จ่อเคาะขายทีโออาร์ไฮสปีดไทย-จีน รวบประมูล 6 สัญญา


เพิ่มเพื่อน    

 

รฟท.จ่อเคาะเปิดขายซองทีโออาร์ไฮสปีดไทย-จีน รวบประมูล 6 สัญญาพร้อมกันวันเดียว ค่าโดยสารไฮสปีดจีน-ชินคันเซ็น พบระบบญี่ปุ่นค่าโดยสารแพงกว่าเกือบ 3 เท่า

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)เปิดเผยว่าความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วเฟส 1 กรุงเทพ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม.วงเงิน 1.79 แสนล้านบาทนั้นขณะนี้ช่วงแรก 3.5 กม.ช่วงกลางดง-ปางอโศกจะดำเนินแล้วเสร็จในเดือนต.ค.นี้ ส่วนตอนที่ 2 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. วงเงิน 5 พันล้านบาท ภายในสัปดาห์นี้จะนำร่างเอกสารประกวดราคา(ทีโออาร์)มาเปิดประชาพิจารณ์บนเว็บไซต์เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ก่อนนำข้อคิดเสนอแนะทั้งหมดกลับมาประชุมสรุปผลและนำขึ้นประชาพิจารณ์บนเว็ปไซต์ครั้งที่สองอีก 1 สัปดาห์ 

อย่างไรก็ตามจึงคาดว่าจะสามารถเปิดขายซองประกวดราคาได้ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ต.ค. ก่อนกำหนดวันเคาะประมูลโครงการในช่วงต้นเดือน พ.ย. ส่วนแผนก่อสร้างช่วงสถานีจันทึก-สถานีคลองไผ่ วงเงินราว 1 หมื่นล้านบาทขณะนี้อยูระหว่างถอดแบบและร่างทีโออาร์คาดว่าจะเปิดประกวดราคาได้ในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปีนี้ อย่างไรก็ตามการเปิดประมูลจะใช้ระเบียบเงื่อนไขของรัฐบาลไทยส่งผลให้งานก่อสร้างโครงการนี้จะเป็นผู้รับเหมาไทยและใช้วัสดุก่อสร้างในประเทศ (Local Content) เกือบทั้งหมด

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่าจีนได้ส่งรายละเอียดการออกแบบอีก 12 ตอนที่เหลือมาแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างถอดแบบประมาณราคาค่าใช้จ่ายของโครงการ (BOQ)จากนั้นจะทยอยร่างทีโออาร์และเปิดประมูลภายในเดือน พ.ย.-ธ.ค. แบ่งเป็น 2 ครั้ง ได้แก่ ตอน 3 ช่วงแก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 119.5กม.เปิดประมูลพร้อมกัน 6 สัญญา และตอนที่ 4 ช่วงบางซื่อ-แก่งคอย ระยะทาง 119 กม.เปิดประมูลพร้อมกัน 6 สัญญา ส่วนด้านความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่เฟส 2 รวม 7 เส้นทาง มูลค่า 4 แสนล้านบาทนั้นขณะนี้ได้เสนอกระทรวงคมนาคมไปหมดแล้วหลังจากปรับเพิ่มข้อมูลบางส่วน คาดว่าจะเสนอสภาพัฒน์พร้อมกันทั้งหมดเลยเพื่อให้คณะกรรมการคัดเลือกดูความสำคัญแล้วทยอยเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีทีละเส้นทาง 

รายงานข่าวกระทรวงคมนาคมระบุว่าจากข้อมูลการเปรียบเทียบราคาค่าโดยสารชั้นปกติ(Second Class)ของระบบรถไฟความเร็วสูงในแต่ละประเทศทั่วโลกนั้นพบว่าค่าโดยสารรถไฟไฮสปีดระบบของจีนถูกมากที่สุดคิดเป็น 2.2 บาท/กม. คำนวณจากค่าโดยสารช่วงปักกิ่ง-เซี่ยงไฮ้ ระยะทาง 1,318 กม. ราคา 2,775 บาท ส่วนด้านรถไฟชินคันเซ็นของญี่ปุ่นนั้นมีค่าโดยสารเฉลี่ย 8 บาท/กม. คำนวณจากช่วงโตเกียว-โอซาก้า ระยะทาง 515 กม. ราคา 4,000 บาท ขณะที่รถไฟไฮสปีดระบบฝรั่งเศสมีค่าโดยสารเฉลี่ย 5 บาท/กม. คำนวณจากช่วงปารีส-มาร์กเซย ระยะทาง 862 กม. ราคา 4,100 บาท สุดท้ายระบบเยอรมันมีค่าโดยสารเฉลี่ย 10 บาท/กม. คำนวณจากช่วงเบอร์ลิน-แฟรงก์เฟิร์ต ระยะทาง 424 กม. ราคา 4,300 บาท 

ทั้งนี้เมื่อนำมาคิดเป็นค่าโดยสารของรถไฟไฮสปีดช่วงกรุงเทพ-โคราชระยะทาง 253 กม.นั้น ระบบจีนจะมีค่าโดยสาร 556 บาทตลอดสาย ขณะที่ระบบชินคันเซ็นจะมีค่าโดยสาร 2,024 บาท สูงกว่าระบบจีนเกือบ 3 เท่า ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินอีอีซี ระยะทาง 220 กม. นั้นหากใช้ระบบของจีนจะมีค่าโดยสาร 484 บาท ขณะที่ระบบชินคันเซ็นและระบบฝรั่งเศสจะมีค่าโดยสารอยู่ที่ 1,760 บาทและ 1,100 บาท ตามลำดับ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"