49 in Memory ทรงจำนิรันดร์ในหลวง รัชกาลที่ 9


เพิ่มเพื่อน    

 

     13 ต.ค. เป็นวันที่ชาวไทยหัวใจสลาย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จสวรรคต เหลือไว้แต่เพียงคำสอนและสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างไว้ให้พสกนิกรได้สืบสานพระราชปณิธานมากมาย หนึ่งในนั้น คือ ดนตรี พระองค์ทรงนำดนตรีตะวันตกเข้ามาเผยแพร่ให้คนไทยรู้จัก ขณะเดียวกันทรงอนุรักษ์ดนตรีไทยด้วย

      เนื่องในโอกาสครบ 2 ปีเสด็จสวรรคต คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย มูลนิธิคีตรัตน์ ร่วมกับศูนย์การค้าดิ เอ็มโพเรียม และดิ เอ็มควอเทียร์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บริษัท บุญรอด บริวเวอรี่ จำกัด พร้อมด้วยหน่วยงานเอกชน ร่วมกันจัดงานแสดงดนตรีถวายความรำลึก “49 in Memory ในความทรงจำนิรันดร์” ขึ้น เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและสื่อสารเรื่องราวพระเกียรติคุณทางด้านดนตรีในหลวง รัชกาลที่ 9 ให้เป็นที่ประจักษ์และจดจำต่อคนรุ่นหลัง

สุธาวดี ศิริธนชัย และรศ.ดร.ภาธร ศรีกรานนท์  ร่วมจัดงานแสดงดนตรี “49 in Memory ในความทรงจำนิรันดร์”   

    รศ.ดร.กิติมา อินทรัมพรรย์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ดนตรีสามารถเข้าถึงได้ทุกชาติ ทุกภาษา พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยด้านดนตรี และทรงนำวัฒนธรรมดนตรีที่หลากหลายเข้ามาเผยแพร่ ขณะเดียวกันพระองค์ทรงใช้เพลงแจ๊ส แนวดนตรีทรงโปรดเป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างไทยกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลกด้วย ดนตรีจึงเป็นความทรงจำสำคัญอีกด้านที่สื่อถึงพระองค์ สำหรับชาวเกษตรศาสตร์ก็มีความทรงจำเกี่ยวกับพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ตราตรึงในจิตใจหลากหลายด้าน ทางด้านดนตรีนั้นพระองค์ได้พระราชทานเพลงประจำมหาวิทยาลัยชื่อเพลง “เกษตรศาสตร์” โดยพระราชนิพนธ์เพลงนี้เมื่อวันที่ 17 ธ.ค.พ.ศ.2509

      ทั้งยังเคยเสด็จพระราชดำเนินและทรงดนตรีร่วมกับวง อ.ส.วันศุกร์ ที่มหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปี พ.ศ.2515 รวมจำนวน 9 ครั้ง ซึ่งยังคงตราตรึงชาวเกษตรฯ มาจนถึงทุกวันนี้ ลูกหลานชาวเกษตรฯ จะสืบสานงานดนตรี โดยจะมีศูนย์การเรียนรู้ทางด้านดนตรีแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่พระปรีชาสามารถทางด้านดนตรีของพระองค์ ที่คาดว่าจะจัดตั้งอย่างเป็นทางการในปี 2562 ให้เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความรู้ด้านดนตรีให้แก่เยาวชน นิสิต นักศึกษา และประชาชนคนทั่วไป

 

วง KU Wind ร่วมแสดงดนตรีถวายความรำลึก 

      ส่วนในงานนี้วง Kasetsart University Symphony หรือ KU Wind ของคณะมนุษยศาสตร์ ม.เกษตรฯ ซึ่งเป็นวงที่สร้างชื่อให้กับมหาวิทยาลัย ได้รับเกียรติในการร่วมแสดงดนตรีบทเพลงพระราชนิพนธ์ครั้งนี้ด้วย

      ด้าน รศ.ดร.ภาธร ศรีกรานนท์ รักษาการประธานกรรมการมูลนิธิคีตรัตน์ และเป็นผู้ถวายงานด้านดนตรีแด่ในหลวง ร.9 มากว่า 30 ปี ในฐานะนักดนตรี วงดนตรี อ.ส.วันศุกร์ กล่าวว่า “49 in Memory ในความทรงจำนิรันดร์” เป็นการเล่าถึงความทรงจำด้านดนตรีของพระองค์ ซึ่งตัวเลข 49 คือจำนวนบทเพลงพระราชนิพนธ์ของพระองค์ที่ทรงฝากเอาไว้ให้กับพวกเราทุกคน โดยงานนี้จะมีการแสดงสุดพิเศษจาก 3 วง ประกอบด้วย วงจากไทย KU Wind, The Jazzminion และมีวง Dutch Swing College Band วงดนตรีแจ๊สจากเนเธอร์แลนด์ที่ก่อตั้งมาราว 75 ปี ที่เกิดจากสมาชิกรุ่นแรกๆ ของวงที่มีความหลงใหลในดนตรีแจ๊สเช่นเดียวกับพระองค์

