หุ่นยนต์ทำงานแทนนักข่าวได้แล้ว!


เพิ่มเพื่อน    

    ภาพข้างบนคือสาวงามชื่อ "อมิเลีย" เป็นหุ่นยนต์ตาสีฟ้า ผมบลอนด์ ทำงานในสำนักงานสวีดิชแบงก์ (Swedish bank-SEB) ใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI: Artificial Intelligence)
    หน้าที่หลักของเธอคือ เป็นพนักงานรับโทรศัพท์และตอบคำถามของลูกค้าที่เคาน์เตอร์ 
    ที่เก่งกว่ามนุษย์คือ เธอมีความสามารถจดจำคู่มือเอกสารจำนวน 300 หน้าในชั่วแค่ 30 วินาที 
    และสามารถพูดโต้ตอบได้ 20 ภาษา 
    ที่สำคัญคือ เธอสามารถรับโทรศัพท์หลายพันคู่สายได้ในเวลาเดียวกัน...รอยยิ้มที่มั่นใจของเธอเกิดจากเทคโนโลยีหุ่นยนต์ประดิษฐ์
     อมิเลียยังทำงานในบริษัท Borough of Enfield ในลอนดอน และในบริษัท UBS ในเมืองซูริก  สวิตเซอร์แลนด์
    อีกภาพหนึ่งเป็น "นักข่าวหุ่นยนต์" ทำหน้าที่เขียนข่าวแทนมนุษย์ได้
    ศัพท์แสงในวงการนี้เรียกว่า automated journalism 
    หรือเรียก algorithmic journalism
    หรือ robot journalism ก็เรียก
    ทุกวันนี้ข่าวและเนื้อหาเกือบ 1 ใน 3 ของสำนักข่าว Bloomberg ถูกผลิตโดยระบบหุ่นยนต์นี้แล้ว
    โปรแกรมนี้ที่สำนักข่าวบลูมเบิร์กเรียกว่า Cyborg ซึ่งใช้ AI ช่วยนักข่าวมนุษย์ผลิตรายงานเป็นพัน ๆ ชิ้นต่อหนึ่งไตรมาสในการทำรายงานทางการเงินของบริษัทต่างๆ
    ระบบอัตโนมัตินี้สามารถวิเคราะห็ข้อมูลจำนวนมหาศาลเกี่ยวกับผลประกอบการของบริษัทต่างๆ  อย่างฉับพลันทันที เขียนเป็นรายงานข่าวออกมาพร้อมตัวเลขและข้อมูลที่ฝรั่งเรียกว่า facts and figures
     นักข่าวธรรมดาอาจเห็นเป็นงานรูทีนที่น่าเบื่อ ไม่มีอะไรน่าท้าทาย
    แต่เจ้านักข่าวหุ่นยนต์สามารถทำหน้าที่นี้แทนได้อย่างคล่องแคล่ว
    ไม่บ่นเลยแม้แต่คำเดียว
    บลูมเบิร์กใช้ AI เขียนข่าวและรายงานการเงินแข่งกับสำนักข่าวรอยเตอร์ เพื่อแย่งชิงตลาดที่ต้องการความไวและความแม่นยำในเรื่องของตัวเลขและบทวิเคราะห์
    นักบริหารกองทุนทั้งหลายในตลาดหุ้นที่เรียกว่า Hedge Fund ก็ใช้เทคโนโยลีล่าสุดนี้เพื่อบริการลูกค้าที่ต้องการข้อมูลและบทวิเคราะห์ที่รวดเร็วทันการณ์
    หุ่นยนต์สามารถทำเรื่องนี้ได้เร็วกว่านักข่าวสายการเงินและหุ้นแล้วอย่างไม่ต้องสงสัย
    สำนักข่าวเอพีก็ใช้ AI เขียนข่าวกีฬาโดยเฉพาะเบสบอลมาระยะหนึ่งแล้ว
    วอชิงตันโพสต์ใช้ AI เขียนข่าวกีฬาฟุตบอลนักเรียน
    และลอสแองเจลิสไทมส์ใช้นักข่าวหุ่นยนต์รายงานข่าวแผ่นดินไหว
