เหตุใดสังคมปัจจุบันต้องการนำเสนอว่า 'พระเจ้าตาก' ไม่ถูกประหารชีวิต?


เพิ่มเพื่อน    

เรื่อง "อวสานพระเจ้าตากฯ" เป็นประเด็นหนึ่งที่ยังคงถกเถียงกล่าวถึงอย่างมากในยุคปัจจุบัน ถึงแม้ว่าเนื้อหาตอนนี้จะปรากฏอย่างชัดเจนในพระราชพงศาวดารฉบับต่างๆ แล้วก็ตาม จึงขอนำเสนอพระราชประวัติช่วงนี้ตามที่ปรากฏในพระราชพงศาวดาร 4 ฉบับ ที่มักมีการกล่าวอ้างถึงพระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ดังนี้

1.พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กล่าวไว้ ดังนี้

...เพลาเช้าสองโมง เสด็จพระราชดำเนินทัพมาจาก เสียมราบ ประทับ ณ พลับพลาหน้าวัดโพธาราม ฝ่ายข้าทูล ละอองฯ ผู้ใหญ่ผู้น้อยพร้อมกันไปเชิญเสด็จ ลงเรือพระที่นั่ง กราบ ข้ามมาพระราชวังสถิต ณ ศาลาลูกขุน มีหมพฤฒามาตย์ ราชกุลกวีมุขเฝ้าพร้อมกัน จึ่งมีพระราชบริหารดำรัสปรึกษา ว่า เมื่อพระเจ้าแผ่นดินอาสัตย์ธรรมดังนี้ แล้วท่านทั้งปวงจะ คิดเป็นประการใด มุขมนตรีพร้อมกันทูลว่า พระเจ้าแผ่นดิน ละสัตย์สุจริตธรรมเสีย ประพฤติการทุจริตฉะนี้ ก็เห็นว่าเป็น เสี้ยมหนามหลักตออันใหญ่อยู่ในแผ่นดินจะละเว้นไว้มิได้ ขอ ให้ปริวรรตออกประหารเสีย ฝ่ายทแกล้วทหารทงปวง มีใจเจ็บ แค้นเป็นอันมาก ก็นำ เอาพระเจ้าแผ่นดินและพวกโจทก์ทงปวงนั้นไปสำเร็จ ณ ป้อมท้ายเมืองในทันใดนั้น (ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 3. 2542 : 527)

2.พระราชพงศาวดาร ฉบับบริติชมิวเซียม กล่าวไว้ ดังนี้

...เพลาเช้า 2 โมง พระเจ้ากระษัตรศึกเสด็จพระราชดำเนิน ทัพมาจากเสียมราบ ประทับ ณ  พลับพลาหน้าวัดโพธาราม ฝ่ายข้าทูลละอองผู้ใหญ่ผู้น้อยพร้อมกัน ไปเชิญเสด็จลงเรือ พระที่นั่งกราบข้ามมาพระราชวัง สถิต ณ ศาลาลูกขุน มีหมู่ พฤฒามาตย์ ราชกูลกวีมุขเฝ้าพร้อมกัน จึ่งมีพระราชบริหาร ดำารัสปรึกษาว่า เมื่อพระเจ้าแผ่นดินอสัตย์อธรรมดังนี้แล้ว ท่านทั้งปวงจะคิดประการใด มุขมนตรีทั้งปวงพร้อมกันทูลว่า พระเจ้าแผ่นดินละสัตย์สุจริตธรรมเสีย ประพฤติการทุจริตฉะนี้ ก็เห็นว่าเสี้ยนหนาม หลักตออันใหญ่อยู่ในแผ่ดินจะละไว้มิได้ ขอให้ปริวัตรออกประหารเสีย ฝ่ายทแกล้วทหารทั้งปวงมีใจเจ็บแค้นเป็นอันมาก ก็นำาเอาพระเจ้าแผ่นดินแลพวกโจทก์ทั้งปวงนั้น ไปสำาเร็จโทษ ณ ป้อมท้ายเมืองในทันใดนั้น (ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 2. 2542 : 371-372)

