ลุยปรับความเข้าใจ'ปลอดทรานส์' ห่วงกินไขมันเพิ่ม


เพิ่มเพื่อน    

เปิดวงเสวนา"จับตาไขมันทรานส์หลังกฎหมายบังคับใช้"

 

      9 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา ประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2561 เรื่องกำหนดอาหารที่ห้ามผลิตนำเข้า หรือจำหน่าย โดยให้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนและอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบ เป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย มีผลบังคับใช้เป็นที่เรียบร้อย เพื่อคุ้มครองสุขภาพคนไทยจากไขมันทรานส์ หรือ Trans Fat ตัวการก่อโรคหัวใจและหลอดเลือด

                อย่างไรก็ตาม นักวิชาการด้านโภชนาการและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแสดงข้อห่วงกังวลเรื่องการรับรู้ของประชาชนที่เข้าใจผิดว่า เมื่อมีกฎหมายห้ามใช้ไขมันทรานส์แล้ว สามารถกินได้มากขึ้น เลือกสั่งอาหารที่มีไขมันมากเท่าไหร่ก็ได้ โดยลืมระมัดระวังพฤติกรรมการบริโภค"ไขมันอิ่มตัว"  ซึ่งพบมากในอาหารทอด เนื้อสัตว์ติดมัน เบเกอรี่   

            การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคไขมันจากการประกาศห้ามใช้ไขมันทรานส์เป็นส่วนประกอบอาหารจึงมีความจำเป็น เหตุนี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และเครือข่ายลดการบริโภคไขมัน เปิดวงเสวนา"จับตาไขมันทรานส์หลังกฎหมายบังคับใช้" เมื่อวันก่อนที่ห้องประชุม 201 อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส.  เพื่อเตือนการกล่าวอ้าง Zero Trans Fat หรือ ปลอดจากไขมันทรานส์ 0% จะทำให้สังคมสับสน  รวมถึงกินไขมันอย่างไรให้พอดี

 

ภญ.สุภัทรา บุญเสริม  ผอ.อย.

                ภญ.สุภัทรา บุญเสริม ผู้อำนวยการสำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  (อย.) กล่าวว่า ก่อนกฎหมายบังคับใช้ อย.ได้เชิญผู้ประกอบการไขมันทุกภาคส่วน ผู้ผลิตน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไอโดรเจนบางส่วน ซึ่งมีบริษัทใหญ่ 3 แห่งในประเทศไทย ผลิตน้ำมันดังกล่าวส่งธุรกิจอาหารต่างๆ ไปใช้ต่อ พร้อมกับเชิญเจ้าหน้าที่ด่านนำเข้าอาหารและยาวางแผนสุ่มตรวจตัวอย่างอาหารและผลิตภัณฑ์ ณ ขณะนำเข้าประเทศไทย ผลิตภัณฑ์เป้าหมาย เช่น เนยเทียม เนยขาว เบเกอรี่บางชนิด  คุกกี้ พาย   ที่เสี่ยงใช้น้ำมันประเภทนี้ แต่ผู้ประกอบการปรับสูตรผลิตภัณฑ์อาหารแล้ว หลังกฎหมายบังคับใช้ หากพบการกระทำผิด  มีโทษหนัก จำคุกตั้งแต่ 6 เดือน - 2 ปี ปรับตั้งแต่ 5,000-20,000 บาท   หากมีผลิตภัณฑ์อาหารที่มีไขมันทรานส์ปนเปื้อนอยู่จำหน่ายในท้องตลาด แม้ผลิตก่อนกฎหมายนี้ สุ่มตรวจพบก็มีโทษเช่นกัน    

                " ไขมันยังเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย และไขมันทรานส์ติดมากับอาหารที่มีไขมันทุกประเภท  แต่ อย.ตระหนักน้ำมันที่ผ่านการเติมไฮไดรเจน หากบริโภคเกิดผลกระทบต่อสุขภาพ และสามารถใช้ผลิตภัณฑ์อื่นทดแทนได้ ทั่วโลกเห็นตรงกันว่า ต้องลด และบริโภคให้เหมาะสม  "  ผอ. อย. กล่าว และว่า ขณะนี้ อย.อยู่ในขั้นตอนปรับฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อให้ผู้บริโภคอ่านข้อมูลบนฉลากอย่างครบถ้วน สามารถใช้วิจารณญาณเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ได้  

