เสนอ"เชียงใหม่-เมืองโบราณศรีเทพ" เป็นมรดกโลก วธ.ชงเอกสารให้ยูเนสโกสิ้นเดือนก.ย.


เพิ่มเพื่อน    

12 ก.ย.61-นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วัฒนธรรม   เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะอนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรมครั้งที่ 2/2561 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบเอกสารนำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม อนุสรณ์สถานแหล่งต่างๆ และภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเชียงใหม่ นครหลวงล้านนา เพื่อเข้าสู่กระบวนการนำเสนอเป็นมรดกโลกต่อองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)  ภายในวันที่ 30 ก.ย.  นอกจากนี้  ที่ประชุมยังได้รับรายงานความคืบหน้าการจัดทำเอกสารฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในการนำเสนอแหล่งมรดกวัฒนธรรม เมืองโบราณศรีเทพ เพื่อเสนอยูเนสโกพิจารณาเข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้นมรดกโลกที่ดำเนินการแล้วเสร็จ  โดยได้เพิ่มเกณฑ์พิจารณาคุณค่าโดดเด่นความเป็นสากลของแหล่งมรดกวัฒนธรรม ในเกณฑ์ที่ 3 เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว  พร้อมกันนี้ ได้เห็นชอบให้จัดประชุมสัมมนาระดับนานาชาติ  โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาให้ความรู้และข้อคิดเห็นด้านประวัติศาสตร์และการนำเสนอเมืองโบราณศรีเทพเป็นมรดกโลก เพื่อนำข้อมูล มาปรับปรุงเนื้อหาเอกสารนำเสนอให้มีความครบถ้วนและรอบด้านมากขึ้น

          นายวีระ กล่าวอีกว่า ขณะที่ความคืบหน้าการจัดทำเอกสารนำเสนอแหล่งมรดกวัฒนธรรม กลุ่มเทวสถานปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำ และปราสาทปลายบัด เพื่อเตรียมเสนอเข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้นมรดก  ที่ประชุมให้คณะทำงานจัดทำเอกสารไปปรับปรุงเอกสารนำเสนอ  โดยให้เพิ่มเติมการกำหนดเกณฑ์พิจารณาคุณค่าโดดเด่นเป็นสากลในเกณฑ์ที่ 4 และเกณฑ์ที่ 5 เนื่องจากเป็นแหล่งมรดกวัฒนธรรม กลุ่มโบราณสถานที่ทรงคุณค่ามีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวในหลายด้านรวมไว้ด้วยกัน ทั้งด้านสถาปัตยกรรม ศิลปกรรมฝีมือช่าง วิศวกรรมเทคนิคการก่อสร้าง ชลประทานและการปกครองในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-18  นอกจากนี้ จากการใช้เทคโนโลยี LiDAR สำรวจพื้นที่กลุ่มปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทปลายบัด ปราสาทเมืองต่ำ พบว่า มีความพิเศษ  โดยเฉพาะการจัดการน้ำภายในพื้นที่และเชื่อมโยงถึงกันอย่างเป็นระบบและใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมและดำรงชุมชนควบคู่ไปกับการสร้างเทวสถานจำลอง แผนผังเขาพระสุเมรุและจักรวาลในคติความเชื่อของศาสนาฮินดู  โดยดัดแปลงปากปล่องภูเขาไฟเป็นสระน้ำ มีการขุดสร้างบาราย (สระน้ำโบราณ) ขนาดใหญ่และขนาดเล็กในตำแหน่งที่เชื่อมโยงกัน โดยใช้ทางน้ำธรรมชาติและการสร้างคันบังคับน้ำ รวมทั้งพบว่ามีชุมชนโบราณตั้งอยู่ในพื้นที่กว่า 40 แหล่ง บางแหล่งมีการใช้พื้นที่เป็นแหล่งโลหะกรรม การถลุงเหล็ก


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"