ครม. เข้มคุมปล่อยกู้ 'พิโกไฟแนนซ์-สินเชื่อทะเบียนรถ-ลีสซิ่ง' ห้ามขูดดอกเบี้ยแพง


เพิ่มเพื่อน    

 

ครม. ไฟเขียวร่าง พ.ร.บ. การกำกับดูแลผู้ให้บริการทางการเงิน คุมปล่อยกู้ 5 ประเภท “พิโกไฟแนนซ์-สินเชื่อทะเบียนรถ-เช่าซื้อ-ลีสซิ่ง-แฟคตอริ่ง” ตีเส้นห้ามคิดดอกเบี้ย-ค่าธรรมเนียมโหด คาดเริ่มบังคับใช้กฎหมายได้ปีหน้า

นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.การกำกับดูแลผู้ให้บริการทางการเงิน จะมีการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจของผู้ให้บริการทางการเงินรวม 5 ประเภท ได้แก่ ผู้ให้บริการทางการเงินประเภทให้สินเชื่อ 2 กลุ่ม ได้แก่ สินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (พิโกไฟแนนซ์)  สินเชื่อที่มีการรับสมุดคู่มือจดทะเบียนรถเป็นประกันการชำระหนี้ (สินเชื่อทะเบียนรถ) โดยผู้ให้บริการกลุ่มนี้จะต้องได้รับใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจจากสำนักงาน

ส่วนอีกกลุ่มเป็นผู้ให้บริการทางการเงินประเภทที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ ได้แก่ การให้เช่าซื้อ การให้เช่าแบบลีสซิ่ง และแฟคตอริ่ง โดยผู้ให้บริการกลุ่มนี้ไม่ต้องขอใบอนุญาต แต่จะต้องขึ้นทะเบียนในการประกอบธุรกิจกับสำนักงาน สำหรับรูปแบบการกำกับดูแลจะมีการกฎหมาย คณะกรรมการมาควบคุมโดยชัดเจน เช่น การควบคุมดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม ซึ่งเบื้องต้นพิโกไฟแนนซ์จะคุมที่ 36% เท่าเดิม ส่วนสินเชื่อทะเบียนรถจะใกล้เคียงกับของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ 28% ขณะที่ธุรกิจเช่าซื้ออยู่ระหว่างการประเมินผลว่าจะคุมเท่าไร

ทั้งนี้ จะเร่งผลักดันกฎหมายฉบับนี้ให้เสร็จภายในปีหน้า จากนั้นจะมีการจัดตั้งสำนักงานฯ และคณะกรรมการกำกับดูแลผู้ให้บริการทางการเงิน ซึ่งมีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานภายใน 360 วัน อย่างไรก็ตาม กฎหมายนี้จะไม่เข้าไปกำกับดูแลผู้ให้บริการที่ดำเนินโดยสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้ง เช่น บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของสถาบันการเงิน เป็นต้น 

นายพรชัย กล่าวว่า ข้อมูลล่าสุดเมื่อปี 2560 กลุ่มธุรกิจของผู้ให้บริการทางการเงิน 5 ประเภทที่ยังไม่มีการควบคุม มีวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนสูงกว่า 1 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อ 5 แสนล้านบาท เช่าซื้อแบบลีสซิ่ง 2.7 แสนล้านบาท แฟคตอริ่ง 6.7 หมื่นล้านบาท สินเชื่อทะเบียนรถ 2 แสนล้านบาท และพิโกไฟแนนซ์ 330 ล้านบาท หากคุมกลุ่มนี้ได้จะทำให้สามารถบริการทางการเงินทั้งหมดครบ 100%

“หลังจากกฎหมายมีผลบังคับใช้แล้วนั้น ผู้ให้บริการทางการเงินประเภทสินเชื่อนั้นจะต้องมาขอใบประกอบกิจการ ซึ่งหากไม่มาขอใบอนุญาตจะมีโทษจำคุก 1 ปี หรือปรับสูงสุด 1 แสนบาท และกรณีที่เป็นรูปแบบการให้เช่าซื้อ หรือ แฟคเตอริ่งจะต้องมาขึ้นทะเบียนการดำเนินงาน หากไม่มาตามกฎหมายจะมีโทษปรับสูงสุด 1 แสนบาท”นายพรชัย กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"