แพทย์ ม.อ.คิดค้น 'ทวารเทียมจากยางพารา' ช่วยผู้ป่วยมะเร็งลำไส้


เพิ่มเพื่อน    

คณะแพทยศาสตร์ ม.อ. คิดค้นชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียม ที่ทำมาจากยางพารา และมีคุณสมบัติดีเหมือนผลิตจากเมืองนอก ก่อนส่งมอบให้กับ รพ.ตรัง เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ป่วย

10 ต.ค.61 - ที่โรงพยาบาลตรัง ได้ให้การต้อนรับทีมแพทย์และพยาบาลจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) นำโดย ผศ.นพ.วรวิทย์ วาณิชย์สุวรรณ ศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ม.อ. พร้อมด้วยทีมงานในโครงการ THAI Colostomy Bags "จากคนไทย สู่คนไทย" เพื่อมอบชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียมที่คิดค้นขึ้นโดย ผศ.นพ.วรวิทย์ รวมทั้งได้รับความร่วมมือจากทีมสหสาขาต่างๆ รวมถึงหน่วยงานภาคเอกชน จนสามารถผลิตชุดอุปกรณ์ดังกล่าวขึ้นมาได้เป็นผลสำเร็จ

ผศ.นพ.วรวิทย์ กล่าวว่า การคิดค้นชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียมในครั้งนี้ เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีการตัดลำไส้ทิ้งเนื่องจากภาวะการเป็นมะเร็งลำไส้ ทำให้ไม่สามารถขับถ่ายทางทวารหนักตามปกติได้ โดยนำเอาผลผลิตของยางพารา ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของภาคใต้มาประยุกต์ใช้ จนเป็นผลสำเร็จ ทำให้สามารถลดต้นทุนในการสั่งซื้อชุดทวารเทียมจากต่างประเทศ และช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางพารา แต่ยังคงคุณภาพและประสิทธิภาพที่ได้มาตรฐานและเทียบเท่าชุดอุปกรณ์ทวารเทียมจากต่างประเทศ

ปัจจุบันชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากถวายเทียมมีหลายชนิดและหลายชื่อทางการค้า โดยต่างนำเสนอรูปแบบตามความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย ส่วนราคาก็มีความแตกต่างกันตามชนิดและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ประกอบกับประเทศไทยยังไม่สามารถผลิตอุปกรณ์ชนิดนี้ได้เองในเชิงอุตสาหกรรม เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์นำเข้า และภาครัฐต้องเสียงบประมาณสูง แม้จะมีโรงพยาบาลหลายแห่งได้ดัดแปลงอุปกรณ์ใช้แทนถุงทวารเทียม แต่ก็ประสบปัญหาระหว่างการใช้ และมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ระคายเคือง แป้นรั่วซึม หลุดง่าย

จากการศึกษาของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ช่วงปี 2556-2558 พบว่า ราคาแผ่นติดผิวหนังรอบทวารเทียมจัดเป็นวัสดุสิ้นเปลืองที่มีราคาแพง ตั้งแต่แผ่นละ 122-188 บาท ตามขนาดและชื่อของผลิตภัณฑ์ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องจำกัดปริมาณการสั่งซื้อแค่เดือนละ 5 แผ่นต่อคน ทำให้ผู้ป่วยหรือญาติจำเป็นต้องเดินทางมาติดต่อซื้อที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์บ่อยครั้ง และมีจำหน่ายเฉพาะโรงพยาบาลใหญ่ๆบางแห่งเท่านั้น จึงเกิดความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงการบริการ รวมทั้งความไม่สะดวกในการเดินทางมาซื้อชุดอุปกรณ์ชนิดนี้ด้วย

ประกอบกับกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีการผลักดันให้ไทยในฐานะผู้ผลิตยางพารารายใหญ่ สามารถผลิตวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์หลากหลายชนิด รวมทั้งแผ่นติดผิวหนังรอบทวารเทียมที่นำเข้าจากต่างประเทศ ช่วยให้ผู้ป่วยภายในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ และโรงพยาบาลแห่งอื่นทั่วประเทศ เข้าถึงบริการได้โดยง่ายอย่างเท่าเทียมกัน อีกทั้งยังเกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วยและมีความปลอดภัยสูงสุด พร้อมกันนั้นยังได้ให้ความรู้แก่บุคลากรสาธารณสุข และผู้ป่วยในโรงพยาบาลตรัง ในเรื่องการดูแลทวารเทียม และการใช้ชุดอุปกรณ์ด้วย


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"