ปริศนาว่าด้วยหัวเว่ย และซีอีโอ 'เริ่นเจิ้งเฟย'


เพิ่มเพื่อน    

    บริษัท หัวเว่ยของจีน (Huawei Technologies Co Ltd) เป็นข่าวคราวร้อนแรงทุกวันนี้ เพราะเป็นบริษัทโทรคมนาคมที่พัฒนาตัวเองอย่างก้าวกระโดด จนกลายเป็นยักษ์ใหญ่ในวงการระหว่างประเทศในเวลาอันรวดเร็ว
    ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของหัวเว่ยกลายเป็นข่าวในช่วงนี้ เพราะเขามีบทบาทสำคัญทั้งในฐานะผู้บริหารสูงสุด และข้อสงสัยว่าเขาทำงานรับใช้รัฐบาลจีนมากน้อยเพียงใด
    เขาชื่อ “เริ่นเจิ้งเฟย” (???) อายุ 75 ปี เป็นผู้ก่อตั้งและผู้บริหารสูงสุดของหัวเว่ย
    เขาเคยเป็นทหารในกองทัพประชาชนของจีน ก่อนที่จะมาตั้งหัวเว่ยเมื่อปี 1987 ด้วยเงินทุนเริ่มต้นเพียง 21,000 หยวน หรือแค่ 100,000 กว่าบาทเท่านั้น
    การเติบใหญ่ของหัวเว่ยจากบริษัทขายอุปกรณ์ระบบโทรศัพท์พื้นฐาน โดยมีสำนักงานอยู่ที่เมืองเซินเจิ้นทางใต้ของจีนที่ซื้อจากฮ่องกงถึงมาเป็นธุรกิจโทรคมนาคมยักษ์ในเพียงประมาณ 30 ปี ย่อมทำให้เกิดคำถามว่าเอาเงินทุนมาจากไหน
    เป็นไปได้หรือที่หัวเว่ย ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหุ้นด้วยซ้ำ ไปๆ มาๆ จะสามารถระดมทุนมาพัฒนาธุรกิจจนใหญ่โตมโหฬาร โดยไม่มีแรงหนุนทั้งทางตรงและทางอ้อมจากรัฐบาลจีนหรือพรรคคอมมิวนิสต์จีน
    จากเงินทุนเพียง 100,000 กว่าบาท มาเป็นบริษัทที่มีรายได้เมื่อ 2 ปีก่อนเกือบ 3 ล้านล้านบาท ย่อมต้องมีคำอธิบายว่าการเติบใหญ่อย่างมหัศจรรย์ของหัวเว่ยมีเรื่องราวที่ซ่อนเร้นอยู่อย่างไรบ้าง
    ที่แน่ๆ คือหัวเว่ยสามารถพัฒนาระบบ 5G ที่ทันสมัยระดับโลก จนอเมริกา, ยุโรป, ญี่ปุ่น, ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซื้อไปใช้จนเกิดความสงสัยคลางแคลงว่ารัฐบาลจีนอาจใช้หัวเว่ยมาขโมยความลับทางราชการผ่านเทคโนโลยียุคใหม่นี้หรือไม่
    ถึงขั้นที่โดนัลด์ ทรัมป์ เตรียมออกคำสั่งห้ามหน่วยงานของรัฐในอเมริกาใช้อุปกรณ์และบริการของหัวเว่ย เพราะอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ
    ออสเตรเลียและญี่ปุ่นก็ทำท่าว่ากำลังจะเดินตามแนวทางของอเมริกาในเรื่องนี้เช่นกัน
    กรณีที่สหรัฐขอให้แคนาดาจับตัว “เมิ่งหวั่นโจว” ซึ่งเป็นทั้งผู้บริหารสูงสุดของหัวเว่ยด้านการเงิน และเป็นลูกสาวของซีอีโอด้วย จึงกลายเป็นประเด็นร้อนแรง เพราะจีนถือว่าอเมริกาตบหน้าจีน ทั้งๆ ที่ไม่มีหลักฐานอะไรที่จะพิสูจน์ว่าหัวเว่ยได้ทำอะไรผิด
