รักษามะเร็งแบบจำเพาะบุคคลทางรอดใหม่


เพิ่มเพื่อน    


แพทย์ชูนวัตกรรมการรักษาโรคมะเร็งแบบเจาะจง โดยใช้ภูมิคุ้มกันบำบัด ให้ยาแบบพุ่งเป้าเฉพาะบุคคล ชี้ ปัญหาอยู่ที่การเข้าถึงยา บางตัวยังไม่มีในไทย และมีค่าใช้จ่ายที่สูง จึงใช้รักษาได้ในผู้ป่วยที่สามารถจ่ายได้เท่านั้น  หวังมีการใช้แพร่หลาย ราคายาจะถูกลง และเพิ่มโอกาสให้รัฐบาลเห็นถึงความคุ้มค่าบรรจุในสิทธิรักษาประชาชน

วันที่26 ม.ค. ที่โรงแรมพลาซ่า แอทธินี บริษัทโรช ไทยแลนดื จำกัด จัดงานแถลงข่าว เรื่อง “นวัตกรรมการตรวจหาลักษณะจำเพาะและความผิดปกติของเซลล์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาโรคมะเร็ง “ โดย นพ.หฤษฎ์ สุวรรณรัศมี  แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวถึงวิวัฒนาการของการรักษาโรคมะเร็ง ว่า โรคมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขของโลก โดยมีอุบัติการณ์สูงขึ้นเรื่อยๆ ทั่วโลกมีรายงานผู้ป่วยโรคมะเร็งปีละ 8 ล้านคน และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของประชากรไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2553 มีผู้เสียชีวิต 60,000 คนต่อปี โดยมีสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากสิ่งแวดล้อม และประมาณ 10 กว่าเปอร์เซ็นมต์มาจากพันธุกรรม ซึ่งที่ผ่านมีมีการรักษาแบบหว่าน คือ การใช้ยากลุ่มเคมีบำบัดที่ออกฤทธิ์ทำลายทั้งเซลล์ดีและเซลล์มะเร็ง  อีกทั้ง  มีผลข้างเคียงต่อผู้ป่วย เช่น ผมร่วง อ่อนเพลีย ติดเชื้อง่ายฯ 


นอกจากนี้การรักษาแบบเดิมยังได้ผลแตกต่างกันในคนไข้แต่ละราย บางคนได้ผลดี และบางคนก็ได้รับผลข้างเคียงมาก เพราะเนื้อเยื่อของแต่ละคนมีความจำเพาะ อีกทั้ง ต้นเหตุการเกิดมะเร็งในแต่ละคนก็มีความจำเพาะ การรักษาดังกล่าวจึงได้ผลเพียง 20-30 %   ซึ่งจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีปัจจุบันทำให้มีการตรวจพบความผิดปกติทางชีวโมโลกุลของพบผู้ป่วยได้มากขึ้น และในปัจจุบันก็ได้มีการตรวจรักษาแบบพุ่งเป้า เพื่อใช้ภูมิคุ้มกันบำบัด ที่มียาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงกับเซลล์มะเร็ง โดยการนำเนื้อเยื่อและเลือดไปตรวจด้วยวิธีการตรวจรหัสพันธุกรรมหรือดีเอ็นเออย่างครอบคลุมเพียงครั้งเดียวลดระยะเวลา ลดจำนวนการเก็บชิ้นเนื้อของคนไข้ และเพิ่มความแม่นยำในการตรวจมากขึ้นเพื่อรักษาโดยการให้ยาเหมาะสมเจาะจงกับลักษณะทางชีวภาพของแต่ละบุคคล


 นพ.หฤษฎ์ กล่าวอีกว่า โดยในประเทศไทยมีการตรวจแบบดังกล่าวแล้วใน รพ.เอกชน ชั้นนำ โดยการส่งไปตรวจในแลปต่างประเทศ และนำผลกลับมารักษาในประเทศไทย  มีระยะตรวจและขนส่งเนื้อเยื่อใน 3-4 สัปดาห์   ขึ้นอยู่กับว่าตรวจอะไรบ้าง และตรวจเลือดใช้เวลา 4-5 วัน  โดยวิธีตรวจผลเลือดทำให้สามมารถเลือกวิธีการรักษาเร็วขึ้น  และวิธีดังกล่าวก็อยู่ระหว่างการทดลองในห้องทดลองของโรงเรียนแพทย์ต่างๆแต่ยังไม่มีการตรวจเพื่อใช้ในวิธีการรักษาได้ โดยในปัจจุบันสามารถรักษามะเร็งได้ผลชัดเจนในมะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ มะเร็งรังไข่ และมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาหรือมะเร็งไฝ  โดยปัญหาที่พบคือการเข้าถึงยา บางทีพบเชื้อแต่ยังไม่มียา บางตัวยามีแล้ว แต่ยังไม่มีในไทย ดังนั้นในขณะนี้จึงมีการตรวจเฉพาะโรคที่มียาในไทย และเชื้อใหม่ที่พบก็ต้องมีการออกแบบตัวยาต่อไป


 “การรักษาด้วยวิธีดังกล่าวได้ผ่าน อย.ของสหรัฐอเมริกา  เป็น 1 ในเครื่องมือที่ใช้รักษาโรคมะเร็งในภาพรวมได้อย่างแม่นยำ มีการใช้มาได้ประมาณ 4-5 ปี สามารถใช้ตรวจในมะเร็งทุกระยะ ในระยะเริ่มแรกจะใช้รักษาในผู้ป่วยระยะที่ 4 และมีการพัฒนามาใช้ในระยะเริ่มต้นเพื่อเป็นการป้อง โดยได้ผลประมาณ 80 % อีกเรื่องที่เป็นปัญหา คือเรื่องค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างมีราคาสูง ค่าตรวจประมาณครั้งละ 5-7 หมื่นบาท และค่าตรวจจะเท่ากับค่ายาใน 1 เดือน  แต่ต้องมีการให้ยาไปประมาณ 1-2 ปีจึงจะหายขาด อุปสรรคจึงอยู่ที่ค่ายา ดังนั้นจึงใช้ตรวจได้ในผู้ป่วยที่สามารถจ่ายได้ ซึ่งผมในฐานะแพทย์ผู้ให้การรักษาเห็นว่า หากได้ผลมีการใช้อย่างแพร่หลายก็จะทำให้ยาถูกลง จะทำให้โอกาสที่รัฐบาลจะออกเป็นนโยบายให้หน่วยงานที่รับหน้าที่ดูแลประชาชนนำวิธีดังกล่าวไปบรรจุลงในสิทธิการรักษาประชาชน เพราะเรื่องนี้ต้องมองที่ความคุ้มค่าด้วย และความคุ้มค่าในเชิงแพทย์และนโยบายมองแตกต่างกัน นอกจากนี้เห็นว่ายังควรมีมีการให้ความรู้แพทย์ผู้รักษาในการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวด้วยฯ”นพ.หฤษฎ์ กล่าว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"