารของนางสมศรี และอาจมีว่าที่ กสม.คนอื่นๆ ด้วยนั้น เป็นสาระสำคัญต่อการให้ความเห็นชอบของ สนช.เพื่อส่งให้ไปเป็น กสม.หรือไม่

      เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มี 2 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันเกี่ยวกับโทษประหารชีวิต และนางสมศรีได้แสดงความไม่เห็นด้วยกับการลงโทษประหารชีวิต

      เหตุการณ์แรก วันที่ 18 มิถุนายน เจ้าหน้าที่เรือนจำกลางบางขวางได้ประหารชีวิตด้วยการฉีดยานักโทษเด็ดขาด นายธีรศักดิ์ ข้อหาฆ่าผู้อื่น (นักเรียนชาย ชั้น ม.5) ที่จังหวัดตรัง อย่างทารุณโหดร้าย ใช้มีดแทง 24 แผลเพื่อชิงทรัพย์

      เหตุการณ์ที่สอง วันที่ 24 มิถุนายน ตำรวจจับกุมนายธนกฤต ประกอบ หรือ วุธ ผู้ต้องหาฆ่าหั่นศพ น.ส.เมย์ อายุ 24 ปี อดีตอดีตแฟนสาว โดยใช้ค้อนทุบศีรษะ หั่นศพใส่กระสอบปุ๋ยแล้วนำไปโยนทิ้งในป่าซอยสามวา

      บิดาและญาติผู้ตายรวมทั้งกระแสสังคมเห็นว่าเป็นพฤติกรรมการที่โหดเหี้ยม สมควรลงโทษประหารชีวิต

      การลงโทษด้วยการประหารชีวิตเป็นประเด็นร้อนทุกครั้งเมื่อมีเหตุฆาตกรรมอย่างโหดเหี้ยมผิดมนุษย์และตำรวจจับคนร้ายได้ เช่น ฆ่าข่มขืน ฆ่าชิงทรัพย์ ฆ่าเพราะหึงหวง ฯลฯ โดยฝ่ายหนึ่ง ได้แก่ ครอบครัว ญาติพี่น้องและสังคม เรียกร้องให้ลงโทษประหารชีวิต

      อีกฝ่ายหนึ่ง ได้แก่ นักสิทธิมนุษยชนหรือเอ็นจีโอบางส่วน องค์การนิรโทษกรรมสากล เห็นว่าไทยควรยกเลิกโทษประหาร

      แต่กระแสของฝ่ายแรกที่ถือหลัก คนทำให้คนอื่นตาย ต้องชดใช้กรรมที่ตัวเองก่อไว้ จะมีน้ำหนัก ได้รับการยอมรับมากกว่า

      แม้แต่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็แสดงทัศนะอย่างชัดเจนให้คงโทษประหารชีวิตเอาไว้ โดยได้กล่าวเมื่อวันที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมา กรณีองค์กรระหว่างประเทศออกมาเรียกร้องให้ไทยยกเลิกโทษประหารชีวิต หลังกรมราชทัณฑ์แถลงข่าวได้ประหารชีวิตนักโทษ คดีฆ่าชิงทรัพย์

      โดย พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า เป็นกฎหมายของเราที่ยังคงมีอยู่ ซึ่งความคิดเห็นของประชาชนส่วนใหญ่ตอนที่มีการพิจารณาว่าจะยกเลิกโทษประหารหรือไม่นั้น เสียงประชาชนส่วนใหญ่มีความเห็นว่า เห็นควรให้มีอยู่ ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายและขั้นตอนกระบวนการยุติธรรม ซึ่งปัจจุบันมีคดีร้ายแรงหลายๆ คดีเกิดขึ้น การมีโทษประหารก็เพื่อทำให้บ้านเมืองสงบสุขและเพื่อเป็นบทเรียนสอนใจ ซึ่งเป็นเรื่องความจำเป็นของเราและความต้องการของประชาชน     

      เมื่อไปตรวจสอบท่าทีของ พล.อ.ประยุทธ์ ดูจะไม่ปลื้มกับเอ็นจีโอสักเท่าไหร่ ตลอด 4 ปีเศษที่ผ่านมา เอ็นจีโอได้แสดงออกในหลายรูปแบบ ทำให้หลายโครงการของรัฐบาลต้องสะดุดหยุดลง

       เราอย่าไปคิดอะไรที่แบบตกขอบ มองข้ามประเด็นส่วนรวม อะไรที่เป็นวาระแห่งชาติ อะไรเพื่อคนไทย เพื่อประเทศไทย เราก็จะต้องมีบทบาทร่วมกัน ในการช่วยส่งเสริม ช่วยตรวจสอบแก้ผิดให้เป็นถูก หาทางออกร่วมกัน ถ้าโจมตีอย่างเดียว....เราอย่าทำตัวกันเป็นจระเข้ขวางคลอง หรือไม่ก็ปิดหู ปิดตา คัดค้านตลอดเวลา โดยไม่ชั่งน้ำหนัก"  พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวไว้เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2560 ในรายการศาสตร์พระราชา

       การคัดค้านโทษประหารชีวิตเป็นประเด็นหนึ่งที่ สนช.คงจะพิจารณาว่า จะยอมรับกรรมการสิทธิฯ ที่มีทัศนคติเช่นนี้หรือไม่.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"