จดหมายถึงครูยุคดิจิทัล


เพิ่มเพื่อน    

   มีคนส่งบทความที่น่าสนใจมากมาให้ผมอ่าน บอกว่าเป็น “จดหมายถึงครู” เขียนโดย ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ประธานสถาบันนวัตกรรมชุมชนอัจฉริยะและอธิการบดี สจล.

                ผมอ่านแล้วมีความเห็นตรงกับท่านอธิการสุชัชวีร์หลายประเด็น โดยเฉพาะที่ท่านกระตุ้นให้ครูทุกคนต้องปรับตัวเพื่อตั้งรับกับยุค “โลกป่วน” หรือ digital disruption ที่กำลังกดดันและท้าทายอาชีพของทุกคน

                ครูเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ถูกกระทบและกระแทกอย่างแรง เพราะเมื่อนวัตกรรมใหม่กำลังปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมหาวิทยาลัย คนที่มีอาชีพเป็น “ครู” จึงหนีไม่พ้นว่าจะต้องถามตัวเองว่าหากยังทำหน้าที่เหมือนเดิมต่อไป จะเหลือบทบาทอะไรให้กับคนที่เรียกตัวเองว่าเป็น “ครู”

                แต่ก่อนเราเคยเปรียบเทียบครูเป็น “เรือจ้าง” ที่พายเรือให้นักเรียนข้ามจากฝั่งหนึ่งไปอีกฝั่งหนึ่ง

                แต่วันนี้ นักเรียนไม่จำเป็นต้องอาศัยเรือจ้างข้ามฟากแล้ว พวกเขาสามารถข้ามฝั่งได้ด้วยการแสวงหาข้อมูลและความรู้ด้วยตนเอง ถ้า “คนแจวเรือ” ยังเฉื่อยและช้า หรือไม่ปรับตัวให้มีอะไรแปลกใหม่ นักเรียนก็จะใช้นวัตกรรมต่างๆ เพื่อให้ตัวเองข้ามแม่น้ำด้วยวิธีการที่หาได้จากที่ต่างๆ

                ผมจึงเห็นพ้องกับท่าน “อาจารย์เอ้” ที่ผมได้พูดคุยและสัมภาษณ์เกี่ยวกับวิธีคิดและการปรับตัวของคนที่อยู่ในแวดวงการศึกษาหลายรอบว่าคนที่มีอาชีพเป็นครูต้องปรับและเปลี่ยนตัวเองให้ทันกับโลกดิจิทัลให้จงได้ ผมจึงขอนำเอาข้อความนี้มาสื่อสารต่อในคอลัมน์วันนี้ให้ได้อ่านเพื่อช่วยกันคิดช่วยกันอ่านต่อกันอีกทอดหนึ่ง

                ท่านอธิการ สจล. เขียนใน “จดหมายถึงครู” ว่าอย่างนี้ครับ

                ครูในอนาคตจะเป็นอาชีพที่ถูกท้าทายมากที่สุด ในยุคที่เด็ก I don’t care คือ ไม่สนว่าเรียนแล้วได้อะไร ไม่เชื่อว่าหลักสูตรตอบโจทย์ชีวิต ผนวกกับยุคนายจ้าง I don’t care เหมือนกันคือ ไม่สนว่าคุณเรียนจบแล้วได้ปริญญาอะไรมา หรือจะจบมหาวิทยาลัยดังแค่ไหนก็ตาม หากทำงานไม่ได้ ไม่ดี ฉันก็ไม่สน ไม่จ้าง

                ครูจึงต้อง “เปลี่ยน” เพราะหากไม่เปลี่ยน ไม่ใช่แค่ “แพ้” แต่ถึงกับ “สูญพันธุ์” ดังนั้น ครูยุค Disruption ควรต้อง

                1.สอนเด็กให้ทำงานได้ ทำงานเป็น มีความเชี่ยวชาญจริง ไม่ใช่สอนเพื่อไปสอบ เพื่อไปได้ปริญญา เพราะใบปริญญากำลังจะหมดความนิยม

                2.สอนเพื่อตอบโจทย์โลกแห่งความเป็นจริง (Real World) ใช้ได้ในชีวิตจริง ไม่ใช่สอนตามหนังสือ ตามแบบฝึกหัด

                3.ยอมปรับตัวแรงและเร็ว ไม่มีทำแบบค่อยเป็นค่อยไป เพราะในโลกดิจิทัลหนึ่งนาทีก็ช้าไปแล้ว

                4.มีความ “เข้าใจ” และ “เข้าถึง” เด็กผู้เรียนอย่างแท้จริง สื่อสารได้ด้วยวิธีการใหม่ๆ ลืมของเดิมไปเลย

                5.ไม่หลบหลีกเทคโนโลยีชั้นสูงในการเรียนการสอน ควรรู้ทั้งเรื่องการเรียนออนไลน์ การใช้เครื่องมือใหม่ๆ อีกทั้งเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI จะเข้ามาเต็มรูปแบบ

                6.พบเจอกับการประเมินรายบุคคล ทั้งจากเด็กและการจัดอันดับการสอนแบบทันที (Real Time) ด้วยบิ๊กดาต้าและบล็อกเชน เป็นยุคที่ทำดีก็ได้ดีเร็ว ทำเสียก็ไปเร็วเช่นกัน

                7.คิดหลักสูตรเองและเครื่องมือเรียนรู้เองได้ สร้างสรรค์ความแตกต่างแบบไม่ซ้ำใคร

                8.มีจิตวิญญาณความเป็น “ครู” ยังไงก็ยังสำคัญที่สุด

                จึงขอให้กำลังใจให้ผู้ที่จะเป็น “ครูมืออาชีพ” ขณะที่การเป็นครูยิ่งยากมากขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งเป็นหน้าที่ของรัฐและสังคมไทย ที่จะต้องดูแลครูให้มากขึ้น

                ไม่ใช่แค่เรื่องเงินเดือน สวัสดิการ แต่ต้องเป็นเรื่องการส่งเสริมพัฒนาอาชีพครู ถึงจะเป็นธรรม ไม่ใช่คาดหวังสูง แต่ไม่เหลียวแล คงไม่แฟร์สำหรับครู และขอเป็นกำลังใจให้รัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ ด้วยเช่นกัน เพราะรู้ว่าเป็นเรื่องยากมาก.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"