เมื่อปริญญาไร้ความหมาย!


เพิ่มเพื่อน    

    เราพูดเรื่อง "ปฏิรูปการศึกษา" มาช้านาน แต่ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องยังไม่กล้า "ฉีกกรอบ" เพื่อก้าวเข้าสู่ความเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง วันนี้เมื่อพายุแห่งนวัตกรรมโหมกระหน่ำใส่ทุกวงการ หากการศึกษาของไทยไม่ปรับเปลี่ยนอย่างก้าวกระโดด เราอาจจะตกอยู่ในวังวนเดิมที่มีแต่จะล่มสลาย
    การเรียนมหาวิทยาลัยกำลังจะกลายเป็นเรื่องล้าหลัง และแนวทางของ "อุดมศึกษา" กำลังจะถูก  disrupt หรือถูก "ป่วน" อย่างหนักหน่วง
    วันก่อนท่านผู้อ่านท่านหนึ่งส่งบทความเรื่องนี้มาให้ เป็นเรื่องราวที่มีการกล่าวขวัญมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ผมเห็นว่ามีเนื้อหาที่สำคัญมาก ควรที่คนไทยทุกคนจะได้อ่านและสร้างความ "ตระหนักพร้อมกับความตระหนก" เพื่อผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมจริงๆ
    แนวคิดมาจากคนชื่อ "ซัลแมน ข่าน" ครับ Salman Khan เป็นนักปฏิรูปด้านการศึกษาคนดัง เป็นผู้พัฒนาระบบการเรียนการสอนออนไลน์รุ่นแรกๆ ของโลก 
    เขาเป็นผู้ก่อตั้ง Khan Academy โรงเรียนสอนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์แบบออนไลน์ ที่ได้รับการสนับสนุนจากเอกชนรายใหญ่อย่าง Microsoft และ Google ได้พยากรณ์รูปแบบการศึกษาที่จะเปลี่ยนไปในปี ค.ศ.2026 ผ่านทางเว็บไซต์ Quora ไว้อย่างน่าสนใจ 
    Salman Khan เล่ามุมมองของเขาผ่าน Quora ว่าอย่างนี้
    "…First, mastery-learning will become much more mainstream. It is an old idea that you  shouldn’t have to learn a more advanced topic until you have proficiency in a more basic one. 
As intuitive as that may seem, when mass public education was introduced about 200 years  ago, it was not practical to allow every student to progress in a personalized way. 
    Instead, students got pushed ahead even when gaps were identified in their learning.  ("Got a 'C' on that basic exponents exam, too bad. We now have to learn negative exponents.") That process caused students to accumulate gaps until it was debilitating in an  upper-level class.
    Now we have the technology to meet every student where they are and provide teachers  with real-time data so that it is practical to do mastery learning in a normal sized classroom…"
     ประเด็นที่เขานำเสนอคือ
    การศึกษาจากอดีตถึงปัจจุบันยังไม่ได้รับการปรับปรุงให้เข้ากับยุคสมัย ยังคงเป็นการบังคับเรียนวิชาจำนวนมากและเกิดระบบคัดเกรดและแบ่งแยกนักศึกษา นักศึกษาที่เรียนไม่ดี (อันเกิดจากความไม่ถนัดโดยธรรมชาติของแต่ละปัจเจกบุคคล) อาจจะเสียโอกาสในการศึกษาระดับต่อไปจวบจนกระทบไปยังเส้นทางอาชีพหลังเรียนจบ 
    เขาบอกว่าตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เทคโนโลยีเริ่มมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนรู้ และพัฒนารูปแบบการศึกษาในอนาคตให้มีความเป็นส่วนตัวหรือ Personalize มากขึ้น
