พาณิชย์สุ่มตรวจนอมินีพบแค่ 2 ราย


เพิ่มเพื่อน    

12 ก.พ. 2562 นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า ในปี 2561 กรมได้ตรวจสอบคนต่างด้าวที่มีพฤติกรรมให้คนไทยทำธุรกรรมอำพรางแทน (นอมินี) เพื่อหลีกเลี่ยงการประกอบธุรกิจตามพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ตามแผนงานประจำปี ซึ่งจากการตรวจสอบนิติบุคคลไทยที่มีคนต่างด้าวถือหุ้นไม่เกิน 50% จำนวน 6,382 ราย ในกลุ่ม 3 ธุรกิจ ได้แก่ ธุรกิจท่องเที่ยวและเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว ธุรกิจค้าที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร พบพฤติกรรมน่าสงสัยเข้าข่ายลักษณะนอมินีเพียง 2 ราย และพบนิติบุคคลไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียก โดยไม่ชี้แจงข้อเท็จจริงและไม่ส่งเอกสารหลักฐานในตรวจสารอีก 128 ราย รวมเป็น 130 ราย

ทั้งนี้ ในส่วนของ 2 ราย ที่ตรวจสอบพบพฤติกรรมน่าสงสัยเข้าข่ายในลักษณะให้ความช่วยเหลือ หรือสนับสนุนหรือร่วมประกอบธุรกิจกับคนต่างด้าว หรือถือหุ้นแทนคนต่างด้าว ซึ่งอาจเข้าข่ายมีความผิดตามมาตรา 36 และมาตรา 37 ตามพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542  เป็นธุรกิจร้านอาหารและธุรกิจให้เช่ายานพาหนะ โดยได้พิจารณาส่งข้อมูลให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ดำเนินการสืบสวนสอบสวนแล้ว

ขณะที่อีก 128 ราย ซึ่งเป็นนิติบุคคลฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียก ไม่ชี้แจงข้อเท็จจริง แลไม่ส่งเอกสารหลักฐานให้ตรวจสอบ โดยได้ดำเนินคดีความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งสารวัตรบัญชี และหมายเหตุในหนังสือรับรองว่าเป็นนิติบุคคลไม่จัดส่งบัญชีและหรือไม่ชี้แจงการจัดทำบัญชี รอบปีบัญชี 2559 หรือ 2560 พร้อมทั้งแจ้งข้อมูลให้กรมสรรพากรต่อไป

“การตรวจสอบนอนิมีในกลุ่มเป้าหมาย 6,380 ราย ส่วนใหญ่หรือสัดส่วน 97.96% ไม่พบพฤติกรรมน่าสงสัย มีการทำธุรกิจอย่างถูกต้อง มีเพียง 2 ราย หรือสัดส่วน 0.03% เท่านั้นที่พบเข้าข่ายว่าอาจเป็นนอมินี ส่วนอีก 128 ราย ที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกมีสัดส่วนเพียงแค่ 2% เท่านั้น ซึ่งกรมจะดำเนินการตรวจสอบกลุ่มธุรกิจที่มีความสุ่มเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดนอมินี” นายวุฒิไกร กล่าว

สำหรับการตรวจสอบนอมินนีเฉพาะกิจตามนโยบายาย ซึ่งเป็นการตรวจสอบธุรกิจที่เกี่ยวชข้องกับพืชผลทางการเกษตร ได้แก่ ธุรกิจที่ประกอบกิจการโรงคัดแยก บรรจุ พืชผัก ผลไม้ โดยเป็นการตรวจสอบในลักษณะบูรณาการร่วมกับสำนำงานพาณิชย์จังหวัดในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ระยอง และชุมพร รวมทั้งสิ้น  26 ราย ผลการตรวจสอบไม่พบการกระทำผิดตามพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542

นายวุฒิไกร กล่าวว่า แนวโน้มที่คนต่างด้าวจะมาขออนุญาตประกอบธุรกิจในปี 2562 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปี 2561 ที่มีจำนวน 272 ราย แม้ว่าธุรกิจบริการบางประเภทจะถูกถอดออกจากบัญชีแนบท้าย 3 ของพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวพ.ศ. 2542  เช่น ธุรกิจสถาบันการเงิน ธุรกิจบริการเป็นสำนักงานผู้แทน/สำนักงานภูมิภาค เป็นต้น แต่เชื่อว่าปัจจัยที่จะช่วยกระตุ้นให้ต่างชาติตัดสินใจเข้ามาลงทุน มาจากนโยบายสำคัญของรัฐบาลในการส่งเสริมลงทุน โดยเฉพาะธุรกิจบริการที่มีความเกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย (เอสเคิร์ฟ) มากขึ้น ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล และตามแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ในการสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ     


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"