3.พระราชพงศาวดาร ฉบับหมอบรัดเล กล่าวไว้ ดังนี้

...จึงตรัสปรึกษาด้วยมุขมนตรีทงหลายว่าเมื่อพระเจ้าแผ่นดินอาสัตยอ์าธรรมดังนี้แล้วท่านทั้งปวงจคิดอ่านประการใด มุขมนตรีทงหลายพร้อมกันกราบทูลว่า พระเจ้าแผ่นดินละสุจริตธรรมเสีย ประพฤติการทุจริตฉะนี้ ก็เห็นว่าเป็นเสยนหนาม หลักตออันใหญ่อยู่ในแผ่นดิน จะละไว้มิได้ควรจะให้สำเร็จโทษเสีย จึงรับสั่งให้มีกระทู้ถามเจ้าตากสิน เจ้าแผ่นดินทุจริตว่า ตัวเป็นเจ้าแผ่นดินใช้เราไปกระทำการสงคราม ได้ความลำบาก กินเหงื่อต่างน้ำา เราอุตสาหกระทำาศึกมิได้อาลัยแก่ชีวิตคิดแต่ จะทำานุบำารุงแผ่นดินให้สิ้นเสี้ยนหนาม จะให้สมณพราหมณา จารย์ และไพร่ฟ้าประชากรอยู่เย็น เป็นสุขสิ้นด้วยกัน ก็เหตุ ไฉนอยู่ภายหลัง ตัวจึงเอาบุตรภรรยาเรามาจองจำาทำาโทษ แล้วโบยตีพระภิกษุสงฆ์  และลงโทษแก่ข้าราชการ และอาณา ประชาราษฎร เร่งรัดเอาทรัพย์สินโดยพลการด้วยหาความผิด มิได้ กระทำาให้แผ่นดินเดือดร้อนทุกเส้นหญ้า ทั้งพระพุทธ ศาสนาก็เสื่อมทรุดเศร้าหมอง ดุจเมืองมิจฉาทิฐิฉะนี้  โทษตัว จะมี เป็นประการใดจงให้การไปให้แจ้ง แล้วเจ้าตากสินก็รับ ผิดทั้งสิ้นทุกประการ  จึงมีรับสั่งให้เอาไปประหารชีวิตสำาเร็จ โทษเสีย เพชฌฆาตกับผู้คุมก็ลากเอาตัวขึ้นแคร่หามไป กับ ทั้งสังขลิกพันธนาการ เจ้าตากจึงว่าแก่ผู้คุมเพชฌฆาตว่า ตัวเราก็สิ้นบุญจะถึงที่ตายแล้วช่วยพาเราแวะเข้าไปหาท่าน ผู้สำาเร็จราชการจะขอเจรจาด้วยสักสองสามคำา ผู้คุมก็ให้หาม เข้ามา ครั้นได้ทอดพระเนตรเห็น จึงโบกพระหัตถ์มิให้นำามา เฝ้า ผู้คุมและเพชฌฆาตก็หามออกไปนอกพระราชวังถึงหน้า ป้อมวิชัยประสิทธิ์ ก็ประหารชีวิตตัดศีรษะเสีย ถึงแก่พิราลัย จึงรับสั่งให้เอาศพไปฝังไว้ ณ วัดบางยี่เรือใต้ และเจ้าตากสิน ขณะเมื่อสิ้นบุญถึงทำาลายชีพนั้นอายุได้สี่สิบแปดปี 

4.พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวไว้ ดังนี้

..จึงตรัสปรึกษาด้วยมุขมนตรีทั้งหลายว่า พระเจ้าแผ่นดินละสุจริตธรรมเสียประพฤติการทุจริตฉะนี้ ก็เห็นว่าเป็นเสี้ยนหนามหลักตออันใหญ่อยู่ในแผ่นดิน จะละไว้มิได้ควรจะให้สำเร็จโทษเสีย จึงรับสั่งให้มีกระทู้ถามเจ้าตากสินเจ้าแผ่นดินทุจริตว่า ตัวเป็นเจ้าแผ่นดินใช้เราไปกระทำการสงครามได้ความลำบากกินเหงื่อต่างน้ำ เราก็อุตสาหะอาสากระทำศึกมิได้อาลัยแก่ชีวิต คิดแต่จะทำนุบำรุงแผ่นดินให้สิ้นเสี้ยนหนาม จะให้สมณพราหมณาจารย์และไพร่ฟ้าประชากรอยู่เย็นเป็นสุข ก็เหตุไฉน อยู่ภายหลังจึงเอาบุตรภรรยาเรามาจองจำทำโทษ แล้วโบยตีพระภิกษุสงฆ์ และลงโทษแก่ข้าราชการและอาณาประชาราษฎรเร่งรัดเอาทรัพย์สินโดยพลการด้วยหาความผิดมิได้ กระทำให้แผ่นดินเดือดร้อนทุกเส้นหญ้า 

