'ไอติม' ดันระบบสมัครใจ-แทนเกณฑ์ทหาร เชื่อทำได้จริง


เพิ่มเพื่อน    

3 พ.ย.61 - นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ และหลานชายนายอภิสิทธิ์ เวลาชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า หลังจากที่ได้เข้ารับการตรวจเลือกเข้าเป็นทหารกองประจำการ 6 เดือน สิ่งที่ได้เจอไม่ได้ทำให้แนวทางที่คิดไว้เปลี่ยน  แต่ทำให้มั่นใจมากขึ้นว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร และสิ่งใดที่ทำให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ จึงต้องเสนอแนวทางปรับระบบให้ดีกับประชาชนในภาพรวม ขณะที่กองทัพก็ไม่ได้เสียกำลังพลที่จะต้องมีไว้เพื่อรักษาความมั่นคงในชาติ โดยเสนอแนวทางจากระบบทหารเกณฑ์เป็นระบบสมัครใจ   
 
ทั้งนี้ การเกณฑ์ทหารและการสมัครใจมาเป็น มีความแตกต่าง 3 ข้อ ปัญหาคือ1.ระบบการคัดเลือกคนเข้ามาสะท้อนว่ามีความเหลื่อมล้ำสูง คนที่เข้ามาส่วนมากไม่มีโอกาสรับการศึกษาระดับมัธยมปลาย และหลายคนไม่ได้มีฐานะการเงินที่มั่นคง  ไม่เป็นเรื่องจริงที่ว่า คนทุกๆฐานะเข้ามาเป็นทหาร2.การเข้ามานั้น มีการทุจริตคอรัปชั่นอยู่  เช่นคนที่จับได้ใบดำหลายคนไม่ได้เพราะโชค ส่วนการฝึก เราเห็นปัญหาความรุนแรงจากการฝึก การธำรงวินัยในช่วงที่ผ่านมา จึงควรจริงจังในเรื่องนี้ให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มความโปร่งใสให้คนที่สมัครทหาร หรือ ถูกเกณฑ์เข้ามาเป็นทหารได้มั่นใจว่าจะไม่เจอความรุนแรง ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน 3. สิ่งที่ได้สัมผัสจริง และตนมีอารมณ์ร่วมพอสมควร คือเพื่อนหลายคนมฃเมื่อดึงเขาเป็นทหาร 2 ปีทำให้เสียโอกาสทางเศรษฐกิจ  เพราะเคยมีรายได้ที่มากกว่า ก็ต้องเสียตรงนี้ไป  รวมถึงเสียโอกาสทางครอบครัว ทำให้ครอบครัวแตกแยก บางคนก็แยกทางกับแฟน ทั้งที่มีลูกที่เล็กอยู่  ตรงนี้เป็นอะไรที่สะเทือนใจมาก  ถ้าถูกดึงมาใช้ประโยชน์ในแง่ที่ประเทศเรามีสงครามจริงๆยังพอเข้าใจได้ แต่ตนยังรู้สึกว่ามีงานบางงาน อาจไม่จำเป็นต้องใช้คนมากขนาดนั้น 

นายพริษฐ์ กล่าวต่อไปว่า   แต่ก็เกิดคำถามว่าจะปฏิบัติจริงได้อย่างไร เพราะจากเดิมที่กองทัพต้องการกำลังพล 1 แสนคนต่อ โดยปีที่แล้วมีผู้สมัคร 4 หมื่นคน  ตนคิดว่า ทำได้สองอย่างคือ ประเมินใหม่ว่า 1 แสนคนซึ่งเป็นยอดความต้องการนั้น ต้องมากถึง 1 แสนคนหรือไม่  เพราะบางงานสามารถตัดได้ เช่น การส่งไปเป็นทหารรับใช้  การปรับลดขนาดกองทัพให้ทันสมัย จิ๋วแต่แจ๋วมากขึ้น หรือแม้กระทั่งการลดไขมันในองค์กร ซึ่งทุกหน่วยงานราชการต้องประเมินอยู่แล้ว เมื่อโลกของเทคโนโลยีเข้ามา  เมื่อลดงานตรงนี้แล้ว ก็ต้องดูว่าจะทำอย่างไรให้คนสมัครได้ยอดที่เราต้องการ  ก็ต้องจริงจังว่าพลทหารต้องมีรายได้ที่เหมาะสม มั่นคง ไม่มีการตัดอะไรจากรายได้ของเขา ทำอย่างไรให้ได้รับสวัสดิการที่ตอบโจทย์ความต้องการเขา 

