รพ.ศรีสังวาลย์ แม่ฮ่องสอน ร้องขาดทุนติดหนี้ค่ายา 100ล.งบฯบัตรทอง-กปส.ไม่พอเลี้ยงตัว


เพิ่มเพื่อน    

14ก.ย.61- รพ.ศรีสังวาลย์ จ.แม่ฮ่องสอน  ขาดทุน งบฯค่าใช้จ่ายรายหัวบัตรทองและประกันสังคมไม่เพียงพอ เวลาสั่งยามักจะได้ยามาเพียงครึ่งเดียวซึ่งเป็นพวกยาเก่า ติดหนี้ค่ายารวมกว่า 100 ล้านบาท ผอ.พ้อ  แม่ฮ่องสอน ควรเป็นพื้นที่เศษ  ควรได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้นตามความจำเป็นของพื้นที่

นพ.พงษ์พจน์ ธีรานันตชัย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จ.แม่ฮ่องสอน กล่าวว่า รพ.ศรีสังวาลย์ เป็นโรงพยาบาลที่ได้รับงบประมาณติดลบมาตั้งแต่เริ่ม โดยเฉพาะงบประมาณหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือบัตรทอง ซึ่งคิดตามรายหัวประชากร โดยได้รับงบประมาณม85 ล้านบาท แต่จะต้องหักเงินเดือนบุคลากรก่อนอยู่ที่ 87 ล้านบาท ขณะที่งบจากกองทุนประกันสังคม มีผู้ประกันตน 8,000 คน ได้รับงบประมาณ 14 ล้านบาท แต่ต้องจ่ายไปทางเชียงใหม่ เนื่องจากต้องมีการส่งต่อ 10 ล้านบาท เหลือที่เราแค่ 4 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม รพ.ศรีสังวาลย์เวลาสั่งยามักจะได้ยามาเพียงครึ่งเดียวซึ่งเป็นพวกยาเก่า เนื่องจากติดหนี้ค่ายาบริษัทยารวมกว่า 100 ล้านบาท   นอกจากนี้ ปัญหาสำคัญในพื้นที่ คือ การจัดซื้อครุภัณฑ์ สิ่งของจำเป้นในการรักษาคนไข้ มีราคาสูงกว่าพื้นที่อื่นหลายเท่า เช่น ถังออกซิเจนแพงกว่า 3-4 เท่า โดยซื้อในราคา 19 บาทต่อลิตร ขณะที่ที่อื่นราคาประมาณ 4 บาทต่อลิตร ล่าสุด หลังจากรัฐบาบประกาศเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ บริษัทที่จัดส่งก็ทำหนังสือเพื่อขอเพิ่มราคาออกซิเจนอีก 

นพ.พงษ์พจน์ กล่าวว่า จากปัญหาเหล่านี้ได้มีการหารือกับผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ถึงแนวทางแก้ไขปัญหา เนื่องจากแม่ฮ่องสอนเป็นพื้นที่ที่มีความแตกต่าง การดำเนินการรวมทั้งเงื่อนไขการเบิกจ่ายเงินตามกฎเกณฑ์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จึงทำได้ยาก ควรมีการปรับเปลี่ยนให้เป็นพื้นที่พิเศษหรือพื้นที่เฉพาะ ซึ่งจะช่วยให้ได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้นตามความจำเป็นของพื้นที่จริงๆ รวมไปถึงบุคลากรและอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ มิเช่นนั้น การแก้ปัญหาต่างๆจะไม่ตรงจุด เนื่องจากเป็นการเกลี่ยงบจากพื้นที่หรือโรงพยาบาลอื่นๆมาให้กับแม่ฮ่องสอน  ซึ่งเป็นการกระทบกับโรงพยาบาลอื่นเช่นกัน  ทั้งนี้เนื่องจากเป็นในส่วนบุคลากรมีปัญหา เนื่องจากเป็นพื้นที่ห่างไกลจะเกิดปัญหาแพทย์ไหลออกจากพื้นที่มาก อย่างปัจจุบันที่ รพ.มีแพทย์ทั้งหมด 18 คน มีกุมารแพทย์เพียง 1 คนเท่านั้นโดยกรมการแพทย์ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาช่วย 1 คน เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ต่อ 1 เดือน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่หากมีหนทางที่สามารถเพิ่มบุคลากรได้ก็จะเป็นเรื่องที่ดีมาก 

กล่าวว่า สำหรับแนวทางการแก้ปัญหาของโรงพยาบาลเอง เรายึดหลักเพิ่มรายรับและลดรายจ่าย อาทิ การลดราคาค่าห้องพิเศษ เพื่อดึงให้ผู้ป่วยใช้บริการมากขึ้น เพราะเราเป็นพื้นที่ห่างไกลปกติประชาชนจะไปพื้นที่เชียงใหม่มากกว่า  รวมทั้งเพิ่มศักยภาพการบริการตามเงื่อนไขของ สปสช.ในกลุ่มรักษาโรคร่วม หรือดีอาร์จี อาทิ ไตเทียม การผ่าตัดระดับสูง  นอกจากนี้ รายได้ของรพ.จะได้จากการบริจาคจากภาคส่วนต่างๆ ซึ่งจะมุ่งเอามาใช้เพื่อซื้อยารักษาโรคให้กับคนไข้ เพราะมีปัญหาเรื่องค้างหนี้ยา หากไม่จ่ายจะไม่ได้รัยยาใหม่ๆหรือได้ไม่เต็มจำนวน และมองว่าความถี่ในการใช้งานอาจไม่มาก หากนำไปซื้อเครื่องมือแพทย์
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากเป็นพื้นที่พิเศษ จะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ทั้งหมดหรือไม่  กล่าวว่า ช่วยได้ แต่ตัวกฎหมายต้องมีการระบุให้ชัดว่าจะไม่ขัดต่อเงื่อนไขการเบิกจ่ายงบของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 รวมทั้ง พ.ร.บ. ประกันสังคม ซึ่งกำหนดการจ่ายเงินรายหัวเท่ากันทั่วประเทศและมีเงื่อนไขปลีกย่อยจำนวนมาก หากมีการประกาศเป็นพื้นที่พิเศษต้องมีการเขียนให้ชัดเจนเพื่อจะเบิกจ่ายได้ตามความเป็นจริง .


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"