‘ประยุทธ์’ร่ายผลงาน4ปี ‘รบ.’ปัดเอื้อ‘เอกชน-ทุน’


เพิ่มเพื่อน    

 "บิ๊กตู่" ร่ายยาวในรายการศาสตร์พระราชาฯ ความงดงามของประชาธิปไตยคือรุ้ง 7 สี ประเทศเหมือนครอบครัวใหญ่ 4 ปีรัฐบาลดูแลครบทั้ง 3 พี่น้อง ทุกคนอยู่ในห่วงโซ่เดียวกัน โดยเฉพาะน้องคนสุดท้อง ดูแลดีสุดผ่านประชารัฐ-ไทยนิยมยั่งยืน   แถมยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี 

    พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” เมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า สังคมไทยเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม เราอยู่ร่วมกันบนผืนแผ่นดินเกิดแห่งนี้มาหลายร้อยปีด้วยความสงบสุขภายใต้พระบรมโพธิสมภาร นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเป็นประเทศประชาธิปไตย ที่ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขได้ภายใต้ความแตกต่าง 
    "ด้วยการยอมรับและเปิดใจเข้าหากัน นั่นคือความงดงามของประชาธิปไตย เพราะถ้าทุกคนคิดและเป็นเหมือนกัน ก็คงเหมือนรุ้งกินน้ำ ที่มีสีเดียว โทนเดียว คงไม่งดงามเหมือนรุ้ง 7 สีตามธรรมชาตินะครับ"
    นายกฯ กล่าวว่า หากเปรียบประเทศเป็นครอบครัวขนาดใหญ่ ครอบครัวนี้ก็คงเหมือนทุกๆ ประเทศ ที่มีเศรษฐกิจและสังคม ที่แบ่งออกเป็น 3 ระดับ หรือ 3 พี่น้อง พี่คนโต เปรียบเสมือนผู้ที่มีฐานะดี มีความเข้มแข็ง ผู้ประกอบการหรือนักธุรกิจขนาดใหญ่ แม้จะพึ่งพาตนเองได้ แต่รัฐบาลหรือพ่อแม่ก็ยังคงต้องให้ความช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกอยู่นะครับ
    สำหรับลูกคนกลาง ก็คงเป็นชนชั้นกลาง มีหน้าที่การงานที่มั่นคง หากไม่มีปัจจัยภายนอกมากระทบ ก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่หากป่วยไข้ เกิดอุบัติเหตุ หรือภัยพิบัติทางธรรมชาติ ชีวิตก็คงจะลำบากสักระยะ กว่าจะกลับสู่ภาวะปกติ รัฐบาลก็ต้องระวังไม่ให้สิ่งเหล่านั้นมากระทบ เพื่อให้เขาเติบโตแข็งแรงได้อย่างไม่ลำบาก
    สำหรับน้องคนสุดท้อง คือผู้ที่มีรายได้น้อย ทั้งเกษตรกร ทั้งอาชีพอิสระ รับจ้าง ผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ รวมถึง SME และ Star-up ที่กำลังจะเริ่มต้นธุรกิจใหม่ ยังต้องพึ่งพาการส่งเสริมจากภาครัฐหรือพ่อแม่อยู่มาก รวมทั้งพี่คนโตและคนกลาง ก็ต้องช่วยพ่อแม่ดูแลน้องคนเล็ก ให้ความช่วยเหลือเชื่อมโยง ผูกพันกัน
    "เหมือนที่ผมกล่าวอยู่เสมอว่า ทุกคนอยู่ในห่วงโซ่เดียวกัน ต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน โดยรัฐบาลก็จะดูแล ตั้งแต่ต้นทาง-กลางทาง-ปลายทาง ให้ทุกคนในห่วงโซ่นี้เข้มแข็งและพึ่งพาตัวเองได้ โดยเราจะต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง แต่ก็อย่าลืมว่าทุกคนก็ต้องไม่ปฏิเสธการพัฒนาตนเอง หาความรู้เพิ่มเติม ปรับตัว ไม่ปิดตัว ไม่ปิดโอกาสตนเองโดยรับข้อมูลข่าวสารภาครัฐอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง อย่างน้อยก็รับฟัง “หอกระจายข่าว” ที่มีอยู่ทั้งกว่า 7 หมื่นหมู่บ้านทั่วประเทศ"
    พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า 4 ปีที่ผ่านมา ภาครัฐตระหนักถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำที่มีมาอย่างยาวนานของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ที่เราเรียกว่าน้องคนสุดท้อง ผ่านการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้ชุมชน อาทิ การจัดสรรที่ดินทำกินและส่งเสริมการพัฒนาอาชีพ ใน 61 จังหวัด กว่า 47,000 ราย ใช้พื้นที่เกือบ 4 แสนไร่
