5จีเกิดได้หรือไม่ แนวทางจัดสรรคลื่นของกสทช.เป็นตัวชี้วัด


เพิ่มเพื่อน    

    


ดูเหมือนว่าในขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กำลังเตรียมความพร้อม สำหรับการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีการสื่อสาร ไปสู่ยุค 5จี

เนื่องจากเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก  โดยในปี 2020 หรือ ปี 2563 ก็มีบางประเทศจะเริ่มต้นใช้งาน 5จี อย่างเป็นทางการแล้ว  ขณะที่ไทยก็ไม่อยากตกขบวนเหมือนในอดีต รัฐบาลก็มีเป้าหมายที่จะมีการเริ่มทดลองใช้งาน 5จี ในปี 2563 เช่นกัน ดังนั้นมันจึงเหลือเวลา สำหรับการศึกษาและการเตรียมการไม่มากนัก

อันดับแรกต้องทราบกันก่อนว่า พื้นฐานของเทคโนโลยี 5จี นั้นไม่ใช่เพื่อการโทรคมนาคมทางด้านเสียง หรือแค่ส่งผ่านข้อมูลสำหรับสมาร์ทโฟนเท่านั้น แต่ในยุค 5จี คือ ยุคของการเชื่อมโยงทุกอุปกรณ์เข้าด้วยกัน หรือที่เรียกว่า อินเทอร์เน็ตออฟธิงค์ ( IoT) อย่างที่เราได้ยินกัน ดังนั้นระบบจึงต้องการเครือข่ายการสื่อสารอัจฉริยะ ที่สามารถรองรับการใช้ได้หลายอุปกรณ์ และ หลายประเภท และรับส่งข้อมูลได้จำนวนมหาศาล เพื่อทำให้เกิดโครงข่ายเมืองอัจฉริยะ

 

 

ดังนั้นเรื่องของการจัดสรรคลื่นความถี่ให้พอเพียงกับความต้องการใช้ 5จี นั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยความเร็วในการรับส่งข้อมูลเบื้องต้นในยุค 5จี จะมีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงกว่า 4จี อย่างน้อย 10 เท่า  หรือ เรียกว่า เป็นการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วที่ระดับ กิกะบิตเพอร์เชค(Gbps)  ซึ่งก็จะรับส่งข้อมูลจำนวนสูงขนาดนี้ จำเป็นต้องใช้คลื่นความถี่จำนวนมากขึ้นตามไปด้วย เพื่อรองรับคุณสมบัติดังกล่าว  อย่างน้อยที่สุดคลื่นที่จะนำมาใช้ได้ ก็จะต้องช่วงความกว้างของคลื่นความถี่ จะต้องไม่ต่ำกว่า 50-100 MHz  จึงบอกได้เลยว่าจำนวนคลื่นความถี่ที่ให้บริการในปัจจุบันจะมีไม่เพียงพออย่างแน่นอน และจำเป็นจะต้องสรรหาคลื่นใหม่มาจัดสรรเพิ่มเติม เพื่อรองรับการให้บริการบนเทคโนโลยี 5จี

จึงไม่แปลกใจเลยว่า เมื่อวันที่ 7 พ.ย.ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกลั่นกรองด้านโทรคมนาคม ของกสทช. จึงมีมติเห็นชอบร่างหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การเรียกคืนคลื่นความถี่ที่ไม่ได้ ใช้ประโยชน์ หรือใช้ประโยชน์ไม่คุ้มค่า หรือนำมาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่ายิ่งขึ้น  ซึ่งเรื่องนี้จะต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของกรรมการ (บอร์ด) กสทช.ในวันที่ 20 พ.ย.ที่จะถึงนี้

ถามว่าทำไมต้องเรียกคืนคลื่น ก็อย่างที่ทราบว่า เทคโนโลยี 5จีจะต้องใช้คลื่นจำนวนมหาศาล ซึ่งในขณะนี้ก็ยังไม่แน่ชัดว่า ตัว 5จี จะใช้ช่วงคลื่นชุดใด เป็นตัวขับเคลื่อน มีเพียงความเห็นของ ของนายเสน่ห์ สายวงศ์ ผู้อำนวยการ สำนักบริหารคลื่นความถี่ ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานด้านเทคนิค 5จี ที่ระบุว่า หลังจากคุยกับผู้ผลิตเทคโนโลยีหลายๆเจ้า ก็มีความคิดว่าจะใช้คลื่นความถี่ C-Band ในช่วงย่านความถี่ 3500 เมกะเฮิรตซ์ ที่จำนวนความจุ (แบนด์วิธ) 100 เมกะเฮิรตซ์ และคลื่นความถี่ 24 กิกะเฮิรตซ์ ที่จำนวนความจุ 1 กิกะเฮิรตซ์ มาเริ่มต้นทำการทดลองใช้งานเทคโนโลยีบนระบบ 5จี  แต่สุดท้ายก็ยังไม่มีข้อสรุปว่า จะเลือกใช้คลื่นนี้อย่างเป็นทางการหรือๆไม่

