สายด่วน "บัตรทอง"1330 ทำล่ามแปลภาษามือ เพื่อผู้พิการทางการได้ยิน


เพิ่มเพื่อน    


สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ร่วมมือกับศูนย์บริการถ่ายทอดการสื่อสารแห่งประเทศไทย (TTRS) วางระบบให้บริการผู้พิการทางการได้ยิน ด้วยการอำนวยความสะดวกให้สามารถเข้าถึงสายด่วน สปสช. 1330 สำหรับติดต่อสอบถาม ร้องเรียน ร้องทุกข์การใช้สิทธิบัตรทอง ผ่านล่ามแปลภาษามือ ซึ่งได้เริ่มต้นให้บริการไปเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2561

นายไพโรจน์ เจริญวิไลศิริ กรรมการและปฏิคมสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ผ่านล่ามภาษามือว่า ที่ผ่านมาผู้พิการทางการได้ยินจะไม่มีหลักประกันด้านสุขภาพ บริษัทประกันเอกชนก็จะไม่รับลูกค้าที่มีความพิการทางการได้ยิน ส่งผลให้เวลาเจ็บป่วยก็ต้องเสียค่ารักษาพยาบาลที่แพง และยังประสบกับอุปสรรคหลากหลายประการในการเข้ารับบริการ จนกระทั่งเกิดสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ขึ้น และนำมาสู่บัตร ท.74 หรือสิทธิหลักประกันสุขภาพสำหรับคนพิการ ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์กับผู้พิการมาก เพราะผู้พิการทางการได้ยินก็ยังเข้าไม่ถึงข้อมูล ไม่ทราบสิทธิของตัวเอง และไม่รู้ว่าการใช้สิทธิต้องทำอย่างไรบ้าง ดังนั้นส่วนตัวคิดว่าการดำเนินโครงการของ สปสช.ที่ร่วมกับ TTRS เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่ก็ต้องดูต่อไปว่าจะได้ผลมากน้อยเพียงใด เพราะผู้พิการทางการได้ยินมีความแตกต่างและค่อนข้างมีข้อจำกัดมาก แต่คิดว่าถ้าโครงการนี้สามารถทำให้ผู้พิการทางการได้ยินเข้าถึงล่ามทางไกลได้อย่างรวดเร็วจริงๆ ก็เชื่อว่าจะเป็นสิ่งที่ดีมากๆ
“ผมคิดว่าโครงการนี้จะทำให้คนหูหนวกรู้สิทธิของตัวเองมากขึ้น สิ่งสำคัญของคนพิการคือต้องการที่จะมีสิทธิเหมือนกับคนทั่วไป ดังนั้นการเข้าถึงข้อมูลจึงนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี” นายไพโรจน์ กล่าว
นายไพโรจน์ กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมาผู้พิการทางการได้ยิน คือไม่มีความเข้าใจเรื่องสิทธิที่มีความแตกต่างกันและมีการปรับเปลี่ยนมาโดยตลอด จากบัตรทอง บัตร ท.74 ไปจนถึงการแสดงบัตรประชาชนใบเดียว ดังนั้นเมื่อไปถึงโรงพยาบาลก็จะทำตัวไม่ถูก และเจ้าหน้าที่ที่โรงพยาบาลก็ไม่ได้มีความเข้าใจในเรื่องสิทธิของผู้พิการเช่นกัน

นายไพโรจน์ กล่าวถึงอุปสรรคในการรับบริการของผู้พิการทางการได้ยินว่า 1. ผู้พิการทางการได้ยินไม่สามารถสื่อสารได้ด้วยตัวเอง 2. ถ้ามีการประกาศเรียกชื่อผู้ป่วย ผู้พิการฯ ก็จะไม่ได้ยิน ส่งผลให้คิวตกหล่นไป ซึ่งมีกรณีที่ไปรอรักษาตั้งแต่เช้า แต่ต้องนั่งรอจนถึงโรงพยาบาลปิดก็ไม่ได้รับการรักษา เพราะชื่อถูกข้ามไปแล้ว 3. หากผู้พิการฯ เจ็บป่วยมาด้วยอาการที่หนักก็ไม่สามารถเข้ารับบริการได้ด้วยความเร่งด่วน ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ อยากเสนอให้โรงพยาบาลมีการแยกการบริการสำหรับผู้พิการออกมาสักมุมหนึ่ง 4. ผู้พิการฯ จำนวนหนึ่งมีปัญหาเรื่องการแพ้ยา หรือยาที่ได้รับไปนั้นคาดเคลื่อนไปจากอาการเจ็บป่วย เนื่องจากปัญหาการสื่อสาร

“เราพยายามผลักดันให้โรงพยาบาลมีตู้ TTRS สำหรับคนพิการ ซึ่งปัจจุบันก็ทำสำเร็จแล้วในบางแห่ง ต่อมาเราได้ผลักดันให้ทางโรงพยาบาลส่งคุณพยาบาลไปอบรมภาษามือเบื้องต้นเพื่อสื่อสารคำง่ายๆ เช่น ตา ปาก และเราพยายามทำคู่มือให้ภาษามือให้กับหน่วยงานต่างๆ ซึ่งทั้งหมดก็ช่วยแก้ไขปัญหาได้ระดับหนึ่ง แต่ถ้าให้ดีก็ควรมีล่ามภาษามือไปด้วยทุกครั้ง แต่ปัญหาคือล่ามก็มีไม่เพียงพอ” นายไพโรจน์ กล่าว

นายไพโรจน์ กล่าวด้วยว่า อีกหนึ่งประเด็นคือสิทธิประโยชน์ของคนหูตึง ที่ผ่านมา สปสช.ให้สิทธิประโยชน์สำหรับอุปกรณ์ช่วยฟังที่มีราคาแพงมาก ซึ่งช่วยให้คนเหล่านั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่ถ้าจะให้ครอบคลุมกว่านี้ควรเพิ่มสิทธิเกี่ยวกับแบตเตอรี่ที่มีราคาแพงด้วย เนื่องจากผู้พิการฯ หลายรายมีฐานะค่อนข้างยากจน ไม่สามารถซื้อแบตเตอรี่ในราคา 700-800 บาท มาเปลี่ยนได้ ส่งผลให้เมื่อแบตหมดก็ไม่ได้ใช้เครื่องช่วยฟังต่อ ซึ่งขณะนี้ทางสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย กำลังผลักดันอยู่


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"