'บิ๊กตู่' เข้าสู่โหมด 'เซฟตี้โซน'


เพิ่มเพื่อน    

      มีบางอย่างแสดงให้เห็นว่า บิ๊กตู่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ระมัดระวังตัวมากขึ้น ภายหลังพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เทียบเชิญให้เป็น เบอร์ 1ในบัญชีรายชื่อนายกฯ ที่พรรค พปชร.จะเสนอ

   เสมือนเป็นการเตรียมพร้อมทันทีที่ บิ๊กตู่ตกปากรับคำ พปชร.ในฐานะ ตัวชูโรงของพรรคในศึกเลือกตั้งหนนี้ ที่เริ่มทวีอุณหภูมิความดุเดือด

  ให้หลังวันที่ 1 ก.พ. หลัง 4 อดีตรัฐมนตรี แกนนำพรรค พปชร. เดินลงจากตึกไทยคู่ฟ้า รายการศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ในวันดังกล่าวปราศจากการพูดถึงเรื่องการเมือง หรือชี้แจงประเด็นร้อนเหมือนที่ผ่านๆ มา มีแต่เรื่องผลงานของรัฐบาล

   ถัดมาวันอังคารที่ 5 ก.พ. พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์แถลงลาออกจากตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองและโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยระบุเหตุผลว่า เพื่อความเหมาะสม และต้องการทำงานการเมืองเต็มเวลา

การลาออกของพุทธิพงษ์ทำให้ปัจจุบัน รัฐบาลบิ๊กตู่ปราศจากผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ไปสังกัดพรรค หลังก่อนหน้านี้ 4 รัฐมนตรี ประกอบด้วย นายอุตตม สาวนายน อดีต รมว.อุตสาหกรรม, นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ อดีต รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ อดีต รมว.พาณิชย์ และนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล อดีต รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประกาศไขก๊อกไปก่อน

สำหรับตำแหน่งของพุทธิพงษ์เมื่อเทียบกับ 4 รัฐมนตรี ถือว่าไม่ได้ตกเป็นเป้าเท่าไร แต่การชิงลาออกตามไปในสัปดาห์ถัดมา อาจเป็นการแยกออกจากกันให้ชัดระหว่าง รัฐบาลและ พปชร.

สิ่งที่จะป้องกันตัวเองได้ระดับหนึ่งหลังจากนี้คือ ในรัฐบาลไม่มีคนของพรรค พปชร.เหลือแม้แต่คนเดียว ขณะที่ บิ๊กตู่และ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์เป็นเพียงคนที่ถูกเทียบเชิญให้ไปเป็นนายกฯ เท่านั้น

   การไม่มีบุคคลในรัฐบาลที่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง ยังทำให้การลงพื้นที่ของบิ๊กตู่ดูปลอดภัยมากขึ้นจากการจับผิดของฝั่งตรงข้าม ไม่ให้ถูกตีความว่าเป็นการหาเสียงทางอ้อมให้ พปชร.โดยเฉพาะเมื่อคณะทั้งหมดไม่มี ฝ่ายการเมืองเลย โดยเฉพาะเงาตามตัวอย่าง พุทธิพงษ์ในฐานะอดีตโฆษกประจำสำนักนายกฯ

ขณะที่การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 5 ก.พ.ที่ผ่านมา ก็ได้เห็นชอบแนวทางปฏิบัติของข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่และลูกจ้างในสังกัดของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นๆ ของรัฐ จำนวน 6 ข้อ โดยเฉพาะเรื่องการวางตัว เป็นกลาง ทางการเมือง ซึ่งเป็นมาตรการที่เคาะกันระหว่าง รัฐบาลและ กกต.

  เนื้อหาอาจเป็นคล้ายกับของเดิม แต่การเห็นชอบในเรื่องดังกล่าวก็เพื่อเป็นการย้ำเตือนให้ทุกคนระมัดระวังตัวมากขึ้นต่อจากนี้ นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า ทีมกฎหมายของนายกฯ เช็กกับ กกต.แทบทุกเรื่องว่า ทำอะไรได้หรือไม่ได้

  เพราะบิ๊กตู่รู้ว่า ทันทีที่ตอบรับ ทุกย่างก้าวจะถูกจับจ้องจับผิดติดตาม เพื่อดิสเครดิตหนักขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา

  แม้แต่การโพสต์เฟซบุ๊กก็ลดโทนเรื่องการเมืองลงไป พูดแต่เรื่องการแก้ไขปัญหาซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาล เช่นเดียวกับการลงพื้นที่ต่างจังหวัดล่าสุดที่ยโสธรและมุกดาหาร แม้แต่สองข้างทางที่เดินทางไปก็ไร้ป้ายหาเสียงของพรรค พปชร. ปรากฏแต่พรรคอื่น

  คำพูดระหว่างการลงพื้นที่ก็พยายามหลีกเลี่ยงทุกอย่างที่จะถูกนำไปเชื่อมโยงกับ พปชร.เพราะนี่คือกฎเหล็กสำคัญที่ วิษณุ เครืองามรองนายกรัฐมนตรี เคยระบุเอาไว้ว่า ไม่สามารถหาเสียงให้พรรคที่เสนอชื่อตัวเองได้

จากนี้ บิ๊กตู่พูดได้เพียงขอบเขตงานของรัฐบาล ขณะที่ พปชร.ก็ทำหน้าที่เชียร์ หาเสียงให้ โดยแยกออกจากกันชัดเจน เพียงการขับเคลื่อนของทั้งคู่ มีผลและเกื้อหนุนต่อกัน.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"