เรื่องดี ๆ นวัตวิถี ที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับเมือง “สระแก้ว”


เพิ่มเพื่อน    

 

เผลอแป๊บเดียว ปี 2561 ก็เดินทางมาจะสิ้นสุดเดือนที่ 9 แล้ว และเหลืออีกไม่กี่เดือน ก็จะสิ้นปีอีกแล้ว โดยเฉพาะในปีนี้เป็นปีที่ทางรัฐบาลได้ประกาศเป็น “ปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน” ปลุกกระแส สร้างความสมดุลด้านการท่องเที่ยว เมืองรอง ด้วยการลดหย่อนภาษีท่องเที่ยวเมืองรอง 15,000 บาทตลอดทั้งปี เพื่อเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวสู่เมืองรองและชุมชนทั่วทั้งประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ 55 จังหวัด บนพื้นฐานของวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ท้องถิ่นที่แตกต่างกันของแต่ละแห่ง

วันนี้ เราจะพาคุณมาทำความรู้จักกับ 1 ใน 5 จังหวัดเมืองรองของภาคตะวันออกคือ “สระแก้ว” เป็นอีกหนึ่งเมืองที่มีพื้นฐานของศักยภาพความเป็นชุมชนที่พร้อมจะรองรับนักท่องเที่ยวเข้าไปร่วมเรียนรู้และสัมผัสกับวิถีชีวิตและชุมชน ว่ามีความน่าสนใจในการที่จะชวนทุกท่านไปสัมผัสกับ เมืองเล็ก ๆ ของภาคตะวันออกแห่งในนี้ ด้วยความล้ำค่าทางทรัพยากรธรรมชาติ และความดั้งเดิมของทรัพยากรวัฒนธรรมจากชุมชน ที่มีความแตกต่าง เป็นกันเองอย่างไม่เหมือนใคร.... ว่าแล้วก็ตามเรามาเลย

1. จังหวัดที่ 74

หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า “สระแก้ว” นั้น เดิมเคยเป็นพื้นที่หนึ่งอำเภอของจังหวัด“ปราจีนบุรี” ก่อนที่จะถูกแต่งตั้งให้เป็น

จังหวัดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2536  โดยได้ถือว่าเป็นสระแก้วเป็นจังหวัดที่ 74 ของประเทศไทย ด้วยสเน่ห์ของความเป็นเมืองที่มีความเป็นชุมชนอยู่อย่างสูง เมื่อเข้ามาเยือน คุณจะได้สัมผัสถึงกลิ่นไอของความอบอุนของวิถีชุมชนที่มีความเป็นกันเองที่คงความเป็นชุมชนแห่งเศรษฐกิจพอเพียงแบบดั้งเดิมไว้อย่างครบถ้วน “สระแก้ว สระขวัญ” เป็นสระน้ำโบราณในพื้นที่อำเภอเมืองสระแก้ว ที่ถือว่าเป็นถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่เคยใช้ในการประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ดังนั้น เมื่อมีโอกาสมาเยือนเมืองแห่งสระมงคลนี้จึงควรแวะมาเยือนสักครั้ง นอกจากนี้ ยังมี“ปราสาทเขาน้อยสีชมพู” สถานที่สำคัญและสถานศักดิ์สิทธิ์ตั้ง อยู่ที่อำเภออรัญประเทศ ซึ่งถูกใช้เป็นตราประจำจังหวัดอีกด้วย ถึงแม้ว่าจะเป็นจังหวัดใหม่ที่เพิ่งจะก่อตั้งได้เพียง 20 กว่าปี แต่ สระแก้วมีความน่าสนใจ ทั้งเชิงธรรมชาติ เชิงวัฒนธรรม เชิงนวัตวิถีชุมชน ซ่อนอยู่ในทุกพื้นที่ ที่ถ้าใครได้มาเยือนสักครั้งจะหลงรักและลืมไม่ลงอย่างแน่นอน

2. ชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ 

วิถีชุมชนที่มีความเป็นดั้งเดิม ถือเป็นอัตลักษณ์สำคัญที่โดดเด่นของจังหวัดสระแก้ว หลายคนคงเคยทราบเพียงว่า 

“สระแก้ว” เป็นเมืองที่มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ที่มีสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น น้ำตกปางสีดา ถ้ำทานตะวัน น้ำตกเขาตะกรุบ ถ้ำเขาฉกรรจ์ เขื่อนพระปรง หรือ ละลุ ที่ถือเป็นความมหัศจรรย์ของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติทางธรณี  สถานที่เหล่านี้จะให้คุณได้ดื่มด่ำกับบรรยากาศแบบเป็นธรรมชาติอย่างแท้จริง 

