"อธิบดีสรรพากร"โบ้ยจะเก็บภาษีโรงเรียนเข้าตลาดหุ้นฯหรือไม่เป็น เรื่องใหญ่ต้องถามนโยบายการศึกษาชาติ


เพิ่มเพื่อน    

29พ.ย.61-    นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวถึงการที่โรงเรียนนานาชาติสิงคโปร์ โดยบริษัทเอสไอเอสบี ที่เป็นเจ้าของโรงเรียนนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ว่า การประกอบกิจการโรงเรียนนานาชาติถือเป็นโรงเรียนเอกชนระบบหนึ่ง ซึ่งภาระภาษีจะมีความแตกต่างกันว่าการดำเนินการในรูปของบริษัท หรือ มูลนิธิ และมีเรื่องของการยกเว้นรายได้บางรายการ เป็นเรื่องที่มีรายละเอียด การที่มีโรงเรียนนานาชาติเข้าไปจดทะเบียนและระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ถือเป็นเรื่องใหม่ ที่ทางกรมสรรพากรต้องศึกษารายละเอียดใหม่อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม การศึกษาเรื่องนี้ต้องเป็นนโยบายระดับประเทศ  เพราะที่ผ่านมาให้มีการเว้นการเก็บภาษีจากโรงการเรียนสถานศึกษาต่าง ๆ ซึ่งกรมสรรพากรเป็นเพียงผู้ปฏิบัติ  การจะให้หรือไม่ให้สิทธิภาษีกับโรงเรียนต่อไป เป็นเรื่องของนโยบายการศึกษาของประเทศ กรมสรรพการไม่สามารถตอบได้ ต้องตามฝ่ายนโยบายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    "เครื่องมือทางภาษีเป็นกลไกหนึ่งในการสนับสนุนเรื่องการศึกษา ซึ่งกรมสรรพากรเข้าใจว่าประเทศไทยต้องการสนับสนุนให้คนไทยมีการศึกษาที่ดีในทุกระดับ การให้มีการเปิดโรงเรียนนานาชาติในเมืองไทย ก็ช่วยสนับสนุนการศึกษาไทยให้ดีขึ้น โดยที่รายได้ยังอยู่ในประเทศไม่ต้องออกไปต่างประเทศ ซึ่งเรื่องภาพใหญ่เป็นเรื่องของนโยบาย  ซึ่งเรื่องที่โรงเรียนนานาชาติ เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ ก็เป็นการระดมทุนอย่างหนึ่ง ภาระภาษีเหมาะสมหรือไม่ ก็ต้องกลับไปดูนโยบายภาพใหญ่ ซึ่งกรมสรรพากรไม่สามารถตอบได้" นายเอกนิติ กล่าว
    นายเอกนิติ กล่าวอีกว่า หลักคิดในฐานะที่เคยอยู่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ดูภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ ก็มีหลักคิดว่าหากประเทศต้องการให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางศึกษา การที่โรงเรียนนานาชาติเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ได้เงินมา เพื่อไปจ้างอาจารย์ที่ดีและพัฒนาการศึกษาของไทยก็เป็นเรื่องที่ต้องสนับสนุน เพราะการที่โรงเรียนนานาชาติระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ก็มีกลไกที่ต้องเสียภาษี ทางกรมสรรพากรก็ต้องให้ความเป็นธรรมกับการระดมทุนดังกล่าว
    นายรพี สุจริตกุล  เลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต.กล่าวว่า  ก่อนหน้านี้ได้สอบถามไปยังสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.)ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับของสถาบันการศึกษาของเอกชนแล้ว ได้รับการยืนยันว่าไม่มีข้อห้ามโรงเรียนระดมทุนในตลาดหุ้น และไม่สามารถขัดขวางได้เนื่องจากเป็นช่องทางระดมเงินทุนต้นทุนต่ำกว่าธนาคารพาณิชย์ อาจส่งผลดีต่อการเพิ่มประสิทธิภาพระบบการศึกษา และแม้ในต่างประเทศอาจไม่เห็นสถานศึกษาเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจากมีการจัดการศึกษาแบบไม่คิดค่าใช้จ่าย ซึ่งแตกต่างจากไทย
    ส่วนความกังวลว่าหากสถานศึกษาเข้าตลาดหุ้นจะส่งผลต่อการปรับขึ้นค่าเทอมหรือไม่นั้น เลขาธิการ ก.ล.ต.ระบุว่า เป็นหน้าที่ของหน่วยงานกำกับดูแลที่ต้องดำเนินการพร้อมย้ำว่าหากสถาบันการศึกษาใดจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สามารถทำได้หากหน่วยงานกำกับต้นสังกัดไม่ห้าม และ ก.ล.ต.จะกำกับดูแลเหมือนบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทุกแห่ง
    ด้านนายจุติ ไกรฤกษ์ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่าขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีทบทวนการปล่อยให้สถานศึกษาเข้าตลาดหุ้น เพราะอาจเพิ่มความเหลื่อมล้ำ อีกทั้งยังอาจกลายเป็นช่องทางหลบเลี่ยงภาษี เนื่องจากได้รับการยกเว้นภาษีนิติบุคคล และยกเว้นภาษีเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไรผู้ถือหุ้น
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"