'ยโสธร'  คว้ารางวัล 'เมืองน่าอยู่' ปี 61 ทั้งระดับประเทศและติดอันดับ 7 ระดับนานาชาติ จากการคัดเลือกของ WWF


เพิ่มเพื่อน    

17ก.ย.61-   เทศบาลเมืองยโสธร จ.ยโสธร คว้ารางวัลชนะเลิศระดับประเทศ และอันดับ 7 ในระดับนานาชาติ  ในโครงการเมืองน่าอยู่สู่โลกยั่งยืน หรือ One Planet City Challenge (OPCC) ประจำปี 2561  โดยกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) คณะกรรมการเผย มีความโดดเด่นการจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นเลิศ รวมถึงจัดการระบบการคมนาคมภายในเมืองที่สะดวกยิ่งขึ้น


    การประกาศเมืองน่าอยู่ดังกล่าว ดำเนินการโดยองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล หรือ WWF ประเทศไทย ร่วมกับศูนย์ข้อมูลก๊าซเรือนกระจก องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)  นอกจากนี้ ยังมีพิธีมอบรางวัลชนะเลิศ ให้แก่เทศบาลเมืองยโสธร จ.ยโสธร  ที่เป็นเมืองน่าอยู่ ในโครงการเมืองน่าอยู่สู่โลกยั่งยืน ประจำปี 2561 ในระดับประเทศ และอันดับ 7 ในระดับนานาชาติ โดยประเทศไทยมีการส่งเทศบาลเมืองเข้าร่วมคัดเลือก 10 เมืองและในระดับนานาชาติจำนวน 132 เมือง  23 ประเทศทั่วโลกในปีนี้ 


 นายกอร์ดอน คองดอน ผู้จัดการฝ่ายงานอนุรักษ์ องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล หรือ WWF ประเทศไทย กล่าวว่า  โครงการเมืองน่าอยู่สู่โลกยั่งยืน ถือเป็นส่วนสำคัญของ WWF เพราะเป็นอีกหนึ่งหนทางที่ช่วยประเทศในการเจรจาด้านภูมิอากาศระดับชาติ และมีส่วนช่วยให้เมืองบรรลุเป้าหมายตามความตกลงปารีส ด้วยความช่วยเหลือจากชุมชนในระดับท้องถิ่น  โดยปีนี้เน้นย้ำเพิ่มเติมในด้านการคมนาคมและการเดินทางอย่างยั่งยืน ซึ่งถือเป็นความท้าทายที่สำคัญด้านสิ่งแวดล้อมของเมืองใหญ่ทั่วโลก เพราะเกือบ 1 ใน 4 ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาจากการคมนาคมขนส่ง จึงต้องมีการบริหารจัดการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยไม่รบกวนระบบนิเวศของโลกจนเกิดขีดความสามารถในการรักษาสมดุลของตัวมันเอง ซึ่งนับว่าเป็นอีกโอกาสที่เมืองต่างๆได้มาร่วมแชร์ประสบการณ์การบริหารจัดการในการลดคาร์บอน หวังว่าเมืองต่างๆจะนำไปเป็นตัวอย่างและแรงบันดาลใจในการพัฒนาเมือง


ด้าน นายวีระวัฒน์ ภักตรนิกร นายกเทศมนตรี เมืองยโสธร กล่าวว่า ยโสธรเป็นเมืองเล็กๆ ที่มีประวัติการก่อตั้งมายาวนาน เป็นเมืองที่มีความสงบ เรียบร้อย สวยงาม  ประชาชนมีวิถีการดำรงชีวิตแบบเรียบง่าย   ในแบบสังคมพี่น้อง และมีความเป็นธรรมชาติสูง  ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่จะก่อให้เกิดมลพิษ  อีกทั้งยังมีการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน  มีสามล้อปั่นเป็นพาหนะในการเดินทาง ในขณะที่เมืองต่างๆ รอบข้าง มีความเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างของเมืองไป อย่างรวดเร็ว แต่เมืองยโสธรยังคงเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ  ความมีเอกลักษณ์ในวัฒนธรรมประเพณีประจําถิ่นของตัวเอง ในอีกมุมหนึ่ง  จึงกลายเป็นจุดแข็งและเอกลักษณ์ของเมืองและความโดดเด่นของเมืองแบบที่หาไม่ได้ที่อื่น ทั้งนี้ได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการยโส  โลว์คาร์บอน ไว้ในแผนยุทธศาสตร์การลดและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  ในแผนพัฒนาเทศบาลเมืองยโสธร พ.ศ.2561-2564  

 


 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"