อีกมุมหนึ่งที่อยากแนะนำ หากคุณได้แวะไปเยือนแล้ว ต้องไม่ลืมที่จะแวะไปชมวิถีชุมชนของชาวบ้านที่ถูกสร้างสรรค์งานอาชีพตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยผลิตผลพืชเกษตรธรรมชาติจากเกษตรกรชาวบ้าน ให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีความเป็นธรรมชาติที่ไร้การปรุงแต่งใด ๆ โดยเฉพาะ ชมพู่เพชรคลองหาด ที่สร้างชื่อให้กับจังหวัด และผลไม้คุณภาพอื่น ๆ อาทิ ลำไย มะม่วง กล้วยไข่ รวมไปถึง พืชผักเกษตรนานาชนิดที่ปลอดสารพิษอย่างแท้จริง  นอกจากนี้ ในชุมชนยังมีการจัดทำปุ๋ยเม็ดชีวภาพเพื่อเน้นวิถีเกษตรธรรมชาติแบบดั้งเดิม ที่จะลืมไม่ได้แหล่งผลิตนมโคคุณภาพ และไก่พื้นบ้านที่มีชื่อเสียง  นอกจากนี้ อาหารพื้นบ้าน ก็เป็นสิ่งที่คุณต้องห้ามพลาด โดยเฉพาะ ขนมไทย น้ำพริกรสแซ่บ หรือจิ้งหรีดทอดสมุนไพร สดใหม่เต็มคำที่หาทานได้ไม่ยากเมื่อมาที่นี่

3. สถาปัตยกรรมล้ำค่า เมืองอารยธรรม

อีกหนึ่งแหล่งที่ต้องแนะนำ สำหรับผู้ที่สนใจมาเยือนเมืองสระแก้ว คือ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งเป็นที่รู้กันดี

ว่าสระแก้วนั้นมีความเป็นมาที่ยาวนาน กว่า 4,000 ปี จึงมีสถานที่สำคัญอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอยู่ในพื้นที่มากมาย ซึ่งถ้าคุณได้แวะมาที่นี่ ต้องไม่พลาดที่จะมาสัมผัสอารยธรรมเก่าแก่เหล่านี้ที่เมืองสระแก้ว ไม่ว่าจะเป็น ปราสาทสด๊กก๊อกธม หรือปราสาทเมืองพร้าวที่อำเภอโคกสูง ปราสาทห้วยพะใยอำเภอวัฒนานคร ปราสาทเขาโล้น อำเภอตาพระยา

อีกหนึ่งกิจกรรมสำหรับสายธรรมมะ คือการสักการะสิ่งศักดดิ์สิทธิ์สำคัญของเมืองสระแก้ว เริ่มตั้งแต่ ศาลหลักเมือง และหลวงพ่อทองวัดสระแก้ว ที่อำเภอเมืองสระแก้ว หรือเดินทางออกไปอีกหน่อยที่  อำเภอวัฒนานคร คุณจะได้ไหว้หลวงพ่อขาววัดนครธรรม และพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  หรือถ้าเดินทางออกไปไกลออกปอีกหน่อยที่อำเภออรัญประเทศ คุณก็จะได้สักการะพระสยามเทวาธิราชองค์จำลอง ที่จำลองจากพระสยามเทวาธิราชองค์จริงที่ประดิษฐานในพระบรมมหาราชวังที่กรุงเทพฯ เพื่อเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองสระแก้ว ส่วน “พระบรมสารีริกธาตุ”  ก็เป็นหนึ่งในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำคัญที่หลายคนไม่เคยทราบว่ามีประดิษฐานอยู่ที่อำเภอวังน้ำเย็น ที่หากคุณได้มาเยือนแล้วจะต้องไม่พลาดที่จะไปกราบไหว้เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตของตัวเองก่อนที่จะเดินทางไปสัมผัสกับส่วนอื่น ๆ ของสระแก้วต่อไป

4. แหล่งเรียนรู้อยู่อย่างพอเพียงแบบลึกซึ้ง

เมื่อมาเยือน สระแก้ว คุณคงยังไม่ทราบว่ายังมีแหล่งท่องเที่ยวให้ได้คุณเรียนรู้แบบลึกซึ้งหลากหลายที่ ถ้าคุณได้มีโอกาสมาสักครั้งอย่าลืมแวะมาที่ “โครงการโรงเรียนกาสรกสิวิทย์” ในโครงการธนาคารโคกระบือเพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หากคุณมาเยือนที่นี่ จะได้พบกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่น่าสนใจมากมาย ตั้งแต่ การอบรมเกษตรกรและการฝึกกระบือผู้เรียนรู้  นิทรรศการแสดงเครื่องมือการทำนา นอกจากนี้ยังมี แปลงนา สระน้ำ ต้นไม้ บ้านดิน รวมถึงห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์เพื่อทำการวิจัยในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบือ และอาหารของกระบือ เรียกได้มามาเรียนรู้วิถีชีวิตเกษตรกรแบบครบวงจรที่นี่  นอกจากนี้ ที่สระแก้วยังมี “ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสระแก้ว” “สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าช่องกล่ำบน” ซึ่งเป็นโครงการในอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่อำเภอวัฒนานคร  หากมาถึงที่คุณจะได้เรียนรู้เรื่องเรื่องวิถีชีวิต ความเป็นอยู่แบบพื้นบ้าน และการใช้ชีวิตแบบพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ไปแบบเต็มๆอย่างแน่นอน