แต่ในแง่โรดแมปการทำงาน กสทช. จำเป็นต้องต้องกำหนดแผนจัดสรรคลื่นความถี่ อย่างนี้ 3-5ปี  เพื่อให้ภาคธุรกิจเอกชน ที่สนใจในตัวเทคโนโลยีดังกล่าว สามารถเตรียมความพร้อมทางการลงทุนและทำแผนธุรกิจ แน่นอนหากไม่ประกาศให้ชัดคนทำธุรกิจก็ลำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การลงทุน 5 จี นั้นมีมูลค่ามหาศาล และมีธุรกิจอื่นๆที่มาเกี่ยวข้องอีกจำนวนมาก การมีแผนที่ชัดเจน ก็จะช่วยให้เกิดความมั่นใจว่าอนาคตจะมีคลื่นความถี่มารองรับนวัตกรรมใหม่ๆ

อย่างไรก็ดีแม้ว่าจะมีการเตรียมการและมีแผนที่จะทำ แต่สิ่งหนึ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ การประมูลคลื่นรอบใหม่ ในช่วงต้นปีหน้า ที่ยังมีคลื่น ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวนที่เหลืออยู่ 7 ใบอนุญาตๆละ 5 เมกะเฮิรตซ์จำนวน 35 เมกะเฮิรตซ์  ที่ยังประมูลได้ไม่หมดและคลื่น ย่าน 2600 เมกะเฮิรตซ์ 3400 -3500 เมกะเฮิรตซ์ 26- 28 กิกะเฮิรตซ์ มาประมูล

โดยเบื้องต้น กสทช.ได้ให้สัมภาษณ์ว่า สำหรับ คลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ 7 ใบที่เหลือ จะยึดตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่เบื้องต้นเดิมที่ ตั้งราคาเริ่มต้นประมูลไว้ที่  12,486 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงมาก หากรวมทั้ง 7 ใบอนุญาต จะต้องใช้วงเงินอย่างน้อย 87,402 ล้านบาท ซึ่งตอนนี้เอกชนก็น่าจะแบกต้นทุนค่าคลื่นกันเต็มกลืนแล้ว หากยังคงตั้งราคาแบบนี้ ก็ยากที่จะมีคนมาร่วมประมูล 

 

 

ที่สำคัญการประมูลคลื่นเหล่านี้มีความคาบเกี่ยวกับช่วงที่มีการเกิดเทคโนโลยี 5จี ซึ่งตามหลัก ภาคเอกชนจะต้องเป็นผู้ขับเคลื่อนการลงทุน  แต่จะทำอย่างไรเพราะการลงทุน 5จี นั้นต้องมีการลงทุนมากกว่า ระบบ 4จี เป็นเท่าตัว  อย่าง 4จี ใช้เสากระจายสัญญาณเพียง 2-5 ต้น  แต่สำหรับ 5จี ในพื้นที่เท่ากันจะต้องลงทุนเสา10-15 ต้น ถามว่า ในเวลานี้ 3 ผู้ประกอบการไทยมีเงินไหม ก็ต้องยอมรับในข้อเท็จจริงกันก่อนว่าทุกเจ้าก็แบกต้นทุนค่าใบอนุญาต กันทะลุแสนล้านบาท

ดังนั้นหาก กสทช. ต้องการจะให้ 5จีเกิดจริงๆ การทบทวนหลักเกณฑ์ในการประมูลคลื่นความถี่รวมถึงมูลค่าคลื่นให้สอดคล้องกับความเป็นจริง นั้นเป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงเกณฑ์การชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตที่จะมีการขยายเวลาออกไปให้มากขึ้น รวมถึงการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ให้สอดคล้องกับความเป็นจริง

ซึ่งแน่นอน เอกชน คงไม่สามารถแบกรับการค่าประมูลคลื่น ที่มหาศาลติดระดับโลกได้อีกแล้ว ทุกอย่างต้องสมเหตุสมผลและ ตอบโจทย์ธุรกิจจริงๆ เพราะภารกิจนี้ไม่ใช่ การหารายได้เข้ารัฐ เพียงอย่างเดียวแล้ว แต่จะต้องผลักดันเทคโนโลยีการสื่อสาร 5จีให้เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่การเกิดของสมาร์ทซิตี้ และ ไทยแลนด์ 4.0 หากยึดเอาแต่เงินประมูลเป็นตัวตั้ง บอกได้เลย เอกชน คงเซย์โน ไม่ต่างจากที่ตอนนี้ยังมี คลื่น 1800 MHz ค้างสต็อกประมูลไม่ออกอีกเพียบ             
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"