ทั้งพระพุทธศาสนาก็เสื่อมทรุดเศร้าหมองดุจเมืองมิจฉาทิฐิฉะนี้ โทษตัวจะมีเป็นประการใดจงให้การไปให้แจ้งและเจ้าตากสินก็รับผิดทั้งสิ้นทุกประการ จึงมีรับสั่งให้เอาตัวไปประหารชีวิตสำเร็จโทษเสีย เพชฌฆาตกับผู้คุมก็ลากเอาตัวขึ้นแคร่หามไปกับทั้งสังขลิกพันธนาการ เจ้าตากจึงว่าแก่ผู้คุมเพชฌฆาตว่า ตัวเราก็สิ้นบุญจะถึงที่ตายอยู่แล้ว ช่วยพาเราแวะเข้าไปหาท่านผู้สำเร็จราชการ จะขอเจรจาด้วยสักสองสามคำผู้คุมก็ให้หามเข้ามา ได้ทอดพระเนตรเห็น จึงโบกพระหัตถ์มิให้นำมาเฝ้า ผู้คุมและเพชฌฆาตก็หามออกไปนอกพระราชวังถึงหน้าป้อมวิชัยประสิทธิ์ ก็ประหารชีวิตตัดศีรษะเสียถึงแก่พิราลัย จึงรับสั่งให้เอาศพไปฝังไว้ ณ วัดบางยี่เรือใต้ และเจ้าตากสินขณะเมื่อสิ้นบุญถึงทำลายชีพนั้นอายุได้สี่สิบแปดปี  (พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 2. 2535 : 230) 

เนื้อหาตอน "อวสานพระเจ้าตากฯ"  จากพระราชพงศาวดารทั้ง 4 ฉบับอาจมีรายละเอียดที่แตกต่างกันเล็กน้อยเรื่องอักขรวิธีการสะกดคำ หรือเพิ่มเติมรายละเอียดบางส่วน ดังที่ นิธิ เอียวศรีวงศ์ กล่าวว่า  "...ฉบับบริติชมิวเซียมคัดจากฉบับพันจันทนุมาศ ฉบับหมอบรัดเลย์คัดจากฉบับบริติชมิวเซียม และฉบับพระราชหัตถเลขาคัดจากฉบับหมอบรัดเลย์" (นิธิ เอียวศรีวงศ์. 2550: 113) ประเด็นสำคัญคือพระราชพงศาวดารทั้ง 4 ฉบับ บันทึกว่า "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชถูกสำเร็จโทษ"

แต่อย่างไรก็ตามพระราชประวัติตอนถูกสำเร็จโทษก็ยัง "ไม่เป็นที่ยุติ" ในสังคมปัจจุบัน ยังคงมีการกล่าวถึงวิพากษ์วิจารณ์ แสดงเหตุผลทั้ง "เห็นด้วย" และ "เห็นต่าง" จากเนื้อหาที่ปรากฏในพระราชพงศาวดาร การเห็นต่างไปจากพระราชพงศาวดารจึงมีความน่าสนใจว่า เหตุใดสังคมปัจจุบันส่วนหนึ่งจึงไม่เชื่อว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชถูกประหาร แล้วมีการอธิบายถึงสิ่งที่เชื่ออย่างไร

วรรณกรรมปัจจุบันเริ่มปรากฏการนำเสนอพระราชประวัติตอน "อวสานพระเจ้าตากฯ" มากขึ้น  ด้วยกลวิธีนำเสนอเหตุผลใหม่โดยยังอาศัยเนื้อความจากพระราชพงศาวดาร หรือการตัดทอนถ้อยคำบางคำออก ทั้งนี้เพื่อนำเสนอพระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชตามทัศนะของผู้แต่งในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมปัจจุบัน ขอยกตัวอย่างวรรณกรรมปัจจุบัน 10 เรื่อง พร้อมระบุปีที่ตีพิมพ์เผยแพร่เพื่อให้เห็นถึงพัฒนาการความสืบเนื่อง ดังนี้

