ข้อสังเกตของบทสนทนา ของหมอกับ 'หมูป่า' ล่าสุด


เพิ่มเพื่อน    


    คุณหมอยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิตของกระทรวงสาธารณสุขได้สัมภาษณ์หมู่  "คณะหมูป่า" ที่แม่สาย จังหวัดเชียงราย เมื่อเร็วๆ นี้
    ท่านเป็นคนที่สามที่ได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนสื่อและประชาชนในการซักถามหมูป่า อันเป็นส่วนหนึ่งของการสรุปบทเรียนจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งนี้
    ผมมีโอกาสได้พูดคุยกับคุณหมอยงยุทธ ท่านได้สรุปประเด็นจากการซักถามหมูป่าครั้งล่าสุดไว้อย่างน่าสนใจว่าอย่างนี้ครับ
    อนุสนธิ์จากการเป็นกรรมการของคณะกรรมการสื่อสร้างสรรค์กรณีทีมหมูป่าติดถ้ำ ซึ่งได้มอบหมายให้ผมเป็นผู้สัมภาษณ์ในการสัมภาษณ์รวม (Pooled Interview) ของสื่อมวลชนกับทีมหมูป่าครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์รวมครั้งสุดท้าย มีข้อสังเกตที่น่าสนใจหลายประการ
    1.สภาวะจิตของทีมหมูป่าและโค้ชทั้ง 13 คนดีมาก ไม่มีเด็กคนใดมีบาดแผลทางใจ (PTSD) ทั้งๆ ที่เผชิญสถานการณ์ที่น่ากลัวและรุนแรง ซึ่งทำให้คนในวงการสุขภาพจิต (รวมทั้งต่างประเทศ) ประหลาดใจมาก ที่เป็นเช่นนั้นเพราะการเผชิญภัยพิบัติทั้งระหว่างและภายหลังของทีมใช้หลักทั้ง 5 ประการ (สงบ   รู้สึกปลอดภัย ไม่สิ้นหวัง รวมพลังกันไว้ ยืนหยัดได้ด้วยตนเอง) จึงไม่น่าแปลกใจในเหตุการณ์ที่หลายคนเป็นห่วงว่าจะเกิด Retrama กิจกรรมลอดถ้ำจำลองในวันที่ 6 ตุลาคม พบว่าเด็กๆ ไม่มีอาการผวาหรือหวาดกลัว และเด็กๆ บอกว่าตกลงกันเองว่าจะเข้าไปโดยถือเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตตามปกติ
    2.มีเรื่องที่สื่อมวลชนฝากถามกันมากคือ การทำสมาธิในช่วงอยู่ในถ้า ช่วงนั้นโค้ชเอกจะให้เด็กๆ  ใช้ชีวิตเหมือนภายนอกแม้ภายในถ้ำจะมืด เวลากลางวันก็ตื่นแต่ถ้าเป็นเวลาค่ำก็จะเข้านอน โดยทำสมาธิก่อน (5-10 นาที) และสวดมนต์ ซึ่งเด็กๆ มองว่าช่วยทำให้สงบ ช่วยลดความหิว โค้ชเอกเน้นว่าทำให้จิตใจไม่ว้าวุ่นและมีสติในการแก้ปัญหา ตรงกับที่มีการศึกษาประโยชน์ทั้ง 4 ประการของสมาธิ คือ ทำให้สงบ ลดความว้าวุ่น ลดการใช้พลังงาน ภูมิคุ้มกันดีขึ้นและช่วยให้มีสติและคิดอ่านดีขึ้น