"จะเห็นได้ว่ายอดสมัครพุ่งสูงมาก ตอนที่ กศน.เข้ามา สำหรับพลทหาร มีสวัสดิการดีด้วย เช่น ค่ารักษาพยาบาล ให้ครอบครัวหรือบุตรที่อายุน้อยอยู่ หากเราย้อนกลับไป 10 ปีจะเห็นว่า 2ปี ที่ยอดสมัครลดลง เป็นช่วงที่มีข่าวเรื่องน้องเมย กับเรื่องความรุนแรง ผมเชื่อว่าหลายคนที่อยากมาเป็นทหารก็ไม่อยากเจอเรื่องนี้  เขาคงคิดว่าถ้าเขาต้องเจ็บปวดเพื่อชาติก็คือการไปรบ ไม่ใช่การธำรงวินัย หรือการฝึกที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน  ผมคิดว่าถ้าจริงจังกับเรื่องนี้ การเข้ามาเป็นพลทหารจะได้รับความดึงดูดมากขึ้น  เราเริ่มเห็นปัจจัยว่าอะไรบ้างที่มีปัญหา จากนั้นก็ประเมินว่าตัวเลขตรงกลางตามที่อธิบายมาตอนต้นจะทำให้เกิดได้อย่างไร เพื่อให้ยอดที่ต้องการจริงๆ ในภารกิจที่จำเป็นประมาณ 6-7 หมื่นคนและ เมื่อเข้ามาเราก็จะเพิ่มรายละเอียดจะเห็นของจริงว่าเขาได้อะไรบ้าง เสียอะไรบ้าง  เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงที่เหมาะสมที่สุดซึ่งก็ต้องยอมรับว่าผมก็เห็นแค่เสี้ยวเดียว เพราะเป็นแค่ค่ายเดียว"
 
ตนดีใจที่กองทัพมีนโยบายเปิดค่ายให้ญาติเข้ามาดูความเป็นอยู่ในค่ายทหารการที่พ่อแม่เห็นถึงคุณภาพชีวิตที่ดีก็จะมั่นใจมากขึ้น หากค่ายนั้นมีการบริหารจัดการที่ดีอยู่แล้วพ่อแม่ก็จะสบายใจ  และควรเปิดให้คนภายนอกได้เข้ามาสังเกตการณ์ได้ด้วย  อย่างไรก็ตาม การที่ตนเข้ามาเป็นทหารก็ได้อะไรหลายอย่าง ในเชิงข้อมูลที่รับทาบได้ข้อดี ข้อเสีย และได้มีการคุยกับนายทหารหลายคน ที่เปิดใจพูดคุยกันตนในเรื่องนี้ ทำให้เห็นว่า ในแวดวงทหารเอง ก็มีความคิดหลากหลายมากว่าระบบของการเกณฑ์ทหารควรเป็นอย่างไร ตนเห็นผู้บังคับบัญชาหลายคนเครียดมากที่สุด เวลาเจอพลทหารที่ไม่ค่อยสู้ ไม่ค่อยอดทนกับงานที่ได้รับ ซึ่งหลายคนเป็นคนที่สมัครใจมา และหลายคนไม่สมัครใจมา  ตนเคยถามตรงๆ ว่าถ้าให้เลือกระหว่างคนที่สมัครใจ 3 คน กับ 5 คนที่สมัครใจ จะเลือกแบบไหนระหว่างคุณภาพกับปริมาณ
 
