“เรือนจำสุขภาวะ”   เสริมพลังยกระดับชีวิต


เพิ่มเพื่อน    

 

สภาพเรือนจำในประเทศไทยส่วนมากที่พบคือมีสภาพแออัด สุขอนามัยและรักษาพยาบาลไม่ดี อาหารแย่และน้ำดื่มไม่สะอาด นำมาซึ่งปัญหาสุขภาวะและละเมิดสิทธิต่างๆ ขั้นพื้นฐานของมนุษย์ นับเป็นอุปสรรคที่ยากต่อการบำบัดฟื้นฟูให้พวกเขากลับคืนสังคมได้อย่างบริบูรณ์ จึงเกิดแนวคิด “เรือนจำสุขภาวะขึ้น” เพื่อออกมาแก้ปัญหาข้างต้น

 

เมื่อเร็วๆ นี้ ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น นางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวในงานประชุมวิชาการเชิงนโยบายเรื่อง “การเดินทางของเรือนจำสุขภาวะ” ว่า สสส.ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนให้เกิด “เรือนจำสุขภาวะ” ในสังคมไทย ได้สนับสนุนให้มีการวิจัยเชิงนโยบายและการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมต่อเนื่องหลายโครงการตั้งแต่ปี 2555

 

อาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคม แนวคิดเรือนจำสุขภาวะมาจากการหลอมรวมความรู้ที่ได้จากการวิจัยเชิงนโยบายและการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นคือนวัตกรรมที่ก่อให้เกิด “ความรู้ที่มาจากการปฏิบัติ” ผลการดำเนินงานตลอด 7 ปี แสดงให้เห็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนเรือนจำให้เป็นพื้นที่ซึ่งผู้ต้องขังสามารถมีประสบการณ์ในทางบวก ทั้งในส่วนของการดูแลสภาวะแวดล้อมและดูแลตนเองให้มีสุขภาพดีทั้งกายและใจ การอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย และเรียนรู้การอยู่ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์เกิดเป็นนวัตกรรมแนวคิดการพัฒนาเรือนจำสุขภาวะ

 

ภายใต้องค์ประกอบ 7 ด้าน ได้แก่ ข้อ 1 เพิ่มความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ต้องขัง ข้อ 2 ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคที่พบบ่อยในเรือนจำ ข้อ 3 เพิ่มโอกาสการเข้าถึงการบริการสุขภาพ ข้อ 4 ผู้ต้องขังมีพลังชีวิตคิดบวกและมีกำลังใจ ข้อ 5 ดำรงชีวิตอยู่ในความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรและเอื้ออาทร ข้อ 6 สามารถธำรงบทบาทของการเป็นแม่ เป็นลูก หรือเป็นสมาชิกในครอบครัว และข้อ 7 มีโอกาสสร้างที่ยืนในสังคม

 

“หลักการสำคัญของเรือนจำสุขภาวะคือ กระบวนการฟื้นฟูผู้ต้องขัง ควรบูรณาการเข้าไปในวิถีการดำรงชีวิตตลอดทั้ง 24 ชั่วโมงในเรือนจำ โดยสร้าง “สภาวะปกติ” ให้กับเรือนจำ หมายความว่าสภาวะแวดล้อมทั้งทางกายภาพ วิถีการดำรงชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ต้องขัง ความสัมพันธ์กับโลกภายนอก โดยให้ความสำคัญกับการทำให้ชีวิตในเรือนจำแตกต่างจากชีวิตในสังคมทั่วไปให้น้อยที่สุด ทำให้ผู้พ้นโทษไม่จำเป็นต้องเข้าสู่กระบวนการคืนกลับสู่สังคมอีก” นางภรณีกล่าว 

 

 

นางสาวกุลภา วจนสาระ นักวิจัยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า สถานการณ์การเจ็บป่วยของผู้ต้องขังในเรือนจำ 143 แห่งทั่วประเทศ พบว่าในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตราว 1,000 คน จากอาการเจ็บป่วยต่างๆ เช่น วัณโรค เอดส์ และโรคหลอดเลือดหัวใจ สอดคล้องกับจากการดำเนินโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบบริการและส่งเสริมสุขภาพในเรือนจำ เรื่อง การให้บริการสุขภาพผู้ต้องขัง: สถานการณ์ปัญหาและอุปสรรคในเรือนจำพื้นที่ศึกษา 8 แห่ง เพื่อสำรวจสถานะสุขภาพและปัญหาอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ต้องขังอันเนื่องมาจากการใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำ และการศึกษาสถานการณ์ให้บริการสุขภาพผู้ต้องขังในเรือนจำทัณฑสถาน พบว่า ผู้ต้องขังส่วนใหญ่เป็นคนด้อยโอกาส 2 ใน 3 หรือร้อยละ 35 จบการศึกษาภาคบังคับหรือระดับประถม 3 ใน 4 อยู่ในวัยแรงงาน มีอายุเฉลี่ย 35 ปี

 

