ทำมาตรฐานทดสอบการใช้ภาษาไทยเทียบเท่าระดับสากล


เพิ่มเพื่อน    


 ศธ.กระทรวงแรงงานและจุฬาฯ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ จัดทำมาตรฐานกลางทดสอบสมรรถภาพการใช้ภาษาไทย  มาตรฐานเทียบเท่าสากล   เน้นวัดระดับการสื่อสารนำไปใช้ได้จริง ไม่มีวัดผลสอบผ่าน-ไม่ผ่าน อีกทั้งหวังแก้วิกฤตใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้อง  


กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) กระทรวงแรงงาน(รง.)และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการกำหนดมาตรฐานกลางของประเทศในการทดสอบสมรรถภาพการใช้ภาษาไทยแห่งชาติเพื่อดำเนินการตามกรอบความร่วมมือระดับประเทศเพื่อให้ประเทศไทยมีการทดสอบสมรรถภาพการใช้ภาษาไทยที่เป็นมาตรฐานกลางอย่างเป็นทางการครั้งแรกในประเทศไทย อีกทั้งยังสามารถอ้างอิงได้แบบภาษาอื่นๆทั่วโลก ณ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดร.พีระ รัตนวิจิตร รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะตัวแทนของกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า เดิมการทดสอบภาษาไทย ที่เป็นการทดสอบสำหรับชาวต่างชาติที่เดินทางมาศึกษาในประเทศ ซึ่งเป็นการสอบ นำไปเทียบกับชั้นเรียนนั้นๆ ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่สำหรับความร่วมมือครั้งนี้เพื่อให้การทดสอบภาษาไทย ทั้งในสายอาชีพ ในระบบการศึกษา และสำหรับผู้ที่ใช้ภาษาเป็นภาษาแม่และสำหรับผู้ที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาต่างชาติ ว่ามีความสามารถอยู่ในระดับใด โดยกำหนดให้มาตรฐานการทดสอบสมรรถภาพการใช้ภาษาไทยของศูนย์ทดสอบภาษาไทยแห่งชาติเป็นมาตรฐานกลางของประเทศ  เพื่อประโยชน์ในการศึกษาและในการประกอบวิชาชีพสำหรับชาวไทยและชาวต่างประเทศ  ซึ่งจะเป็นการช่วยลดวิกฤตการใช้ภาษาไทยอย่างไม่ถูกต้องลง   ช่วยยกระดับสมรรถนะของแรงงานที่เหมาะสมในแต่ละอาชีพเพื่อให้  การสื่อสารระหว่างกันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 


 ด้านศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การทดสอบวัดระดับภาษาไทย มีขึ้นเพื่อเป็นการปลูกฝังและตระหนักถึงการใช้ภาษาไทย ในทักษะการฟัง พูด พูดและเขียน ในการประกอบอาชีพ ให้ใกล้เคียงกับ ส่วนมาตรฐานการทดสอบก็ให้เท่าเทียมกับการวัดระดับของภาษาต่างประเทศอื่นๆที่มีการสอบวัดระดับภาษาเช่น การสอบวัดภาษาอังกฤษ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส แต่สำหรับการทดสอบภาษาการใช้ภาษาไทย ว่าอยู่ในระดับใด  จะไม่วัดด้วยการสอบผ่านหรือไม่ผ่าน แต่เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้มากขึ้น เพราะปัจจุบันปัญหาการใช้ภาษาไทยทั้งในเด็กและวัยรุ่น  มีการเขียนผิด และการออกเสียงผิด ซึ่งอาจจะเกิดผลกระทบในระบบการศึกษาในอนาคตได้


 “โดยการทดสอบสมรรถภาพแบ่งได้เป็นสองกลุ่มหลักคือ สำหรับชาวไทย และชาวต่างชาติหรือลูกครึ่ง ซึ่งจะมีการวัดใน  6 ระดับ เช่น ในระดับแรก คือสามารถเข้าใจความหมายของคำเป็นความหมายตรงๆ และระดับต่อมาคือ สามารถอ่านได้และเข้าใจความหมายได้ทันที  ซึ่งในแต่ละระดับก็จะมีความเข้าใจที่เพิ่มขึ้น  เพื่อให้ผู้ที่เข้าทดสอบเกิดความเข้าใจและนำไปใข้ได้การประกอบอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานในไทย ซึ่งจะต้องสื่อสารกับคนไทย” อธิการบดี จุฬาฯกล่าว 


 นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ประเทศไทยโชคดีที่มีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง เป็นเอกลักษ์ที่แสดงออกถึงความเป็นไทย แต่ปัจจุบันคนไทยได้ละเลยการใช้ภาษาไทย หันไปนิยมใช้ภาษาต่างชาติมากขึ้น    การทดสอบดังกล่าวในระดับต่างๆ เหมาะสำหรับชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศในการสื่อสารกับคนไทย ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจในการทำงานร่วมกันมากยิ่งขึ้น  เพราะแต่ละอาชีพต่างมีความสามารถในการใช้ภาษาไทยที่แตกต่างกัน.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"