1.วรรณกรรมเรื่อง ใครฆ่าพระเจ้ากรุงธน ตีพิมพ์ครั้งแรกปี พ.ศ.2492 ผู้แต่งคือหลวงวิจิตรวาทการ  ได้นำเสนอพระราชประวัติช่วงนี้ด้วยคำอธิบายชุดใหม่ที่แตกต่างจากพระราชพงศาวดาร ด้วยการนำเสนอว่าบุคคลผู้ที่ถูกประหารชีวิตนั้นเป็นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชพระองค์ปลอม และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชพระองค์จริงหนีรอดไปได้ ดังนี้

บุคคลที่ถูกประหารชีวิต คือหลวงอาสาศึก เขาตายด้วยความยินดี ไม่มีอะไรจะทำความปลาบปลื้มให้แก่เขาเท่ากับที่ได้ตายแทนมหาบุรุษผู้กู้ชาติ เขาตั้งคอรับคมดาบด้วยความเต็มใจ เขาตายโดยไม่รู้ว่าเขาได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าพระยา ศพของเขาได้ถูกนำไปฝังไว้ที่วัดบางยี่เรือใต้ ในขณะเดียวกันที่สำเภาลำใหญ่พาพระองค์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไปยังนครศรีธรรมราช (หลวงวิจิตรวาทการ. 2544 : 356-357)

2.วรรณกรรมเรื่อง ใครฆ่าพระเจ้าตากสิน ตีพิมพ์ครั้งแรกปี พ.ศ.2516 ผู้แต่งคือภิกษุณีวรมัย กบิลสิงห์ นำเสนอพระราชประวัติคล้ายคลึงกับเรื่องใครฆ่าพระเจ้ากรุงธน คือผู้ที่ถูกประหารชีวิตที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์เป็นพระองค์ปลอม และพระองค์จริงสามารถหลบหนีออกมาได้ ดังนี้

พระยาสุริยอภัย กับ พระยาสรรค์ บังคับให้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชลาผนวช แล้วเอาเครื่องจองจำใส่ครบมารับโทษถึงขั้นประหาร แต่เมื่อจะประหารจริงนั้น คุณมั่นผู้มีความกตัญญูกตเวทีต่อองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ยอมอุทิศชีวิตตายแทนพระเจ้าอยู่หัว คุณมั่นเป็นวีรบุรุษโดยแท้ (ภิกษุณีวรมัย กบิลสิงห์. 2551: 124)

3. วรรณกรรมเรื่อง แผ่นดินพระเจ้าตาก ตีพิมพ์ครั้งแรกปี พ.ศ. 2545 ผู้แต่งคือ วิบูล วิจิตรวาทการ ได้นำเสนอวาระสุดท้ายของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้รับการลงโทษประหารชีวิตตัดศีรษะ ตามที่ปรากฏในพระราชพงศาวดาร อีกทั้งยังคัดลอกพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขามาเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องเล่า ดังนี้

… มาถึงวาระนี้เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงกลับหน้ามือเป็นหลังมือ บุคคลที่ท่านเคยต้องเคารพนอบน้อมและเกรงกลัว บัดนี้อยู่ในสภาพนักโทษ และตัวท่านเองกลับเป็นผู้ที่ยิ่งใหญ่ มีอำนาจวาสนาสูงที่สุดในกรุงสยาม จึงเป็นทีของท่านที่จะเป็นผู้ชำระความผิด ขู่ไต่ถามสอบความสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีด้วยถ้อยคำที่รุนแรงบ้าง

พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา บันทึกเหตุการณ์ต่อไปว่า

“และพระเจ้าตากสินก็รับผิดทั้งสิ้นทุกประการ จึงมีรับสั่งให้เอาตัวไปประหารชีวิตสำเร็จโทษเสีย... ถึงหน้าป้อมวิชัยประสิทธิ์ ก็ประหารชีวิตตัดศีรษะเสียถึงแก่พิราลัยจึงรับสั่งให้เอาศพไปฝังไว้ ณ วัดบางยี่เรือใต้...” (วิบูล วิจิตร

4. วรรณกรรมเรื่อง ผู้อยู่เหนือเงื่อนไข ตีพิมพ์ครั้งแรกปี พ.ศ. 2545 ผู้แต่งคือสุภา ศิริมานนท์ ได้นำเสนอโดยดำเนินเรื่องตามเรื่อง ใครฆ่าพระเจ้ากรุงธน ที่ผู้ถูกประหารชีวิตที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์เป็นพระองค์ปลอม และพระองค์จริงสามารถหลบหนีออกมาได้ แต่ได้ปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมรายละเอียดต่างๆ ดังนี้

“ท่านจำหลวงอาสาศึกได้ไหม... ชื่อเดิมของเขาว่าบุญคงน่ะ?...”

