รพ.สงฆ์สำรวจพบพระ- เณร อ้วนถ้วนหน้า "ความดัน-เบาหวาน"รุมเร้า วอนประชาชนใส่บาตรทำบุญคำนึงถึงสุขภาพผู้รับด้วย 


เพิ่มเพื่อน    

cr.youtube .com

24ก.ย.61-  นพ.สมศักดิ์  อรรฆศิลป์  อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคที่เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ และส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต รวมทั้งเป็นสาเหตุการตายในอันดับต้นๆ ของประชาชน ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังต้องรักษาติดต่อกันนานหรือตลอดชีวิต ผู้ป่วยต้องได้รับยาและติดตามผลการรักษาตามที่แพทย์แนะนำอย่างสม่ำเสมอ ถ้าขาดการควบคุมจะเกิดโรคแทรกซ้อน และอาจทำให้เสียชีวิตได้ จากข้อมูลผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสงฆ์ ระหว่างปี 2558 – 2560 พบว่าพระสงฆ์อาพาธเข้ามารับการรักษาด้วยโรคต่างๆ  ได้แก่  โรคเบาหวาน  โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดสูง


     นอกจากนี้ยังพบว่าภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมการฉันอาหารและการ ออกกำลังกายที่เปลี่ยนแปลงไป อาจเนื่องจากพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่มักตักบาตรด้วยอาหารสำเร็จรูปที่หาซื้อได้ง่ายและสะดวก ซึ่งอาหารเหล่านั้นประกอบด้วยอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม หรือมีไขมันมากเกินไป ทำให้พระสงฆ์ไม่มีโอกาส ได้เลือกอาหารเพื่อสุขภาพมากนัก จำเป็นต้องฉันอาหารที่ได้รับจากการบิณฑบาต จึงทำให้เกิดภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน และจะเป็นจุดเริ่มต้นของโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง และภาวะแทรกซ้อนทางด้าน โรคหลอดเลือด ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ  หลอดเลือดสมอง โรคไต 


    นพ. สมนึก อร่ามเธียรธำรง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสงฆ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากข้อมูลการตรวจคัดกรองสุขภาพพระสงฆ์ สามเณร ในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อคัดกรองและค้นหาปัจจัยเสี่ยงของโรคด้านภาวะโภชนาการ เมื่อปี 2559  มีจำนวนพระสงฆ์ สามเณร ที่เข้ารับการตรวจทั้งสิ้น 5,989 รูป พบว่า ค่าดัชนีมวลกายเมื่อเปรียบเทียบกับ ผลการสำรวจ ปี 2549 พระสงฆ์ สามเณร ในเขตกรุงเทพมหานคร มีภาวะน้ำหนักเกินเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 13.8 เป็นร้อยละ 15.9 (ค่า BMI อยู่ระหว่าง 23.0 – 24.9 กก.ตร.ม.) และมีภาวะอ้วนเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 18.0 เป็นร้อยละ 41.6 (ค่าBMI มากกว่า 25.0 กก.ตร.ม.)  และเมื่อมีการวัดขนาดเส้นรอบเอวพบว่ามีภาวะอ้วนลงพุงมากขึ้นจากเดิมร้อยละ 14.0 เป็นร้อยละ 24.9 โดยมีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 เซนติเมตร โรงพยาบาลสงฆ์จึงได้ถวายความรู้แด่พระสงฆ์ สามเณร ที่มีภาวะโภชนาการเกินและมีปัญหาโรคเรื้อรังเป็นระยะ เพื่อให้ได้เรียนรู้วิธีการดูแล ส่งเสริมสุขภาพ เพื่อป้องกันการ เกิดโรคแทรกซ้อน  และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งนี้เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะกลุ่มอาการอ้วนลงพุงประกอบด้วย 5 ข้อ ดังนี้ 


    1. เส้นรอบเอวเพศชายมากกว่า 90 เซนติเมตร 2.ผลไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดมากกว่า  150 เดซิลิตร 3. ดัชนีมวลกายมากกว่า 30 กก.ม2 4. ผลน้ำตาลในเลือดมากกว่า 110 เดซิลิตร 5. ความดันโลหิตมากกว่า 130/85 มิลลิเมตรปรอท อย่างไรก็ตามพุทธศาสนิกชนที่จะถวายอาหารแด่พระสงฆ์ สามเณร ขอให้คำนึงถึงอาหารเพื่อสุขภาพ และลดอาหารหวาน มัน เค็ม ในขณะที่พระสงฆ์สามารถประเมินภาวะอ้วนได้ด้วยตนเองโดยใช้เชือกวัดส่วนสูง แล้วนำมาวัดเส้นรอบเอว ซึ่งเส้นรอบเอวไม่ควรจะเกินครึ่งหนึ่งของส่วนสูง เช่น ส่วนสูง 160 เซนติเมตร รอบเอวไม่ควรเกิน 80 เซนติเมตร ถึงจะไม่อ้วนลงพุง.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"