นอกจากนี้ จุดเด่นของการเรียนรู้วิถีชุมชนจังหวัดสระแก้วนั้น คุณจะได้พบกับ ชุมชนที่มีความเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตรและเศรษฐกิจพอเพียงระดับ ตำบล ในทุกพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์เศรษฐกิจพิเพียง อำเภอคลองหาด ฐานเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ไร่จ่าทูล  อำเภอเขาฉกรรจ์ โรงสีชุมชน อำเภออรัญประเทศ สหกรณ์โคนมมวังน้ำเย็น อำเภอวังสมบูรณ์ รวมถึงหอศิลป์ ฝีมือเยาวชน ในอำเภอตาพระยา ให้คุณได้ดื่มด่ำเรียนรู้วิถีไทยสไตล์ลึกซึ้งถึงแก่นของชุมชนอย่างแท้จริง ถ้าคุณได้มีโอกาสมาเยือนที่นี่สักครั้ง จะได้เรียนรู้กับวิถีของการผลิตแบบธรรมชาติตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำอย่างลึกซึ้งถึงวิถีของชาวสระแก้วทีเดียวเชียว

5. ผ้าทอมือ เครื่องจักสาน งานฝีมือ คือหัวใจของชุมชน

ถ้าจะเรียนรู้วิถีชุมชน อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องไม่ลืม คือ ผลิตภัณฑ์ชุมชนจากฝีมือของชาวบ้านนั่นเอง ที่สระแก้ว ถือได้ว่ามี

ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นจากชุมชน (OTOP) ที่ผลิตและจำหน่ายในท้องถิ่นแต่ละตำบล ซึ่งมีความโดดเด่นอยู่หลากหลาย โดยเฉพาะงานฝีมือที่พัฒนาจากความคิด ผ่านวิถีชีวิตของชาวบ้านและชุมชนเอง คุณจะได้เห็นถึงขั้นตอน วิธีการในทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ตั้งแต่วิธีคิด การออกแบบลวดลาย การลงมือทำ ไปจนได้เห็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปออกมา โดยเฉพาะผ้าทอมือ ทั้งผ้าไหม ผ้าฝ้าย ที่มีลวดลายสวยงาม แตกต่างอันเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนในแต่ละตำบลของสระแก้ว ที่สร้างชื่อให้จังหวัดเป็นอย่างมาก ซึ่งผ้าทอของ อ.อรัญประเทศ เคยได้โอทอประดับ 4 ดาวในการประกวดระดับชาติมาแล้ว นอกจากนี้แล้วยังมีผลิตภัณฑ์งานฝีมือ จักสาน จากวัสดุธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น กก ไม้ไผ่ หวาย ล้วนสรรสร้างผลงานจากธรรมชาติ การย้อมสี การเลือกลวดลายต่าง ๆ เกิดจากธรรมชาติได้งดงามอย่างน่าอัศจรรย์ ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ เช่น ซองกาแฟ พัมนาเป็นสินค้า กระเป๋ารูปแบบต่าง ๆ ก็เป็นแนวคิดของชุมชนในการที่จะนำเอาวัสดุเหลือใช้มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ออกแบบได้สวยงามและมีลักษณะเฉพาะของตัวเอง ที่ถ้าคุณได้มาสัมผัสจะต้องอดใจไม่ได้ที่จะซื้อติดไม้ติดมือกลับไปอย่างแน่นอน

เป็นยังไงกันบ้างเอ่ย นี่แค่ออเดิร์ฟแบบเบาๆ ของ “เมืองชายแดนแห่งความสุข ถิ่นเกษตรปลอดภัย แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและอารยธรรมโบราณ เขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้วมั่นคง”เท่านั้นนะ เพราะอย่างที่บอกไปตอนต้นแล้วว่า สระแก้ว ถือเป็นหนึ่งในเมืองรองที่ได้รับการสนับสนุนการท่องเที่ยวจากรัฐบาล ซึ่งถ้าใครที่แวะมาที่นี่ ค่าใช้จ่ายในการมาท่องเที่ยว สามารถใช้ลดหย่อนภาษาได้อีกต่างหาก ที่สำคัญคุณยังได้เป็นคนหนึ่งที่จะได้มาสนับสนุนการกระจายรายได้สู่ชุมชนอีกด้วยนะ เอาเป็นว่า ถ้าข้อมูลที่ให้มายังไม่หนำใจ ก็แวะมาดูผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ชุมชนของจริง และสัมผัสของดี ๆ อีกมากมายที่สระแก้วด้วยตัวเองเลย ในงาน “ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดสระแก้ว” รวมของดี ของเด็ด วิถีชุมชนที่แท้จริง รอให้คุณมาเยี่ยมชมระหว่างวันที่ 26-28 กันยายน 2561 นี้ ที่ศาลากลางจังหวักสระแก้ว... มาเถอะ! อยากเจอ! แล้วพบกันนะ

ทีมนวัตวิถีสระแก้ว

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"