ปชป.ฟังไว้ทำไมต้องเปลี่ยน'ถาวร'ห่วงพรรคตามโลกไม่ทันชูเส้นทางที่สามทุนนิยมสวัสดิการ


เพิ่มเพื่อน    

 

26ต.ค.61-นายถาวร เสนเนียม อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.)ผู้สนับสนุนนพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีตส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ ชิงหัวหน้าพรรคฯ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว หัวข้อ "ทำไมต้องเปลี่ยน" ระบุว่า
พรรคประชาธิปัตย์ตั้งมา 72 ปีได้รับการยอมรับว่าเป็นพรรคเชิงสถาบันเป็นพรรคเด่น (Dominant Party) พรรคหนึ่งเป็นพรรคเก่าแก่และประชาชนรู้จักกล่าวขวัญถึงมากทุกครั้งที่มีการเลือกตั้ง ประกอบกับพรรคประชาธิปัตย์เคยมีบทบาทต่อสู้กับเผด็จการมาอย่างยาวนานและยึดมั่นมั่นคงตลอดมาแต่อีกด้านหนึ่งกลับมีภาพลักษณ์ไม่ก้าวหน้าไม่มีอะไรใหม่และผลโพลเมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่าผู้นำพรรคประชาธิปัตย์ได้รับความนิยมน้อยลงเรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับผู้นำพรรคอื่น


สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ ผมคิดว่าเป็นเพราะพรรคประชาธิปัตย์วางตำแหน่งนโยบายไม่ถูกกับสถานการณ์ อีกทั้งขาดความทันสมัย และตามการเปลี่ยนแปลงของโลกไม่ทัน ตำแหน่งนโยบายที่พรรคประชาธิปัตย์วางอยู่ในปัจจุบัน เสรีประชาธิปไตย ซึ่งเคยได้ผลในการต่อสู้กับเผด็จการแต่ใช้ไม่ได้กับสถานการณ์ปัจจุบันเนื่องจากการเมืองไม่ได้แบ่งขั้วสุดโต่งเป็นซ้ายกับขวางอย่างในอดีต ประกอบกับลัทธิเสรีนิยมเชื่อระบบตลาดมากเกินไปจึงปล่อยให้ตลาดลอยตัว เกิดผู้แพ้จากการแข่งขันในระบบตลาดเสรีมากมาย โดยเฉพาะคนจนและคนอ่อนแอ


ที่ถูกนั้น พรรคประชาธิปัตย์ต้องเปลี่ยนตำแหน่งนโยบายใหม่ หันเข้าสู่เส้นทางที่สาม (The Third Way) หรือทุนนิยมสวัสดิการ (Welfare Capitalism) หรือบางครั้งก็เรียกว่า “ทุนนิยมดูแลกัน” เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้ “คอมมิวนิสต์” หรือแนวทาง มาร์กซิสต์ ไปไม่รอด ขณะเดียวกัน “เสรีนิยม” หรือเสรีประชาธิปไตย อย่างเดียว ก็เข็นไม่ขึ้น กำแพงเบอลินพังเป็นสัญลักษณ์ของการแพ้ “คอมมิวนิสต์” จนปรากฎว่าปัจจุบันคอมมิวนิสต์ เกือบทุกประเทศเปิดหมดแล้ว ขณะเดียวกัน เสรีนิยมอย่างเดียวก็ไปไม่รอดเพราะปล่อยให้ปลาใหญ่กินปลาเล็กและเกิดปรากฎการณ์ “รวยกระจุก จนกระจาย” มีผู้พ่ายแพ้จากการแข่งขันเต็มไปหมด


“เสรีประชาธิปไตย” อย่างเดียวมีแต่อุดมการณ์จึงมองไม่เห็นและกินไม่ได้ ทุกคนถือว่าเป็นนโยบายพื้น ๆ เพราะในระบอบประชาธิปไตย เพราะในระบอบประชาธิปไตยก็ก็ต้องมีประชาธิปไตยเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ทุกวันนี้คนส่วนใหญ่ไม่ได้สู้กับคอมมิวนิสต์หรือเผด็จการ ศัตรูของคนส่วนใหญ่เป็นเรื่องของปากท้องและปัญหาทางเศรษฐกิจ คนส่วนใหญ่จึงต้องการ ”ประชาธิปไตยกินได้” มากกว่ายกตัวอย่างจำนวนผู้สูงอายุของประเทศเราเริ่มมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังที่ทราบกัน คาดว่าจะถึง 20% ของประชากรทั้งหมดในเร็ว ๆ นี้ แต่สวัสดิการที่ผู้สูงอายุได้รับ มีเพียงเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลนิดหน่อย และมีคนอีกไม่กี่เปอร์เซ็นต์ ได้บำเหน็จบำนาญจากข้าราชการ ส่วนระบบประกันสังคมไทย ก็ดูแลเฉพาะค่ารักษาพยาบาลของคนอายุไม่เกิน 60 ปี ถ้าเกิน 60 ปีก็ไม่มีสิทธิเบิกเงินรักษาพยาบาล”


แต่ถ้าไปดูของต่างประเทศ ผู้สูงอายุกลับได้รับบำเหน็จบำนาญจำนวนมาก และมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีกว่าประเทศเรา เช่น ออสเตรเลีย 54% ฝรั่งเศษ 61% อิตาลี่ 61% นอเวย์ 53% สวีเดน79% อังกฤษ 67% ซึ่งบำเหน็จบำนาญเหล่านี้ส่วนใหญ่มาจากระบบประกันสังคม ทำให้น่าคิดว่าเราจะเข้าถึงระบบประกันสังคมของประเทศเราเป็นอย่างนี้บ้าง นอกจากนั้นผู้สูงอายุยังต้องการทำงานและสามารถทำงานได้อีกจำนวนมาก ปัจจุบัน รัฐบาลยังไม่มีกลไกอะไรสนับสนุนผู้สูงอายุซึ่งจะกลายเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งกลุ่มใหม่และกลุ่มใหญ่อีกกลุ่มหนึ่งในอนาคตอันใกล้


นี่คือตัวอย่างที่ผมคิดว่าสิ่งแรกที่เราต้องเปลี่ยน คือจุดยืนของพรรคและนโยบายของพรรค ซึ่งจะทำให้พรรคประชาธิปัตย์ “ไม่ย่ำอยู่กับที่” เหมือนคนไม่รู้จักสรุปบทเรียน จึงไม่กล้าเปลี่ยน ผมคิดว่าเราต้องหาจุดยืนและนโยบายใหม่ เพื่อยกระดับพรรคให้ทันสมัยและตามกระแสโลกได้ทัน
#เลือกหมอวรงค์เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
#เบอร์2

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"