    นายกฯ กล่าวว่า การอำนวยความยุติธรรม ขจัดคำกล่าว คุกมีไว้ขังคนจน โดยได้มีการตั้งกองทุนยุติธรรม ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยให้เข้าถึงบริการด้านกระบวนการยุติธรรม นอกจากนี้ ภาครัฐได้ตระหนักถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ได้แก่ การให้สวัสดิการต่างๆ ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐกว่า 14 ล้านราย การเปิดโครงการร้านธงฟ้าที่มีร้านค้าทั่วประเทศเข้าร่วมถึง 60,000 ร้าน รวมถึงการใช้แอปพลิเคชัน ถุงเงินประชารัฐ มากกว่า 40,000 ร้านค้า มาตรการสินเชื่อเพื่อการซื้อบ้านและซ่อมแซมบ้าน สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย วงเงิน 60,000 ล้านบาท การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยมีการไกล่เกลี่ยและประนอมหนี้เกือบ 540,000 ราย
    โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ ภายใต้โครงการไทยนิยม ยั่งยืน (หมู่บ้าน/ชุมชนละ 200,000 บาท) ครอบคลุม 8 หมื่นหมู่บ้าน และชุมชน รวมกว่า 92,000 โครงการ
    โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ ภายใต้โครงการไทยนิยม ยั่งยืน (หมู่บ้าน/ชุมชนละ 200,000 บาท) ครอบคลุม 8 หมื่นหมู่บ้าน และชุมชน รวมกว่า 92,000 โครงการ
    มาตรการทั้งหมดนี้เป็นเพียงบางส่วนในการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ และไม่ได้มุ่งเน้นในการให้ความช่วยเหลือระยะสั้นแต่เพียงอย่างเดียว แต่ก็ได้วางรากฐานในการเพิ่มศักยภาพการผลิต มูลค่าสินค้าและบริการในระยะยาว รวมถึงการมียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งหนึ่งในประเด็นสำคัญที่จะเร่งผลักดันก็คือ การส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอีกด้วย
    "ผมอยากจะบอกว่า ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมานั้น รัฐบาลได้แก้ปัญหาที่หมักหมมมานานนับสิบๆ ปี พร้อมทั้งวางรากฐานการพัฒนาเพื่อวันข้างหน้า"
    พล.ท.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เว็บไซต์รัฐบาลได้เผยแพร่ข้อมูลที่เป็นการตอบข้อวิจารณ์การบริหารงานรัฐ และการชี้แจงข้อวิจารณ์การบริหารงานรัฐในประเด็นต่างๆ ที่หลายคนสงสัย ซึ่งในช่วงที่ผ่านมามีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงการบริหารงานของรัฐในแง่มุมต่าง ๆ ซึ่งก่อให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในสังคม จึงขอนำประเด็นสำคัญๆ มาชี้แจงให้ประชาชนได้ทราบข้อมูลความจริง โดยข้อมูลที่เผยแพร่บนเว็บไซต์มีดังนี้
    มีการยกประโยชน์ในที่ดินรถไฟมักกะสันให้แก่บริษัทซีพี นอกจากนี้ยังมีการต่อสัญญาเช่าศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์โดยไม่ต้องประมูล และแก้ไขสัญญาเช่าจาก 25 ปี เป็น 50 ปี ให้แก่ธุรกิจเครือซีพี?
     ไม่จริง : การลงทุนโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มีการใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งบริเวณสถานีมักกะสันของการรถไฟ ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ภาครัฐจึงเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุน โดยมีการคัดเลือกโดยวิธีประมูลแบบนานาชาติ โดยมีผู้ยื่นข้อเสนอ 2 ราย ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปผู้ชนะการประมูล ส่วนประเด็นการต่อสัญญาเช่าอาคารศูนย์ประชุมฯ นั้น กระทรวงมหาดไทยประกาศให้ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์เป็นพื้นที่ห้ามก่อสร้างอาคารสูงเกิน 23 เมตร สิทธิให้เช่าเดิมสำหรับก่อสร้างโรงแรมจึงทำไม่ได้ ผู้เช่าไม่ได้ทำผิดสัญญา จึงไม่มีเหตุในการเลิกสัญญา จึงต้องปรับสัญญาใหม่โดยรัฐต้องได้รับประโยชน์ดีกว่าเดิม ซึ่งในสัญญาใหม่มูลค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า จึงเพิ่มระยะเวลาเช่าเป็น 50 ปี โดยเป็นไปตามกฎหมายและผลประโยชน์ตอบแทนของรัฐเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าเช่นกัน
    มีการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตบุหรี่ไทย ทำให้บุหรี่ไทยแพงเทียบเท่าบุหรี่นอก ส่งผลให้ไม่สามารถแข่งขันกับบุหรี่นอกได้ และส่งผลทำให้โรงงานยาสูบขาดทุนหลายพันล้านบาท?