“...บุญคงเป็นผู้ซึ่งมีความจงรักภักดีต่อท่านสูงสุด เขาเป็นเหมือนสุนัขที่ซื่อ เขายอมตายแทนท่าน และผมเชื่อว่าเขาคงจะต้องตายโดยไม่มีปัญหา บุญคงยอมรับตำแหน่งและฐานะของท่านเพื่อที่จะถูกประหารในวันสองวันนี้ โดยน้ำใจสงบเยือกเย็น ไม่สะทกสะท้าน ด้วยความจงใจอย่างที่จะหาใครเหมือนเขาอีกไม่ได้แล้วในโลกนี้” (สุภา ศิริมานนท์. 2549: 85)

5. วรรณกรรมเรื่อง ตากสินมหาราชชาตินักรบ ตีพิมพ์ครั้งแรกปี พ.ศ. 2549 ผู้แต่งคือคีฟ-ฟอกซ์ แคลร์ (Claire Keefe-Fox) กล้วยไม้ แก้วสนธิ เป็นผู้แปล กล่าวถึงวาระสุดท้ายของพระองค์โดยอาศัยเนื้อหาพระราชพงศาวดารว่าพระองค์ถูกสำเร็จโทษจริง แต่สร้างเรื่องเล่าใหม่โดยเปลี่ยนวิธีการประหารชีวิตตัดศีรษะเป็นการสำเร็จโทษทุบด้วยท่อนจันทน์ ดังนี้

กฎมนเทียรบาลถูกนำมาใช้ในการสำเร็จโทษพระเจ้าตากสินเช่นเดียวกับครั้งกรมหมื่นเทพพิพิธ

มาธิวเคยได้ยินข่าวว่าขุนนางบางคนไม่อยากถวายพระเกียรติดังนี้ จะให้ประหารแบบคนทรยศ แต่รัชกาลที่ 1 ทรงตัดสินให้ประหารชีวิตพระเจ้าตากสินเยี่ยงกษัตริย์ ทรงพิจารณาเห็นว่าการที่ราชอาณาจักรสยามยังตั้งอยู่ได้ ก็เพราะพระเจ้าตากสินเจ้าหน้าที่ถอดโซ่ที่ล่ามอดีตกษัตริย์ออก ให้พระองค์ทรงภูษาสีแดง ให้ทรงนั่งคุกเข่า มัดพระหัตถ์กับพระบาท จากนั้นจึงคลุมถุงกำมะหยี่สีแดง เพชฌฆาตยกท่อนไม้จันทน์ขึ้นฟาด

แรงๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนพระวรกายไม่ขยับ และพระโลหิตเปื้อนถุงเป็นปื้นดำ ไม่มีเสียงครวญครางใดๆอีก (คีฟ-ฟอกซ์ แคลร์. 2550: 436-437)

6. วรรณกรรมเรื่อง ความหลงในสงสาร ตีพิมพ์ครั้งแรกปี พ.ศ. 2549 ผู้แต่งคือสุทัสสา อ่อนค้อม ยังคงใช้วิธีการสร้างเรื่องเล่าขึ้นใหม่ที่มีเนื้อหาปฏิเสธการสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์ด้วยการนำเสนอว่าผู้ถูกประหารชีวิตที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์เป็นพระองค์ปลอม และพระองค์จริงสามารถหลบหนีออกมาได้ ดังนี้

“… เพียงแต่ที่ถูกสำเร็จโทษไม่ใช่เรา เป็นสหายอีกคนหนึ่งของเราที่เขามีความจงรักภักดีต่อเรา ถึงขนาดยอมสละชีวิตของตัวเองเพื่อรักษาชีวิตเราไว้ บังเอิญว่า เขารูปร่างหน้าตาคล้ายคลึงกับเรามาก ทั้งที่ไม่ได้เป็นญาติสืบสายโลหิตกัน” (สุทัสสา อ่อนค้อม. 2551: 13)