    วอชิงตันอ้างว่าที่สั่งจับเมิ่งหวั่นโจว เพราะเธอแอบไปเปิดบริษัทลูกเพื่อทำธุรกิจกับอิหร่านอันเป็นการละเมิดเงื่อนไขของสหรัฐ
    จีนและหัวเว่ยโต้ว่าข้อกล่าวหาของอเมริกาไม่มีมูล
    แต่ผู้คนสงสัยว่าสาเหตุที่แท้จริงของอเมริกาน่าจะเป็นการสกัดจีนไม่ให้แซงหน้าอเมริกาในเรื่องระบบเทคโนโลยีมากไปกว่านี้
    เพราะเอาเข้าจริงๆ “สงครามการค้า” ระหว่างจีนกับอเมริกาอาจจะร้ายแรงน้อยกว่า “สงครามไอที” ที่มหาอำนาจต่างคนต่างไม่ยอมเป็นเบอร์ 2 แน่นอน
    เริ่นเจิ้งเฟย ซึ่งปกติไม่ค่อยจะปรากฏตัวในที่สาธารณะ และไม่ยอมพูดกับสื่อเท่าไหร่ ต้องออกมาพูดเป็นครั้งแรกในหลายปีเมื่อสัปดาห์ก่อน เพื่อที่จะยืนยันว่าหัวเว่ยไม่ได้เป็นเครื่องมือของรัฐบาลจีนในการทำธุรกิจ
    การออกมาพูดในที่สาธารณะของผู้ก่อตั้งหัวเว่ยสร้างความตื่นเต้นให้กับวงการไม่น้อยทีเดียว เพราะเขาประกาศว่า
    “ผมรักประเทศของผม ผมสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์จีน แต่ผมจะไม่ทำอะไรที่จะสร้างความเสียหายให้กับโลก”
    อีกทั้งยังเสริมว่า “ผมมองไม่เห็นความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อทางการเมืองของผมกับธุรกิจของหัวเว่ย” นั่นแปลว่าเขากำลังบอกว่า แม้เขาจะสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์จีน (เขายอมรับว่าเป็นสมาชิกพรรคด้วย) แต่เขาก็ไม่ได้ใช้บริษัทเป็นเครื่องมือทางการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์จีนแต่อย่างไร
    ใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็คงจะเป็นประเด็นหนึ่ง แต่ที่สำคัญก็คือ ซีอีโอของหัวเว่ยกำลังจะส่งสัญญาณว่าเขาต้องการให้อเมริกาปฏิบัติต่อหัวเว่ยในฐานะเป็นธุรกิจ ไม่ใช่เครื่องมือทางการเมืองเหมือนกับที่จีนถือว่าบริษัท เช่น Apple และ Microsoft เป็นธุรกิจที่ไม่ได้ถูกรัฐบาลสหรัฐใช้เป็นเครื่องมือทางความมั่นคง
    ตามข้อมูลทางการเมื่อหลายปีก่อน เริ่นเจิ้งเฟยถือหุ้นหัวเว่ย 1.42% (ตีค่าเป็นเงินประมาณ 450 ล้านเหรียญฯ หรือ 14,400 ล้านบาท) แต่หุ้นส่วนใหญ่ถือโดยพนักงาน
    ที่เป็นปริศนาสำหรับนักวิเคราะห์ทั้งหลายก็คือโครงสร้างการถือหุ้นจริงๆ ของหัวเว่ยเป็นเช่นไร และพรรคคอมมิวนิสต์กับรัฐบาลจีนถืออำนาจในการบริหารทางอ้อมอย่างไรบ้าง
    เมื่อปี 2005 นิตยสารไทม์ให้ความสำคัญกับเริ่นเจิ่งเฟยเป็นครั้งแรกด้วยการเลือกให้เขาเป็น “1 ใน 100 คนที่ทรงอิทธิพลที่สุดของโลก” ในปีนั้น
    เขาจึงไม่ธรรมดาด้วยประการฉะนี้.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"