     ไม่จริง : รัฐปรับโครงสร้างภาษียาสูบใหม่ให้สอดคล้องกับหลักสากล เน้นดูแลสุขภาพคนไทย จึงจัดเก็บอัตราภาษีเดียวกันทั้งบุหรี่ที่ผลิตในประเทศและบุหรี่นำเข้า ซึ่งการยาสูบแห่งประเทศไทยเป็นผู้กำหนดกลยุทธ์ราคาเอง โดยยังแข่งขันได้และมีกำไรในปี 61
    โครงการมอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช และบางใหญ่-กาญจนบุรี ที่ไม่สามารถบริหารจัดการด่านเก็บเงินได้ ต้องให้ภาคเอกชนเข้ามารับสัมปทานเป็นผู้ทำด่านเก็บเงินค่าผ่านทาง โดยรัฐจ่ายค่าจ้างให้เอกชนปีละ 2,000 ล้านบาท สัญญา 30 ปี ได้รับประโยชน์อย่างง่ายดาย โดยไม่มีความเสี่ยงแต่อย่างใด?
     ไม่จริง : กรณีการให้เอกชนร่วมลงทุนในการดำเนินงานและบำรุงรักษา (Operation and Maintenance : O & M) โครงการมอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช และบางใหญ่-กาญจนบุรี เอกชนมีหน้าที่ลงทุนและยังคงรับความเสี่ยงของงานระบบและดำเนินการ O & M ของโครงการทั้งหมด และจากผลการศึกษาฯ พบว่า การให้เอกชนร่วมลงทุนฯ รูปแบบ PPP Gross Cost มีต้นทุนค่าใช้จ่ายของภาครัฐ “ต่ำกว่า” รูปแบบรัฐดำเนินการเอง และได้คำนึงถึงประโยชน์ของภาครัฐอย่างรอบคอบแล้ว โดยภาครัฐไม่ได้เสียเปรียบเอกชน และไม่ได้เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่นายทุน
    มีการต่อสัมปทานให้แก่บริษัท เชฟรอน (ไทย) จำกัด ทั้งที่พบว่ามีการทุจริตภาษีไป 3,000 ล้านบาท แต่กลับไม่ดำเนินการเอาผิดแต่อย่างใด?
    ไม่จริง : กรมศุลกากรได้ดำเนินการเพิกถอนใบขนสินค้าขาออกของบริษัท เชฟรอน (ไทย) จำกัด ตั้งแต่ปี 2554-2559 แล้ว ตามที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินขอให้ดำเนินการตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาวินิจฉัยว่า การขนส่งของไปใช้ในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในบริเวณไหล่ทวีป ถือเป็นการนำไปใช้ในการประกอบกิจการปิโตรเลียมในราชอาณาจักร
    มีการแจกสัมปทานปิโตรเลียมโดยเลือกระบบที่รัฐเสียผลประโยชน์ โดยเฉพาะเมื่อระบบจ้างผลิตที่รัฐได้ประโยชน์ 80-90% กลับไม่ดำเนินการ แต่กลับเลือกระบบแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contract : PSC) ที่ได้ส่วนแบ่งแค่ 30% เท่านั้น?
     ไม่จริง : ระบบจ้างผลิต เป็นระบบที่เหมาะกับประเทศที่มีแหล่งปิโตรเลียมขนาดใหญ่ ซึ่งลักษณะแหล่งปิโตรเลียมของไทยมีขนาดเล็ก จึงไม่เหมาะที่จะใช้ระบบจ้างผลิต นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงปริมาณสำรองและศักยภาพปิโตรเลียมของประเทศ รวมถึงต้นทุนต่อหน่วยเป็นเกณฑ์ โดยใช้ข้อมูลทางวิชาการเชิงประจักษ์เป็นปัจจัยในการพิจารณา ซึ่งเป็นตามมาตรฐานสากล ซึ่งทุกแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยเข้าหลักเกณฑ์ที่ใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต. 


 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"