เอาใจพี่วิน บสย.จับมือ ธพว. ผุดโครงการปล่อยกู้-ค้ำประกันซื้อมอเตอร์ไซด์


เพิ่มเพื่อน    

 

10 ม.ค. 2562 - นายรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า บสย. ตั้งเป้าหมายค้ำประกันสินเชื่อในปี 2562 ไว้ที่  1.07  แสนล้านบาท เน้นตั้งรับการทำงานของรัฐบาลยุคดิจิทัล และช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงิน โดยได้ร่วมมือกับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) จัดทำโครงการ “รัก...พี่วิน” เพื่อสนับสนุนสินเชื่อและค้ำประกันสินเชื่อให้วินมอเตอร์ไซด์ ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมขนส่งทางบก, พนักงานส่งเอกสาร, ไลน์แมนส่งอาหาร ให้สามารถกู้ขอสินเชื่อได้รายไม่เกิน 5 หมื่นบาท เพื่อเอาไปซ่อม ปรับปรุงรถ ซื้อหมวกกันน็อก เบื้องต้นได้หารือกับ ธพว.แล้ว โดยถือเป็นโครงการต่อเนื่องจาก โครงการฮัก TAXI เสริมแกร่งแท็กซี่ไทย ที่ช่วยให้คนกลุ่มนี้เข้าถึงสินเชื่อไม่ต้องไปกู้เงินจากลิสซิ่งที่คิดดอกเบี้ยสูง 36%

"ในกรุงเทพฯ มีวินมอเตอร์ไซด์ 6 พันวิน คิดเป็นคนที่มีอาชีพขับวินฯ 1 แสนกว่าราย และในปริมณฑล 4 จังหวัด คาดว่ามีอีก 5 หมื่นราย รวมแล้ว 1.5 แสนราย ที่จะมีโอกาสได้เข้าถึงสินเชื่อ ซึ่ง บสย. พร้อมที่จะค้ำให้กับทุกธนาคารที่จะปล่อยกู้ให้วินมอเตอร์ไซด์" นายรักษ์ กล่าว

นอกจากนี้ ยังมีโครงการเปิดโอกาสให้เอสเอ็มอีกลุ่มที่เป็นหนี้ด้อยคุณภาพ และพวกที่ต้องการฟื้นฟูกิจการ คนเคยล้มมาก่อนซึ่งมีอยู่ราว 1 แสนราย ได้มีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อ รวมถึงกลุ่มลูกค้ารายย่อย  (ไมโครเอสเอ็มอี) กลุ่มลูกค้า S-curve และสตาร์ทอัพ, กลุ่มผู้ประกอบการในโครงการสินเชื่อประชารัฐ เช่น ร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ

นายรักษ์ กล่าวอีกว่า ในส่วนของเป้าหมายการทำงานของ บสย. ปี 2562 คือ ช่วยผู้ประกอบการใหม่เพิ่มขึ้น 8.26 หมื่นราย จากปีที่ผ่านมาช่วยได้กว่า 7.78 หมื่นราย รวมทั้งจะเพิ่มสัดส่วนเรื่องการค้ำประกันตรง เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการได้รับสินเชื่อเพิ่มขึ้นจากหลักประกันเดิมให้ได้ 3 หมื่นล้านบาทในปีนี้ และตั้งเป้าจัดเก็บหนี้ให้ได้ 550 ล้านบาทหรือกว่า 3 พันราย เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ซึ่งเก็บหนี้ได้ 380 ล้านบาท หรือกว่า 2 พันราย รวมทั้งจะยกระดับการทำงานเพิ่มจากทำหน้าที่ค้ำประกันสินเชื่อ จะพยายามเป็นแบงก์กิ้งเอเย่นต์  ช่วยคัดกรองลูกค้ารายที่ต่ำกว่า 15 ล้านบาท เพื่อส่งให้สถาบันการเงินพิจารณา ช่วยลดการปฎิเสธการให้สินเชื่อจากสถาบันการเงินได้อีกทางหนึ่งด้วย

ด้านนายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ เอสเอ็มอีแบงก์ เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดโครงการรัก...พี่วิน โดยเบื้องต้นจะปล่อยกู้เฉลี่ยรายละ 5 หมื่นบาท -1 แสนบาท เพราะปัจจุบันราคามอเตอร์ไซค์บางรุ่นก็มีราคาแพง โดยรูปแบบสินเชื่อจะคล้ายกับโรงการฮัก...TAXI เสริมแกร่งแท็กซี่ไทย ที่แบ่งใช้วงเงินจากโครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน ที่ครม.อนุมัติมา 3 หมื่นล้านบาท คิดดอกเบี้ย 0.42% ต่อเดือน หรือ 2.5% ต่อปี พร้อมกับมีมาตรการยกระดับคุณภาพชีวิต  สนับสนุนผู้ประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่ ได้รับประโยชน์การคุ้มครอง การเข้าถึงสวัสดิการจากภาครัฐ การหารายได้จากแอปพลิเคชันด้วย

นายสุรชัย ดนัยตั้งตระกุล ประธานกรรมการ บสย. เปิดเผยถึง ผลดำเนินงานปี 2561 ว่า มีการอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อรวม 8.88 หมื่นล้านบาท  คิดเป็นวงเงินสินเชื่อที่สถาบันการเงินอนุมัติจากการค้ำประกันสินเชื่อ รวม 1.33 แสนล้านบาท หรือ 1.5 เท่า ของวงเงินค้ำประกันสินเชื่อ สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 4 แสนล้านบาท หรือเทียบเท่า 3% ของอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ (จีดีพี)  โดยมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ได้รับอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อรวม 7.78 หมื่นราย เทียบกับผลดำเนินงานในปี 2560 มีการอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อ  8.66 หมื่นล้านบาท 

สำหรับผลงานที่โดดเด่นของ บสย. ในปี 2561 คือการสร้างความร่วมมือในการค้ำประกันสินเชื่อกับสถาบันการเงินของรัฐ ทำให้กลุ่มสถาบันการเงินของรัฐ ช่วยขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐสร้างการเติบโตให้กับเอสเอ็มอี และมีศักยภาพ ส่งผลให้มียอดค้ำประกันสินเชื่อในกลุ่มสถาบันการเงินของรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 14% หรือเท่ากับ 4.25 หมื่นล้านบาท เทียบกับยอดอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อปี 2560 มีวงเงิน  3.73 หมื่นล้านบาท


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"