    3.สิ่งที่น่ากลัวในถ้ำคือ เรื่องน้ำที่ขึ้นตลอดเวลา ความหนาวและความหิว เด็กๆ เล่ากันว่าวันที่ 4  เป็นวันที่แย่ที่สุด บางคนรู้สึกสิ้นหวัง แต่โค้ชก็ให้ทุกคนแสดงออกและให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ซึ่งสภาพเหล่านี้ถ้าไม่มีพลังกลุ่มที่เข้มแข็งและสภาวะจิตที่สงบมั่นคงแล้วก็ยากที่จะฟันฝ่าไปได้ นักดำน้ำอังกฤษยังแปลกใจมากที่พบเด็กอยู่ในสภาพที่ดีกว่าที่คิดไว้มาก ทั้งๆ ที่ขาดอาหารและอยู่ในสภาพที่ยากลำบากมาร่วม 10  วัน
    4.การทำสมาธิช่วงบวช เด็กๆ ได้เรียนรู้เพิ่มเติม ช่วยให้สงบมากขึ้นเพราะมีเวลา มีบรรยากาศในการนั่งที่ดีกว่า ที่สำคัญคือช่วยด้านจิตใจ เพราะเป็นการบวชเพื่ออุทิศให้จ่าแซมที่เสียชีวิตในขณะทำภารกิจและคนทั้งโลกที่ช่วยเหลือ
    5.การสร้างความหวังของทีมหมูป่าขณะติดถ้ำเป็นประเด็นน่าสนใจมาก เช่น การวางแผนขุดผนังถ้ำที่ทุกคน (ไม่เว้นแต่คนตัวเล็กที่สุด) จะผลัดกันไปขุดถ้ำ ซึ่ง 5 วันหลังขุดไปได้ถึง 3 เมตร เป็นการต้องใช้แรงขณะที่ทุกคนไม่ได้ทานอาหาร เด็กบอกว่า "ใช้พลังแห่งความหวัง" รวมทั้งการให้กำลังใจกันตลอดว่าจะต้องมีคนมาช่วยเรา โดยเฉพาะเวลาที่ได้ยินเสียง เช่น สุนัขเห่า นกหวีด เสียงตะโกน ฯลฯ
    6.เรื่องนี้เป็นกรณีศึกษาตัวอย่างของโลก ไม่ใช่แต่ในการช่วยเหลือระหว่างติดถ้ำเท่านั้น แต่รวมทั้งภายหลังติดถ้ำที่มีการคุ้มครองเด็กให้กลับไปเข้มแข็งใช้ชีวิตตามปกติ โดยไม่ไปรบกวนเด็กและครอบครัวจากการแยกสัมภาษณ์และพาเดินสายตามสื่อ แต่ใช้การสัมภาษณ์ร่วมกัน โดยมีการคัดกรองคำถามและมีผู้สัมภาษณ์กลาง รวมทั้งมีการดูแลผลประโยชน์ให้เป็นไปเพื่อการยืนหยัดได้ด้วยตนเองในระยะยาว มากกว่าการมาให้ผลประโยชน์เฉพาะหน้าเป็นระยะๆ โดยมีการจัดตั้งกองทุนเพื่อดูแล ซึ่งจะเป็นแบบอย่างการจัดการแจ้งภัยพิบัติในอนาคตต่อไป
    คุณหมอยงยุทธสรุปว่า “เหตุการณ์ยิ่งใหญ่ของการช่วยชีวิตเล็กๆ 13 ชีวิต  เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่สะท้อนความมีมนุษยธรรมของมนุษยชาติ และความเป็นหนึ่งเดียวของคนไทยที่ต่างชาติพากันชื่นชมยกย่อง จะเป็นเหตุการณ์ที่อยู่ในความทรงจำของพวกเราเพื่อจะก้าวต่อไปในการสร้างประเทศที่ดีขึ้น   รวมทั้งเป็นสมาชิกที่เข้มแข็งและเป็นพลังที่ดีงามของสังคมโลก”
    ในฐานะที่ผมได้ทำหน้าที่สัมภาษณ์หมูป่าเหมือนกัน ยืนยันว่าข้อสังเกตของคุณหมอยงยุทธสอดคล้องต้องกันกับที่ผมเองได้ความรู้และความเข้าใจจากประสบการณ์ครั้งนี้เช่นกัน.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"