“ฟาร์มแม่นยำ” ตอบโจทย์การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร


เพิ่มเพื่อน    

ประเทศไทยถูกยกย่องว่าเป็น "แหล่งอาหารของโลก" เพราะไทยเรามีทรัพยากรทางธรรมชาติที่หลากหลาย ตั้งอยู่ในชัยภูมิที่เหมาะสมกับการทำการเกษตร มีน้ำท่าที่อุดมสมบูรณ์  ทำให้เราสามารถปลูกและผลิตสินค้าทางการเกษตรได้จำนวนมาก จนกลายเป็นประเทศส่งออกอาหารที่สร้างรายได้เข้าประเทศปีละกว่า 1 ล้านล้านบาท

แต่น่าเสียดาย ในปัจจุบัน วิถีชีวิตของคนไทยเริ่มเปลี่ยน คนเข้าสู่สังคมเมืองและภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น ทำให้มีเกษตรกรรุ่นใหม่น้อยลง และที่สำคัญการที่ไม่ช่วยกันดูแลสภาพแวดล้อมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและสภาพอากาศ  จนนำไปสู่การสร้างผลผลิตทางการเกษตรที่ลดลง  และหากปล่อยต่อไปแบบนี้เรื่อยๆจากที่เคยเป็นประเทศส่งออกอาหาร ไทยเราจะกลายเป็นประเทศผู้นำเข้าอาหารเข้ามาแทนก็เป็นได้

จากสถานการณ์ที่น่ากังวลนี้ ทำให้หลายฝ่าย เริ่มมีความคิดถึงเรื่องการสร้างความมั่นคงทางอาหารขึ้นมา เพราะเล็งเห็นแล้วว่า หากไม่มีการจัดการใดๆ เลย ไทยเราจะมีความเสี่ยงในการขาดแคลนอาหารในอนาคตได้เช่นกัน

แต่ด้วยสภาวะที่เกิดปัจจัยแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย อย่างที่กล่าวข้างต้น ทั้งจำนวนคนในภาคเกษตรที่ลดลง และ สภาพพื้นที่ในการเพาะปลูก ก็มีน้อยลง และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ส่งผลให้การเพาะปลูกไม่ได้ผลผลิตเท่าที่ควร

 

 

คำถาม คือ แล้วจะทำอย่างไรที่จะช่วยยกระดับผลผลิตและสร้างความมั่นคงทางอาหารขึ้นมาได้ ภายใต้ข้อจำกัดที่มีมากกว่าเดิม  คำตอบก็คงมีทางเดียว ก็นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่มาช่วย  ทำให้เกิดการเกษตรรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า เกษตรอัจฉริยะ หรือในบางครั้งก็ถูกเรียกว่า "เกษตรแม่นยำสูง"            

เรื่องของ  "เกษตรแม่นยำสูง" ถือเป็นเรื่องใหม่ สำหรับเกษตรกรในบ้านเรา และเชื่อว่า ยังขาดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องนี้ค่อนข้างมาก นี่คือ อีกหนึ่งเรื่องที่เกษตรกรจะต้องปรับตัว และต้องทำความเข้าใจที่เพิ่มขึ้น โดยไม่ใช่การทำเกษตรแบบรอพึ่งฟ้า พึ่งผล หรือ บนบานศาลกล่าว กับผีสางนางไม้หรือ เทวดาอีกต่อไป  แต่จะต้องนำวิทยาศาสตร์ และการวิเคราะห์ข้อมูลสมัยใหม่ มาช่วยในการตัดสินใจ ในการเพาะปลูก  