7. วรรณกรรมเรื่อง พระเจ้าตากฯ สิ้นพระชนม์ที่เมืองนคร ตีพิมพ์ครั้งแรกปี พ.ศ. 2550 ผู้แต่งคือ ทศยศ กระหม่อมแก้ว แม้ว่าไม่ได้กล่าวถึงเหตุการณ์รอดชีวิตของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์ในเวลานั้น แต่ได้นำเสนอว่าพระองค์มาอยู่ที่นครศรีธรรมราช ตามคำบอกเล่าของตระกูล ณ นคร ที่สืบสายมาจากเจ้าพระยานคร (น้อย) เป็นบุตรติดครรภ์เจ้าจอมปราง ที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชพระราชทานให้เป็นชายา
เจ้าอปุราชพัฒน ์ เมื่อเจ้าอปุ ราชพัฒน์รับพระราชทานเป็นชายาแล้ว ก็ตั้งไว้เป็นนางเมืองโดยไม่ยุ่งเกี่ยวในฉันชู้สาว คนในตระกูล ณ นคร จึงมีความเชื่อกันว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไม่ได้ถูกประหารชีวิต ดังนี้

“เนินดิน” ที่ก่อขึ้นสูงบริเวณสนามหน้าเมืองนั้นคือกองอิฐ และมูลดินที่เหลือจากการซ่อมแซมกำแพงที่ทรุดโทรมลงมาในสมัยธนบุรีต่อมาเมื่อพระเจ้าตากสินสิ้นพระชนม์ที่เขาขุนพนม ก็ได้มีการปรับแต่งพื้นที่ ปลูกวิหารบนเนินสูงดังกล่าว แล้วมีการจัด

ขบวนแห่พระศพมายังสนามหน้าเมือง และได้พักพระบรมศพไว้ที่วิหารสูงแห่งนี้ ภายหลังเมื่อฌาปนกิจพระบรมศพที่สนามหน้าเมืองเสร็จ เมรุที่ใช้เผาก็ถูกรื้อออกตามประเพณีโบราณส่วนหอพระสูง หรือวิหารนั้น ถูกปลูกสร้างขึ้นมาระหว่างพักพระบรมศพนั่นเอง เพราะที่บริเวณนั้นเป็นที่พักพระบรมศพของพระเจ้าตาก ซึ่งถือว่าเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เพื่อป้องกันไม่ให้ใครมาใช้สถานที่ซ้ำกับบริเวณดังกล่าว (ทศยศกระหม่อมแก้ว. 2550: 67-68)

8. วรรณกรรมเรื่อง ตามรอยเลือดพระเจ้าตาก ตีพิมพ์ครั้งแรกปีพ.ศ. 2550 ผู้แต่งคือชานนท์ ท. มีการสร้างเรื่องเล่าที่คล้ายคลึงกับเรื่องแผ่นดินพระเจ้าตาก ที่คัดลอกเนื้อความจากพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา แต่ผู้แต่งได้ตั้งใจตัดทอนวิธีการประหารชีวิตโดยไม่ปรากฏคำว่า “ตัดศีรษะ” ดังนี้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกจึงตั้งกระทู้ถามต่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธน......

ความในพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขากล่าวต่อไปว่า“และพระเจ้าตากสินก็รับผิดทั้งสิ้นทุกประการ จึงมีรับสั่งให้เอาตัวไปประหารชีวิตสำเร็จโทษเสีย... ผู้คุมและเพชฌฆาตก็หามออกไปนอกพระราชวัง ถึงหน้าป้อมวิชัยประสิทธิ์ ก็ประหารชีวิต”สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จสวรรคต พระศพฝังไว้ ณ วัดบางยี่เรือใต้ ขณะมีพระชนมายุสี่สิบปี (ชานนท์ ท.2550: 222)

9. วรรณกรรมเรื่อง จอมกษัตริย์แห่งนักรบ ตีพิมพ์ครั้งแรกปี พ.ศ.2550 ผู้แต่งคือศรีศากยอโศก ได้กล่าวถึงเหตุการณ์รอดชีวิตของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ด้วยนำเสนอว่าผู้ที่ถูกประหารชีวิตในครั้งนั้นเป็น
พระองค์ปลอม และพระองค์จริงสามารถหนีไปได้ ดังนี้