            ดร.พิเชฐ อิฐกอ รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กฎหมายประกาศห้ามใช้ไขมันทรานส์ครบวงจร ผู้ประกอบการไทยไม่ฝ่าฝืนแน่นอน แต่กังวลกระบวนการผลิตอาหารในประเทศ แต่ใช้วัตถุดิบน้ำมันจากต่างประเทศ ก็ต้องตรวจสอบ นอกจากนี้ ต้องให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ประกอบการรายย่อยนับหมื่นรายให้เลิกใช้น้ำมันดังกล่าว  กลุ่มนี้รู้กฎหมายน้อยและไม่อยู่ในเครือข่ายสภาอุตสาหกรรม  นอกจากมาตรการทางกฎหมาย สังคมต้องสอดส่องดุแล อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนหลัง 9 มกราคม 2562 ไขมันทรานส์จะหายไป  ซึ่งไม่ใช่ข้อเท็จจริง แม้แต่องค์กรด้านโภชนาการระหว่างประเทศยังถกเถียงจะให้แสดงฉลากไขมันทรานส์เท่าไหร่ จึงจะสื่อว่า  ไขมันทรานส์เป็นศูนย์ 

                ภาวดี ใจเอื้อ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการใช้ประโยชน์ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)  กล่าวว่า หลังกฎหมายบังคับใช้ ทางสำนักจะร่วมสุ่มตรวจไขมันทรานส์ในผลิตภัณฑ์ดูการตอบรับผู้ประกอบการ นอกจากนี้ มีเงินทุนสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทดแทนที่ปราศจากไขมันทรานส์และมีปริมาณกรดไขมันอิ่มตัวต่ำ เช่น มาร์การีนจากน้ำมันรำข้าว  ปาล์มน้ำมันเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร หนุนการปรับตัว

 

  ศ.ดร.วิสิฐ จะวะสิต อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ ม.มหิดล     

        

     ขณะที่ ศ.ดร.วิสิฐ จะวะสิต อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล  เผยว่า เป็นเรื่องน่ากังวลมาก การปักป้าย Zero Trans Fat  เพราะทำให้ผู้บริโภคกินไขมันไม่ยั้ง ทั้งนี้ แม้จะมีการปรับปรุงสูตรการผลิตไขมันแล้ว สิ่งสำคัญต้องระวัง คือ มีปริมาณไขมันอิ่มตัวเพิ่มขึ้นมาเท่าไหร่  และหากบวกกับไขมันทรานส์แล้ว อาหารมีไขมันเท่าไหร่ ทั้งนี้ FAO  แนะนำปริมาณสูงสุดไขมันอิ่มตัวต่อหน่วยบริโภคต้องไม่เกิน 5 กรัมต่อมื้อ และไขมันทรานส์ ไม่เกิน 0.5 กรัมต่อมื้อ  ฝากประชาชนในชีวิตประจำวันกินอาหารให้สมดุล ออกกำลังกาย  หรือถ้ากินของทอด เค้ก เบเกอรี่แล้ว วันต่อไปกินอาหารที่ให้พลังงานต่ำลง กินผักผลไม้

                ในเวทีเดียวกัน ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ  สสส. กล่าวว่า จากการประชุมวิชาการจาก 7 องค์กรเครือข่ายเรื่องไขมันทรานส์ ได้ตกผลึกและมีคำแนะนำให้กับสังคม เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชน แม้ไม่มีไขมันทรานส์จากกระบวนการอุตสาหกรรม แต่ปัญหายังไม่หมด มีไขมันประเภทอื่นๆ  เช่น ไขมันอิ่มตัวที่ประชาชนต้องระวัง    จึงอยากขอให้ลดไขมันจะส่งผลดีต่อสุขภาพ  นอกจากนี้ สสส.จะทำงานร่วมกับอย. และภาคีเครือข่าย ตรวจไขมันทรานส์ในผลิตภัณฑ์ที่ขาย พร้อมกับให้ความรู้ข้อมูลวิชาการอย่างง่าย ทำอินโฟกราฟฟิกส่งความเข้าใจแก่สังคมเพื่อตัดสินใจบริโภคอย่างถูกต้อง  รวมถึงทำวิจัยตอบโจทย์สังคม   

 

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผอ.สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ  สสส.

                ส่วนคำแนะนำที่น่าสนใจ พญ.ประพิมพ์พร ฉัตรานุกูลชัย เครือข่ายลดบริโภคไขมันและอาจารย์ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี กล่าวว่า     การผลักดันห้ามไขมันทรานส์เป็นเรื่องดีต่อสุขภาพ เพราะก่อโรค อีกทั้งกินไขมันมาก ได้พลังงานสูงเกินไป เกิดโรคอ้วน นำสู่โรคต่างๆ ฉะนั้น ควรบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพต่อจาน จำกัดปริมาณ  โดยเฉพาะการกินไขมันอิ่มตัวจากไขมันสัตว์ เช่น หนังไก่ เนย  นม น้ำมันหมู ไส้กรอก หมูยอ กุนเชียง แม้ไม้ใช้ไขมันทรานส์ แต่ยังมีไขมันสูง   แม้ตรวจสุขภาพประจำปี ไขมันไม่เกินค่ามาตรฐาน แต่ 5-10 ปี จะเกิดโรค  อย่าประมาทในการใช้ชีวิต ควรกินอาหารไทยโบราณ อาหารวัตถุดิบจากธรรมชาติ พร้อมกับออกกำลังกายทุกวัน เพื่อให้ดีต่อสุขภาพ

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"