โดยแนวคิดของการทำเกษตรอัจฉริยะ หรือ  การเกษตรแม่นยำสูง จะแน่นในเรื่องประสิทธิภาพในการเพาะปลูก ตั้งแต่การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์จนถึงกระบวนการปลูกที่นำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการตรวจวัดทั้งเรื่องของสภาพดิน ความชื้นในดิน แร่ธาตุในดิน ความเป็นกรดด่าง (หรือที่เรียกกันว่า ดินเค็ม/ดินเปรี้ยว) สภาพปริมาณแสงธรรมชาติ รวมถึงเรื่องศัตรูพืชต่างๆ บางประเทศมีการควบคุมสิ่งแวดล้อมผ่านการปลูกในโรงเรือน เพื่อป้องกันศัตรูพืชและสามารถควบคุมปัจจัยต่างๆได้เข้มงวดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น  ซึ่งในประเทศชั้นนำ อาทิ เยอรมัน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ก็ได้นำหลักของ เกษตรแม่นยำสูง หรือที่จะเรียกง่ายว่า เกษตร 4.0 มาปรับใช้จนเป็นที่แพร่หลายแล้ว  เพราะมันพิสูจน์ได้ว่า มันสามารถช่วยเพิ่มระดับผลผลิตและสร้างรายได้เพิ่มให้กับเกษตรกรจริงๆ

 

อย่างที่ทราบกันดีในอดีต เกษตรกรไม่มีทางรู้เลยว่า สภาพแวดล้อมในการเพาะปลูกของตัวเองเป็นอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นพืชพันธุ์ที่ปลูก ดินฟ้า อากาศ แถมไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ในไร่เดียวกัน อาจจะเจอสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน จนทำให้เกิดผลผลิตที่ไม่เท่ากัน  แต่ในปัจจุบัน เครื่องไม้เครื่องมือ ตรวจวัดที่มี สามารถทำให้เราทราบว่า แต่ละพื้นที่มีความต่างกันอย่างไร  และจะต้องปรับการดูแลให้เกิดความเหมาะสม นั้นทำได้อย่างไร

เห็นได้ชัดแล้วว่า หัวใจของ เกษตรแม่นยำ คือ ข้อมูลนั้นเอง  ข้อมูลของพื้นที่การเกษตรหนึ่งแปลง สามารถจัดเก็บข้อมูลได้มากมาย และจะต้องเป็นหน้าที่ของเกษตรกรเองที่จะนำข้อมูลมาวิเคราะห์ว่า จะแก้ปัญหาอย่างไร ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผลผลิตของตัวเอง ซึ่งเทคโนโลยีต่างๆสามารถเข้ามาช่วยงานเกษตรกรได้หลายหลาย อาทิ เรื่องของเซ็นเซอร์ตรวจวัด การควบคุมการปลดปล่อยปุ๋ย  น้ำ และยาฆ่าแมลง  ป้ายอิเล็กทรอนิกส์เก็บข้อมูล หรือ การตรวจวัดสภาพอากาศ ความชื้น แสงแดด หรือ รวมไปถึงแอพพลิเคชั่นที่เป็นแพลตฟอร์มในการบันทึกข้อมูลต่างๆ เป็นต้น

อย่างไรก็ดีในบางพื้นที่อย่าง เกษตรกรชาวสวน ในภาคตะวันออก ก็เริ่มประยุกต์การนำเกษตรแม่นยำสูงมาใช้แล้ว โดยเฉพาะชาวสวนผลไม้ ทั้ง ทุเรียน มังคุด เนื่องจากสินค้าได้รับความนิยมอย่างมากจากต่างประเทศ และมีความต้องการสูง ทำให้ชาวสวน ก็หาวิธีคิดว่า จะทำอย่างไรที่จะช่วยเพิ่มผลผลิตของตัวเองให้มากที่สุด เพราะทุกผลผลิตที่เพิ่มขึ้นมา ย่อมหมายถึงรายได้ที่จะเข้าในกระเป๋าสตางค์ของตัวเอง  

 

และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกร ทั้งรุ่นเก่ารุ่นใหม่ หันมาทำเกษตรแม่ยำสูงมากขึ้น  ก็มีโครงการดีๆจากภาคเอกชนมากมาย ที่เข้ามาช่วยยกระดับ ล่าสุดบมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น  หรือดีแทค ก็ร่วมกับมูลนิธิรักบ้านเกิดเปิดตัวโครงการฟาร์มแม่นยำ ผ่านแอพพลิเคชั่น "Farm Info" เพื่อช่วยยกระดับเกษตรกรให้ก้าวทันเทคโนโลยีและเป็นตัวช่วยในการวางแผนการเพาะปลูกอย่างเป็นขั้นเป็นตอน

อเล็กซานดรา ไรช์ ประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น  หรือดีแทค เปิดเผยว่า ดีแทคในฐานะผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต จึงอยากให้ประชาชนคนไทยที่ประกอบอาชีพการเกษตรเข้าถึงเทคโนโลยีทางด้านการเกษตรเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ จึงได้ริเริ่มโครงการ "dtac Smart Farmer" เพื่อติดอาวุธให้เกษตรกรไทยด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม จนปัจจุบันเข้าสู่ปีที่ 10 โดยให้บริการตั้งแต่การให้ข้อมูลด้านการเกษตรผ่านหลากหลายช่องทาง แอพพลิเคชั่นมือถือ ภายใต้โครงการ "ฟาร์มแม่นยำ" ผ่านแอพพลิเคชั่นที่ชื่อว่า "Farmer Info" เพื่อช่วยเกษตรกรในการ เพาะปลูกอย่างแม่นยำ ซึ่งร่วมกับบริษัท รักบ้านเกิด จำกัด และบริษัท รีคัลท์ (ประเทศไทย)

ทั้งนี้บริการฟาร์มแม่นยำจะให้ข้อมูลแก่เกษตรกร 3 ด้าน ประกอบด้วย 1.การพยากรณ์อากาศเฉพาะพื้นที่ โดยจะแสดงผลเจาะจงในพื้นที่ที่ต้องการรายชั่วโมง ทั้งอุณหภูมิ โอกาสในการเกิดฝน และปริมาณฝนในพื้นที่ที่ต้องการด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ทั้งยังสามารถพยากรณ์อากาศได้ล่วงหน้า 7 วัน โดยมีความแม่นยำระดับรายแปลงมากที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากมีข้อมูล Microclimate weather ร่วมกับข้อมูลสภาพอากาศจากสถานีฐานทั่วโลก เช่น GFS, Met Office, E-MWF และ Environment Canada และการใช้แบบจำลองสภาพด้วยซูเปอร์คอมพิวเตอร์ช่วยให้เกษตรกรสามารถตัดสินใจวางแผน เพาะปลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2.ภาพถ่ายดาวเทียม ช่วยให้เกษตรกรมองเห็นพื้นที่เพาะปลูกของตัวเองแบบภาพรวมจากอากาศ เพื่อช่วยหาความผิดปกติและปัญหาสุขภาพของพืชได้ โดยใช้เทคโนโลยีภาพถ่ายจากดาวเทียม EU-Sentinel และ NASA-Landsat ซึ่งช่วยให้เกษตรกรสามารถแก้ไขปัญหาพืชได้ทันการณ์ และ 3.เป็นผู้ช่วยส่วนตัว  แอพฟาร์มแม่นยำจะช่วยเกษตรกรวางแผนการเพาะปลูกในแต่ละรอบการเก็บเกี่ยว โดยนำเสนอในรูปแบบอินโฟกราฟฟิกที่เข้าใจง่าย ตามข้อมูลทางวิชาการจากอาจารย์คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อให้เกษตรกรเข้าใจและ มีการวางแผนอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบัน สามารถครอบคลุมพืชถึง 7 ชนิด ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และทุเรียน

ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดแอพ Farmer Info ทั้งบนระบบแอนดรอยด์ และ iOS และเข้าไปที่บริการ "ฟาร์มแม่นยำ"  ได้ฟรี 60 วัน จากนั้นเก็บค่าบริการเริ่มต้น 30 บาทต่อเดือน

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"