    เขาพยากรณ์ 3 แนวโน้มการศึกษาว่าอย่างนี้
    1.การศึกษาในอนาคตมีแนวโน้มจะยกให้ "ผู้เรียนเป็นตัวตั้ง"
    Salman Khan บอกว่าระบบการศึกษาในระบบปัจจุบันยังยึดตามกฎเมื่อ 200 ปีก่อน คือสถาบันเป็นตัวตั้ง บังคับเรียนวิชาจำนวนมาก ทำให้ผู้เรียนไม่สามารถพัฒนาความถนัดให้ถึงที่สุด เพราะต้องไปเสียเวลากับสิ่งที่ไม่ได้ถนัดจากการบังคับเรียน แต่เพราะเทคโนโลยีก่อเกิดแพลตฟอร์มการศึกษาทางเลือกมากมาย ทำให้คนสามารถมุ่งไปเรียนสิ่งที่อยากเรียน อยากรู้ และอยากเป็นได้ทันทีแล้วเอาให้สุดในจุดที่ยืน 
    เขายกตัวอย่าง ที่กูเกิลประกาศหลักสูตร Google IT Support Professional Certificate ที่ชูจุดเด่นว่าผู้เรียนไม่ต้องมีพื้นฐานใดๆ ก็เรียนได้ ออกใบรับรอง สมัครงานได้เลย
    2.องค์กรเอกชนในภาคธุรกิจจะออกวุฒิบัตรเองได้ อาจใช้แทนใบปริญญาบัตรจากสถาบันการศึกษาแบบดั้งเดิม Salman Khan บอกว่ารูปแบบการศึกษาแบบดั้งเดิมเน้นปริมาณ ได้แก่เรียนเยอะๆ  เรียนหลายๆ แขนง และเน้นจำนวนชั่วโมงเรียนมากๆ 
    มาถึงวันนี้รูปแบบนี้ไม่ทันกับยุคสมัยแล้ว
    นั่นคือเหตุผลที่บริษัทเอกชนหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา (รวมถึงไทย) ต้องให้ผู้สมัครงานทำแบบทดสอบวัดผลของบริษัทอีกครั้งก่อนพิจารณาเข้าทำงาน เพราะวุฒิจากการศึกษาแบบดั้งเดิมไม่ตอบโจทย์นายจ้างในทางปฏิบัติ เพราะมันเป็นเพียงเอกสารประกอบสมัครงานเท่านั้น
    เขาพยากรณ์ว่าในอีก 10 ปี บริษัทเอกชนที่ได้รับการนับถือระดับสากล (อาทิ Google, Microsoft  เป็นต้น) จะกลายเป็นสถาบันการศึกษาเสียเอง โดยออกหลักสูตรและวุฒิบัตร เป็นผู้ผลิตผู้เชี่ยวชาญป้อนบริษัทต่างๆ และไปๆ มาๆ วุฒิบัตรจากบริษัทเอกชนเหล่านั้นจะได้รับการยอมรับจากเอกชนด้วยกันมากกว่าจากสถาบันการศึกษาแบบดั้งเดิม 
    3.ในอนาคตคนจะมีอิสระในการพัฒนาความเชี่ยวชาญและพัฒนาเส้นทางอาชีพของตน
    เขาทำนายว่าผู้สำเร็จจากสถาบันการศึกษาแบบดั้งเดิมมีแนวโน้มตกงานเพิ่มขึ้นและจะเพิ่มขึ้นในในอัตราเร่ง จากนี้ไปวุฒิการศึกษาอย่างเดียวไม่เพียงพอ แต่ประสบการณ์ทำงาน ประวัติผลงาน หรือ  portfolio ในการทำงานจริงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่า
    ด้วยเหตุนี้รูปแบบการศึกษาในอนาคตจะมีความยืดหยุ่นสูง อาจไม่จำเป็นต้องเรียน 4 ปีรวดแล้วค่อยไปหางานทำภายหลัง แต่จะสามารถ Personalize การเรียนและการทำงานคู่กันไป อาทิ เรียนวิชาเฉพาะทางที่สนใจและถนัดผ่านหลักสูตรเข้ม 12 เดือน ได้ใบรับรองไปสมัครทำงานเก็บประสบการณ์ และทยอยเรียนวิชาในระดับต่อๆ ไป การทำเช่นนี้จะทำให้วัยวุฒิ คุณวุติ ประสบการณ์ และประวัติผลงาน หรือเรียกรวมๆ ว่า Career path ของบุคคลเติบโตอย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น
    พรุ่งนี้จะเล่าที่มาที่ไปของคุณ Salman Khan คนนี้ที่มีส่วนสำคัญในการปฏิรูประบบการเรียนการสอนระดับโลก.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"