เขายอมรับว่า นโยบายการเกณฑ์ทหารมีผลกระทบต่อเรื่องของทัศนคติของคนที่จะมาลงคะแนน เพราะเป็นนโยบายที่กระทบเยาวชน คนที่มาเกณฑ์ทหารก็มีอายุครบเกณฑ์ที่จะเลือกตั้งได้  อย่างตนก็คงไม่กระทบ เพราะผ่านมาแล้ว ไม่สามารถย้อนกลับไปได้ สิ่งที่อยากเสนอตรงนี้ เพราะตนผ่านมาแล้ว แสดงให้เห็นว่าไม่ได้ทำตรงนี้เพื่อตัวเอง  ดังนั้นตนเสนอหรือทำอะไร ก็ไม่ได้ผลกระทบจากตรงนี้แล้ว  แต่คิดว่าเป็นอะไรที่ตอบโจทย์ประชาชนอย่างแท้จริงและตอบโจทย์กองทัพด้วย. ในขณะที่ถ้าตนไปพูดก่อนที่จะเข้ามา โดยไม่ลองเช็คความคิดของตัวเองก่อนว่าสอดคล้องกับความเป็นจริงหรือเปล่า ก็คงไม่ถูกต้องนัก

"ไหนๆ มาตรงนี้แล้ว ถึง6 เดือนก็ต้องคิดว่าจะได้อะไรจากที่นี่ เรียกว่าเป็นงานวิจัย โดยทั้งหมดจะเสนอให้พรรคประชาธิปัตย์ในวันที่ 8 พ.ย.นี้  เราก็จะได้พูดกันคร่าวๆ ในนามทีมคนรุ่นใหม่ของพรรคประมาณ 15-20 คน   ซึ่งจะมีการเปิดตัวคนรุ่นใหม่ของพรรควันที่ 13 พ.ย.นี้ และจะผลักดันสิ่งที่พวกเราคิดให้พรรค  เช่นเกณฑ์ทหาร สิ่งแวดล้อม อี-สปอร์ต  การแ้ไขปัญหาสุขภาพจิต เพราะเมื่อตนไปพบปะนักศึกษาเมื่อไหร่ จะถามเขาว่ามีปัญหาอะไรมากที่สุด จะเป็นเรื่องเครียดเรื่องซึมเศร้า"
 
สำหรับนโยบายพรรคการเมืองอื่นนั้น ตนก็เห็นคนออกมาพูดเรื่องการยกเลิกการเกณฑ์ทหาร  แต่คนก็ตั้งข้อสงสัยว่าทำได้จริงหรือไม่ และจะทำจริงได้อย่างไร  ซึ่งเป็นโจทย์ที่คนรุ่นใหม่ของประชาธิปัตย์ต้องทำให้ได้ เราต้องนำเสนอนโยบายอะไรคิดว่าทำได้จริง 

ทั้งนี้ อยากให้แยกแยะระหว่างทหารที่มาทำงานการเมือง กับทหารอาชีพที่มาทำหน้าที่ทหาร ไม่อยากให้นโยบายทางด้านการเกณฑ์ทหารถูกใช้ในทางการเมือง เพื่อแค่โจมตีคณะรัฐประหาร  แต่เป็นเรื่องที่ทำได้จริง ประชาชนได้ประโยชน์จริง  ถ้าเราจะแค่ยกเลิก เกณฑ์ทหาร โดยไม่พูดถึงเรื่องความรุนแรงหรือเรื่องอื่น  อย่างน้องเมย ก็สมัครมา การจะพูดแค่เรื่องการยกเลิกเกณฑ์ทหารอย่างเดียวคงไม่พอ  ต้องมองใหญ่กว่านั้น อันนี้เป็นอะไรที่ตอบโจทย์ทหารอาชีพเหมือนกัน
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"