“ธนารักษ์” ยกเครื่องค่าเช่าที่ราชพัสดุเชิงพาณิชย์ เล็งปรับเพิ่มเป็น 3-4%ตามมูลค่าทรัพย์สิน


เพิ่มเพื่อน    

“ธนารักษ์” ลุยยกเครื่องค่าเช่าที่ราชพัสดุเชิงพาณิชย์ขึ้นอีก 3-4% ช่วยดันผลงานจัดเก็บปีนี้ทะยานแตะ 1 หมื่นล้านบาท ส่วนค่าเช่าที่ราชพัสดุสำหรับที่อยู่อาศัยและภาคเกษตรยังเหมือนเดิม พร้อมเปิดตัวรถเคลื่อนที่รับแลกเหรียญ 14 จังหวัด หวังช่วยลดต้นทุนการผลิตเหรียญ แก้ปัญหาเหรียญไม่พอใช้

นายอำนวย ปรีมนวงศ์ อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า ปีนี้กรมตั้งเป้าหมายจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 1 หมื่นล้านบาท จากปีก่อนที่อยู่ 9 พันล้านบาท เนื่องจากกรมฯ จะมีการพิจารณาปรับขึ้นค่าเช่าที่ราชพัสดุเชิงพาณิชย์ในส่วนของผู้เช่าที่กำลังหมดสัญญาซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 5% ของพื้นที่ทั้งหมด ขึ้นจากเดิมเฉลี่ย1-2% ของราคาที่ดิน เพิ่มเป็น 3-4% ตามมูลค่าทรัพย์สิน ซึ่งจะทำให้กรมฯ มีรายได้ส่วนนี้เพิ่มขึ้นมาไม่ต่ำกว่า 600 ล้านบาท

“การปรับเพิ่มค่าเช่าจะเป็นการปรับฐานการคิดใหม่ จากเดิมที่กรมฯ คิดค่าเช่าจากราคาที่ดิน มาเป็นคิดค่าเช่าตามผลตอบแทนต่อมูลค่าสินทรัพย์ที่อยู่บนที่ดินเข้าไปด้วย แต่ยืนยันว่าในส่วนของประชาชนรายย่อยที่มีการเช่าที่ราชพัสดุ และเพื่อทำการเกษตรซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ที่มาเช่าที่ของกรมธนารักษ์จะไม่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าเช่าแน่นอน” นายอำนวย กล่าว 

นอกจากนี้ กรมธนารักษ์จะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการโครงการพัฒนาที่ราชพัสดุขนาดใหญ่ อาทิ ที่ดินบริเวณสถานีขนส่งหมอชิตเก่า ซึ่งขณะนี้ผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปแล้ว และอยู่ระหว่างออกแบบรายละเอียดโครงการ รวมถึงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งคาดว่าจะสรุปและเริ่มก่อสร้างได้กลางปีหน้า รวมถึงโครงการที่ดินร้อยชักสาม ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านเจริญกรุง มูลค่า 3 พันล้านบาท ที่ได้ทำสัญญาแล้วและจะเสนอให้ที่ประชุม ครม.พิจารณาเดือน ก.พ.นี้ โครงการศูนย์ราชการโซนซีแจ้งวัฒนะมูลค่าลงทุน 3 หมื่นล้านบาท ที่ผ่าน ครม.แล้วเช่นกัน และโครงการพัฒนาพื้นที่ราชพัสดุที่ศูนย์ประชุมสิริกิติ์ที่จะปรับปรุงใหม่อีก 6 พันล้านบาท

ปัจจุบันกรมธนารักษ์มีที่ราชพัสดุทั้งสิ้น 12 ล้านไร่ ส่วนใหญ่เป็นที่สำหรับใช้ในหน่วยงานราชการ ส่วนที่เปิดให้เช่าจริงมีจำนวน 4 แสนไร่ ในจำนวนนี้เป็นการเช่าเพื่อเกษตรกรรมและที่อยู่อาศัยประมาณ 80% ซึ่งยืนยันว่าจะไม่มีการปรับขึ้นค่าเช่าอย่างแน่นอน ส่วนที่เหลืออีก 20% เป็นที่เช่าเพื่อการพาณิชย์ มีอยู่ประมาณ 5 หมื่นสัญญาทั่วประเทศ 

อย่างไรก็ดี ในวันนี้ (14 ม.ค. 62) กรมธนารักษ์ได้เปิดโครงการการให้บริการรับแลกคืนเหรียญกษาปณ์เคลื่อนที่ เพื่ออำนวยความสะดวก และกระตุ้นให้ประชาชนที่เก็บเหรียญไว้หรืออยู่ตามที่ต่าง ๆ นำออกมาแลกคืนได้ฟรี เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนในระบบเพิ่มขึ้น และลดต้นทุนการผลิตของกรมฯ เนื่องจากที่ผ่านมากรมฯ ผลิตเหรียญได้ปีละ 1.7 พันล้านเหรียญ แต่สามารถรับแลกคืนกลับมาได้เพียงปีละ 1-1.3 พันเหรียญเท่านั้น ทำให้มีส่วนต่างการผลิตมากถึง 400-700 เหรียญต่อปี แต่หากมีรถรับแลกเหรียญมาแล้วจะช่วยลดการผลิตเหรียญได้อย่างน้อย 60 ล้านเหรียญ และลดต้นทุนการผลิตได้มากกว่า 86 ล้านบาท

“รถรับแลกเหรียญจะออกให้บริการในจังหวัดปริมณฑลและจังหวัดใกล้เคียงที่ไม่มีศูนย์บริหารจัดการเหรียญกษาปณ์รวม 14 จังหวัด ซึ่งในการออกให้บริการครั้งแรกจะให้บริการในพื้นที่ปทุมธานีและพระนครศรีอยุธยา ระหว่างเดือนม.ค.-ก.พ.2562 จากนั้นจะขยายพื้นที่ให้บริการไปจังหวัดปริมณฑลและจังหวัดใกล้เคียง 12 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี สมุทรสาคร สมุทรปราการ สมุทรสงคราม นครปฐม อ่างทอง สิงห์บุรี สุพรรณบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก และสระบุรี โดยตั้งเป้าหมายการรับแลกคืนเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนทุกชนิดราคา เดือนละ 5 ล้านเหรียญ” นายอำนวย กล่าว

สำหรับภาพรวมการใช้เหรียญกษาปณ์ในเมืองไทย ยังมีความต้องการใช้สูงอยู่ โดยมีเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนทุกชนิดราคาในระบบเศรษฐกิจกว่า 3.2 หมื่นล้านเหรียญ ประมาณ 5 หมื่นล้านบาท โดยเฉพาะในส่วนภูมิภาคที่ยังต้องการใช้จำนวนมากแม้เข้าสู่ยุคสังคมไร้งดสดก็ตาม เนื่องจากหลายบริการยังต้องใช้บบริการหยอดเหรียญ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่ม ซักผ้า หรือการเติมเงิน รวมถึงการซื้อสินค้าตามร้านโชห่วย ร้านสะดวกซื้อ  การเดินทางก็ยังใช้เหรียญกันมาก


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"