ภาธร ศรีกรานนท์ โชว์แซกโซโฟนงานแถลงข่าว 49 in Memory ในความทรงจำนิรันดร์

      รศ.ดร.ภาธร กล่าวต่อว่า ตามที่เคยเล่าไปในหลายครั้ง หลายโอกาส พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ร.9 ทรงโปรดดนตรีแจ๊ส โดยเฉพาะดนตรีนิวออร์ลีนส์แจ๊ส ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่สมัยที่ยังประทับอยู่ในทวีปยุโรป พระองค์ท่านเคยตรัสกับนักดนตรีวง อ.ส.วันศุกร์เมื่อหลายปีมาแล้วว่า เมื่อเกษียณอยากจะเสด็จฯ ไปเมืองนิวออร์ลีนส์ที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาสักครั้ง พร้อมพาวงดนตรี อ.ส.วันศุกร์ไปด้วย ในเมื่อพระองค์ทรงอยากจะได้บรรยากาศของนิวออร์ลีนส์ เราจะเชิญวงดนตรีนิวออร์ลีนส์มาถวายงาน พระองค์จึงตรัสว่า จริงๆ แล้วนิวออร์ลีนส์ไม่ใช่วงดนตรี แต่เป็นเมืองกำเนิดที่นักดนตรีแจ๊สจากที่นั่นมารวมตัวเล่นดนตรีที่สวิตเซอร์แลนด์ที่พระองค์ประทับอยู่เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ ช่วงนั้นมีนักดนตรีทั้งอเมริกา ยุโรป นักดนตรีท้องถิ่นมาเล่นหลายวง จนทำให้พระองค์ทรงชื่นชอบมาตั้งแต่ครั้งนั้น 

      “มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ผมเคยร่วมงานกับวงดนตรี Dutch Swing College Band วงดนตรีเก่าแก่ที่เริ่มจากกลุ่มคนเล็กๆ ที่บรรเลงแจ๊สแบบชาวดัตช์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว พวกเขาแสดงครั้งแรกในวันประกาศอิสรภาพของเนเธอร์แลนด์จากกลุ่มนาซี และเติบโตเป็นวงดนตรีแจ๊สโด่งดังมีชื่อเสียงระดับโลก ในอดีตหลายปีก่อน ผมเคยทูลถามพระองค์ท่านว่ารู้จักวงนี้หรือไม่ ทรงตอบว่ารู้จัก เคยซื้อแผ่นเสียงของวงนี้มาฟังในยุคแรกๆ เลย และเมื่อ 2 ปีก่อน วง อ.ส.วันศุกร์ก็ตั้งใจที่จะนำวงนี้มาถวายงานท่านสักครั้ง แต่ก็ทำไม่ทันเสียแล้ว น่าเสียใจมาก ผมคิดว่าวงนี้คือหนึ่งในความทรงจำด้านดนตรีของพระองค์ ครั้งนี้เลยตั้งใจติดต่อชวนวงนี้มาเล่นถวายความรำลึกแด่พระองค์ท่านพร้อมกับพวกเราชาวไทยทุกคน ผมมั่นใจว่าวงนี้จะถ่ายทอดความรักและพระอัจฉริยภาพทางด้านดนตรีออกมาในบทเพลงที่อัญเชิญมาบรรเลง และทำให้เสียงดนตรีทรงโปรดของท่านดังไปถึงข้างบนให้ท่านทรงได้ยิน” นักดนตรี วง อ.ส.วันศุกร์กล่าว

 

 วง Dutch Swing College Band   

   อย่างไรก็ตาม งานแสดงดนตรีถวายความรำลึกจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 13-15 ต.ค. เวลา 17.00-21.00 น. ณ บริเวณ ควอเทียร์ พาร์ค ชั้น M ศูนย์การค้า ดิ เอ็มควอเทียร์ ภายในงานจะได้รับชมการแสดงดนตรีจากวงดนตรีไทยและต่างประเทศ โดยวง KU Wind, วง Dutch Swing College Band และวง The Jazzminion ซึ่งเป็นการแสดงทั้งแบบวงคลาสสิกและแบบแจ๊ส ติดตามข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมของมูลนิธิคีตรัตน์ได้ที่เฟซบุ๊ก KitaratFoundation.

 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"