สำหรับพฤติกรรมสุขภาพพบว่า ผู้ต้องขังส่วนใหญ่ ร้อยละ 58 สูบบุหรี่เป็นประจำ นิยมซื้อกาแฟ นมเปรี้ยว และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกินเป็นประจำ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้กินผัก-ผลไม้ ด้านการออกกำลังกายพบว่า 1 ใน 3 ออกกำลังกายเป็นประจำ 1-2 วันต่อสัปดาห์ ใช้เวลา 10-20 นาทีต่อครั้ง และอีก 1 ใน 3 ไม่ค่อยออกกำลังกาย ด้านปัญหาสุขภาพพบว่า ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ผู้ต้องขังร้อยละ 82 เคยเจ็บป่วยไม่สบายและได้รับยาจากแพทย์หรือสถานพยาบาล ผู้ต้องขัง 3 ใน 4 มีปัญหาปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เนื่องจากสภาพแวดล้อมการอยู่อย่างแออัดในพื้นที่คับแคบ กว่าครึ่งยังเป็นโรคผิวหนัง หิด ผื่นคัน ร้อยละ 44 มีอาการปวดหัวบ่อยๆ เครียด คิดมาก ผู้หญิงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากกว่าผู้ชาย นอกจากนี้ พบภาวะความเจ็บป่วยซึ่งสัมพันธ์กันการใช้ชีวิตในเรือนจำที่เห็นได้ชัด คือ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือผู้ต้องขังป่วยเป็นโรคแขนขาอ่อนแรงค่อนข้างสูง เนื่องจากภาวะทุพโภชนาการ ขาดวิตามิน B1 และโพแทสเซียม

 

ด้าน รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล นายกสมาคมนักวิจัยประชากรและสังคม กล่าวว่า จากการศึกษาเรื่อง “สาธารณสุขมูลฐาน (สมฐ.) พื้นฐานสุขภาวะผู้ต้องขังหญิง” ในเรือนจำทั่วประเทศ พบว่า เรือนจำส่วนใหญ่สามารถปฏิบัติสาธารณสุขมูลฐานได้ค่อนข้างดีทั้ง 13 ด้าน โดยเฉพาะการให้ความรู้เรื่องสุขภาพโภชนาการ สุขาภิบาล การกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูล อย่างไรก็ตาม ควรพัฒนาระบบสาธารณสุขมูลฐาน เพราะฐานคิดของ สมฐ. คือการปฏิรูประบบสุขภาพเพื่อสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมในระดับ การพัฒนาระบบ สมฐ.ในเรือนจำซึ่งเป็นชุมชนปิด จึงเป็นทั้งจุดเริ่มต้นและแนวคิดพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการขับเคลื่อนไปสู่สุขภาวะของผู้ต้องขัง ที่เหมาะสมกับการทำงานเชิงชุมชนแบบองค์รวม เน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย โดยเฉพาะการประสานงานข้ามหน่วยงาน การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และการส่งเสริมสุขภาพดีไม่ใช่ซ่อมสุขภาพ ซึ่งทั้งหมดเป็นรากฐานสำคัญของการขับเคลื่อนสู่เรือนจำสุขภาวะ ที่ต้องผลักดันให้เกิดนโยบายและมาตรการในระดับต่างๆ ที่ปฏิบัติให้เป็นจริงได้ ทั้งโภชนาการ การเข้าถึงบริการรักษาพยาบาลของผู้ต้องขัง

 

เชื่อว่า “เรือนจำสุขภาวะ” จะเป็นรากฐานการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังอย่างยั่งยืน และยังเป็นปัจจัยสำคัญบำบัดฟื้นฟูก่อนส่งคนดีคืนสู่สังคม.  

 

ขานรับมติสมัชชาสุขภาพ มุ่งแก้ปัญหาโรค NCDs

ที่ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ ในการแถลงข่าวมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 11 พ.ศ.2561 ภายใต้แนวคิดหลัก “รู้เท่าทันสุขภาพ ร่วมสร้างสังคมสุขภาวะ" ที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติมีฉันทามติส่งเสริมให้คนไทยมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อ NCDs ซึ่งมตินี้ได้ผ่านกระบวนการพัฒนาวาระด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน เน้นการพัฒนาระบบจัดการและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสุขภาพ ส่งเสริมการประกอบกิจการที่รับผิดชอบต่อสังคม พัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพ ขับเคลื่อนนโยบายเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพผ่านกลไกและกองทุนระดับพื้นที่ รวมทั้งสนับสนุนการวิจัยระบบสุขภาพเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อในทุกระดับ

 

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า การส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อ เป็นประเด็นเร่งด่วนของสังคมไทย เนื่องจากขณะนี้โรคไม่ติดต่อเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของคนไทยประมาณร้อยละ 75 ของการเสียชีวิตทั้งหมด หรือประมาณ 320,000 คนต่อปี ส่วนโรคไม่ติดต่อที่พบมากคือ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น โดยที่ผ่านมา สสส.มีภารกิจหลักในการสนับสนุนการรณรงค์เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของประชาชนให้มีสุขภาวะที่ดีเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อ ด้วยการไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ลดการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม และหันมาส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยทำควบคู่ไปกับการสื่อสารการตลาดเพื่อรณรงค์ผ่านสาธารณะ

 

“สสส.ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของคณะทำงานร่างมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติในประเด็นความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อมาตั้งแต่ปี 2560 เพื่อร่วมพัฒนากลไกสนับสนุนและส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพให้แก่ประชาชนไทย ทั้งในด้านการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสุขภาพ และการขับเคลื่อนนโยบายเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพผ่านกลไกต่างๆ ทั้งในระดับพื้นที่และระดับประเทศ ล่าสุดมติดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากสมัชชาสุขภาพแห่งชาติแล้ว ซึ่ง สสส.จะยังคงทำหน้าที่ร่วมมือกับภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ในการขับเคลื่อนให้คนไทยมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ตั้งแต่ระดับบุคคล ชุมชน จนถึงระดับประเทศต่อไป” ผู้จัดการกองทุน สสส.กล่าว.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"