ทลายกำแพง3สถาบัน'จุฬา-สจล.-CMKL'ทำหลักสูตร2ปริญญา


เพิ่มเพื่อน    

 

จุฬาฯ 0  สจล.-จุฬาฯ-CMKL ทลายกำแพงสร้างหลักสูตร ป.ตรีสองปริญญาข้ามสถาบันด้านวิศวกรรมหุ่นยนต์  ไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ครั้งแรกของไทย  หวังตอบโจทย์ประเทศด้านไซเบอร์ แก้วิกฤตขาดแคลนบุคลากร  ตั้งคณะกก. 3 ฝ่าย ทำหลักสูตร คาดรับ นศ.รุ่นแรกปีการศึกษา 61 หมุนเวียนเรียนสองสถาบัน ลดวิชาบรรยาย เน้นลงมือทำ

วันที่ 30 ม.ค. ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิธีลงนามเพื่อสร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  (KMITL) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU) และมหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล  (CMKL) ขึ้น ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ โดย ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ส่งผลให้ภาคการศึกษาจำเป็นต้องปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร รวมทั้งอัพเกรดองค์ความรู้ทางวิชาการใหม่ๆให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะช่วงที่ประเทศยังต้องการบุคลากรสร้างความแข็งแกร่งและพัฒนาศักยภาพขีดความสามารถในการแข่งขัน ทำให้ทิศทางพัฒนาการศึกษาในยุคนี้ต้องอาศัยการบูรณาการความรู้ร่วมกันระหว่างสถาบันการศึกษาที่มีศักยภาพ ด้วยเหตุนี้ จุฬาฯ  โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ และ สจล.  โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จึงได้ดำเนินการสร้างความร่วมมือทางวิชาการในการสร้างหลักสูตรปริญญาตรี สองปริญญาข้ามสถาบัน (Double degree) ด้านวิศวกรรมหุ่นยนต์ ซึ่งผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาจากจุฬาฯ และจาก สจล. ทั้งสองสถาบันยังร่วมกับมหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอลในการพัฒนาหลักสูตรด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ (Electrical & Computer Engineering: ECE) ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาจาก ม.ซีเอ็มเคแอล


 "  เป็นมิติใหม่ของความร่วมมือทางการศึกษาของประเทศไทย เป็นบทบาทใหม่ๆ ที่หาวิทยาลัยต้องปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลง สนับสนุนนวัตกรรมและเป็นจุดเชื่อมโยงสังคม ทั้ง 3 มหาวิทยาลัยมีความพร้อม และความเข้มแข็งทางวิศวกรรมศาสตร์จะช่วยขับเคลื่อนผลิตบุคลากรดีๆ  ทั้งสาขา รถไฟฟ้า เครื่องกล โยธา คอมพิวเตอร์  หุ่นยนต์ วิศวฯ เพราะศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งตอบคำถามไม่สมบูรณ์ การลงนามครั้งนี้หลอมรวมจุดแข็ง นำฐานเดิมและคนที่มีอยู่มาสร้างสิ่งใหม่ๆ ได้รวดเร็ว ไม่เช่นนั้นจะต้องไปตั้งภาควิชาใหม่ด้านหุ่นยนต์ เอไอ หาบุคลากรอีกมากมาย  " ศ.ดร.บัณฑิต กล่าว  


 ด้าน ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี สจล.  กล่าวว่า  ความร่วมมือทางวิชาการครั้งนี้ตอบสนองวาระแห่งชาติ  ปัจจุบันพบว่าไทยยังขาดแคลนในด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงอยู่มาก นอกจากนี้จะยังมีการส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรสายวิชาการ สายสนับสนุนวิชาการ และนักศึกษา โดยการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างสถาบัน ซึ่งแต่ละแห่งมีความเชี่ยวชาญและจุดเด่นต่างกัน ภายใต้การใช้ทรัพยากรทางวิชาการร่วมกัน ตลอดจนส่งเสริมการทำวิจัยร่วมกัน เพื่อการพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ ๆ ถือเป็นการทลายกำแพงระหว่างคณะและมหาวิทยาลัย  เราพบว่าเนื้อหาหลักสูตรแบบเดิมไม่ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้  บัณฑิตที่จบออกไปทำงานด้านคอมพิวเตอร์เพียง 10 % เท่านั้น


 "หลังจากพิธีการลงนามจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการความร่วมมือสามฝ่ายเพื่อดำเนินการจัดตั้งหลักสูตร  คาดว่าจะเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกได้ในปีการศึกษา 2561 โดยนักศึกษาที่ได้รับการคัดเลือกเข้าเรียนในหลักสูตรนี้ จะหมุนเวียนเรียนทั้งที่จุฬาฯ  และที่สจล. เน้นหลักสูตรด้านวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI     เมื่อจบจะได้ปริญญาจากสองสถาบันการศึกษา ถือเป็นข้อได้เปรียบเนื่องจากผ่านการเรียนรู้จากสถาบันที่มีความสุดยอดด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ " อธิการบดี สจล. กล่าว


ผศ.ดร.สุพันธุ์ ตั้งจิตกุศลมั่น อธิการบดีม.ซีเอ็มเคแอล  กล่าวว่า ด้วยจุดเด่นของซีเอ็มเคแอล คือเป็นสถาบันที่ดำเนินการภายใต้การจัดการการศึกษาร่วมระหว่างสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังกับมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน ประเทศสหรัฐ  ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีขั้นสูงระดับโลก  ทำให้หลักสูตรปริญญาตรีวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ สามารถผลิตบัณฑิตได้ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ ในด้านต่างๆ อาทิ หุ่นยนต์สมองกล วิทยาศาสตร์ข้อมูล ความปลอดภัยไซเบอร์ เครือข่ายไร้สาย เมืองอัจฉริยะ พลังงาน และเทคโนโลยีสุขภาพ ด้วยองค์ความรู้เหล่านี้จะทำให้บัณฑิตที่ศึกษาและจบหลักสูตรนี้ เป็นบุคลากรสำคัญที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนา และเป็นกำลังหลักของประเทศก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0


ดร.สุพจน์ เตชวนสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬา ฯ กล่าวว่า ความร่วมมือสามฝ่ายจะหาจุดเด่นของแต่ละมหาวิทยาลัยและแบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน แต่ละสถาบันมีอาจารย์เชี่ยวชาญต่างกัน  ลาดกระบังอาจขาดนักวิจัย ก็ใช้บุคลากรจุฬา ไม่ต้องทุ่มงบประมาณ ส่วนหลักสูตรสอนร่วมกัน จุฬาพัฒนาหลักสูตรของตนเองขึ้นมา  สจล.ก็เช่นกัน จะมีการตกลงวิชาที่เทียบโอนระหว่างกันให้เข้ากับเกณฑ์มหาวิทยาลัย แต่ไม่ใช่เรียนที่จุฬา 130 หน่วยกิต เรียนที่สจล.อีก 130 หน่วยกิต การเรียนยังอยู่ที่ 130 หน่วยกิตเช่นเดิม แต่เรามองว่าอยากให้เป็นสิ่งใหม่ๆ เรียนไม่เยอะ วิชาบรรยายลดลงเหลือไม่เกิน 100 หน่วยกิต นอกนั้นเป็นวิชาลงมือทำจริง เน้นการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานหรือ  Project Based Learning  ปัจจุบันสอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ เพราะความรู้เยอะ สอนลึกมากไปไม่ได้ใช้ แต่ให้รู้ว่าทำงานอย่างไร.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"