“ขณะที่นายเข้มกำลังจะประหารพระเจ้ากรุงธนนั้นพระองค์ทรงตรัสถามนายเข้มผู้เพชฌฆาตว่า แผ่นดินนี้พระองค์เป็นผู้กอบกู้กลับคืนมาเป็นปึกแผ่นให้นายเข้ม ผู้เพชฌฆาตได้มีที่ยืนให้ประหารชีวิตพระองค์ซึ่งเป็นหน้าที่ของนายเข้มพระองค์มิได้บังเกิดความขัดเคืองแต่ประการใด เพียงแต่เว้นชีวิตพระราชโอรสที่ยังทรงพระเยาว์ เพียงเท่านั้น ในกาลนั้นนายเข้มได้บังเกิดความเสียใจเป็นอันมาก จึงเป็นกำลังสำคัญในการนำผู้อื่นมาประหารชีวิตแทนด้วยความเต็มใจจากบุคคลทั้งหลาย ณ ป้อมวิชัยประสิทธิ์ วันที่ ๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๒๕... (ศรีศากยอโศก. 2550: 277)

10. วรรณกรรมเรื่อง ดวงพระเจ้าตากไม่ถูกประหาร ตีพิมพ์ครั้งแรกปี พ.ศ. 2551 ผู้แต่งคือเล็ก พลูโต นำเสนอเรื่องเล่าด้วยเหตุผลทางโหราศาสตร์เพื่อปฏิเสธการถูกสำเร็จโทษ ผู้แต่งได้นำเสนอด้วยการอธิบายดวงชะตาที่ปรากฏเกณฑ์ชะตาเป็นนักโทษประหารแล้วนำมาเปรียบเทียบกับดวงชะตาสมเด็จพระเจ้ตากสินมหาราชเพื่อแสดงให้เห็นถึงความแตกต่าง ดังนี้

...จุดรอดของพระองค์ที่ใช้เป็นตัวชี้ขาดว่า เป็นดวงชะตานักโทษประหาร หรือ ถูกผู้อื่นฆ่าตายหรือไม่? อยู่ตรงที่ ทั้งพระราชลัคนา และดาวเจ้าเรือนพระราชลัคนา ไม่ได้ต้องกระแสดาวมรณะ หรือดาวอังคารโดยตรง หรืออย่างจังคือกุมนำหน้าอยู่ในภพกัมมะ เหมือนกับดวงนักโทษประหารสองรายที่ยกตัวอย่างมาอ้างอิง อีกทั้งพระราชลัคนา และดาวเจ้าเรือนพระราชลัคนาก็โดนบาปเคราะห์หรือ ดาวร้ายเบียนแค่หอมปากหอมคอ ไม่มากมายหรือหนักหนาสาหัสนัก... (เล็ก พลูโต. 2551: 119)วรรณกรรมทั้ง 10 เรื่องข้างต้นเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงเรื่องเล่าพระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชช่วงท้ายรัชกาล พบว่ามี

วรรณกรรมถึง 8 เรื่องที่สร้างเรื่องเล่าขึ้นใหม่แตกต่างไปจากพระราชพงศาวดารมีเนื้อหาปฏิเสธการถูกประหารชีวิตที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์จำนวน 7 เรื่อง และเปลี่ยนแปลงการประหารชีวิตตัดศีรษะเป็นการทุบด้วยท่อนจันทน์จำนวน1 เรื่อง จึงเหลือวรรณกรรมอีกเพียง 2 เรื่องที่ยอมรับว่าพระองค์ถูกประหารชีวิตตัดศีรษะที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์จริง โดยมี 1 เรื่องที่ตั้งใจละคำว่า “ตัดศีรษะ”ออก ดังนั้นจึงเหลือวรรณกรรมเพียงเรื่องเดียวที่ยังคงนำเสนอตามพระราชพงศาวดาร วรรณกรรมปัจจุบันเหล่านี้จึงสะท้อนความเชื่อในสังคมปัจจุบันบางส่วนที่มีต่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระราชประวัติของพระองค์จึงมีแนวโน้มที่ปฏิเสธเรื่องการถูกประหารชีวิตมากขึ้นในรูปแบบเรื่องเล่า จากการเปลี่ยนแปลงเรื่องเล่า พระราชประวัติตอนนี้จึงเกิดคำถามต่อมาที่น่าสนใจว่าเหตุใดสังคมปัจจุบันต้องการนำเสนอว่าพระองค์ไม่ถูกประหารชีวิต

------------------------
อ้างอิง: เอกสารประกอบสัมมนาวิชาการประจำปี 2560 "250 ปีเสียกรุงศรีอยุธยา-สถาปนากรุงธนบุรี  2310-2560" 250 Anniversary of the Fall of Ayutthaya and the Rise of Thonburi 1767-2017 ณ  หอประชุม ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 15 กันยายน 2560 : ปฐมพงษ์ สุขเล็ก
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"