    เมื่อเร็วๆ นี้บริษัท Tencent ซึ่งเป็นธุรกิจยักษ์ทางด้านอินเทอร์เน็ตเขียนโปรแกรมชื่อ Dreamwriter  ที่สามารถเขียนรายงานข่าวภาษาจีนด้านการเงินยาว 916 คำภายใน 60 วินาที โดยที่นักข่าวอาชีพคนหนึ่งยอมรับว่าอ่านข่าวชิ้นนี้แล้วไม่สามารถจะบอกได้ว่าเขียนโดยคนหรือหุ่นยนต์
    หนังสือพิมพ์ The Guardian ฉบับตีพิมพ์ที่ออสเตรเลียก็กระโดดเข้าสู่วงการนี้เช่นกัน ด้วยการใช้เทคโนโยลีใหม่นี้รายงานยอดบริจาคให้พรรคการเมืองประจำปีที่นั่น    
    เขาเรียกบทความนั้นว่า first machine-assisted article
    คือการที่ใช้ AI ช่วยนักข่าวอาชีพเก็บข้อมูลที่มีอยู่ในระบบออนไลน์และเรียบเรียงให้เป็นบทความที่ถูกต้องแม่นยำ
    นิตยสาร Forbes เพิ่งจะประกาศว่ากำลังทดสอบโปรแกรมชื่อ Berdie ที่จะช่วยนักข่าวมนุษย์ในการทำงานด้วยการเสนอ "ร่างแรก" และวาง "โครงเรื่อง" ให้นักข่าวใช้เขียนรายละเอียดของข่าวในแง่มุมวิเคราะห์ลุ่มลึกที่หุ่นยนต์ยังทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร
    การพัฒนา AI ให้ทำงานแทนนักข่าวเช่นนี้ถือเป็นการคุกคามอาชีพของนักข่าวหรือไม่?
    คำตอบ ณ นาทีนี้คือ หากนักข่าวพัฒนาและปรับปรุงตัวเองตลอดเวลา ก็อาจไม่ต้องกลัวว่าจะตกงานในระยะเวลาอันใกล้นี้
    แต่หากคนในแวดวงสื่อยังทำงานที่เป็นรูทีน ผลิตเนื้อหาทั่วๆ ไปที่ใครๆ ก็มี ก็ค่อนข้างจะแน่นอนว่าคนเหล่านั้นจะไม่สามารถยึดตำแหน่งหน้าที่เดิมเอาไว้ได้
    นักข่าวที่ฉลาดและรู้จักปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงก็จะรู้จักใช้ AI มาช่วยงาน แต่ตัวเองก็จะต้องเพิ่มทักษะและความชาญฉลาดในการวิเคราะห์ข้อมูลที่หุ่นยนต์ยังทำไม่ได้
    ผมใช้คำว่า "หุ่นยนต์ยังทำไม่ได้" แปลว่าอีกไม่ช้าไม่นาน เจ้า AI ก็จะเรียนรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองที่เรียกว่า machine learning ทำให้มีความ "ฉลาด" มากขึ้นตามลำดับ ถึงขั้นที่อาจมาทดแทนนักข่าวได้มากขึ้นตลอดเวลา
    ผมชอบที่ผู้บริหารของสำนักข่าว AP แสดงความเห็นเอาไว้ว่า นักข่าวยุคดิจิตอลยังสามารถเอาชนะหุ่นยนต์ได้เพราะ
    "The work of journalism is creative. It’s about curiosity, it’s about storytelling, it’s about  digging and holding governments accountable, it’s critical thinking, it’s judgment - and that is  where we want our journalists spending their energy."
    เขาบอกว่าหน้าที่ของสี่อสารมวลชนอาชีพเป็นเรื่องของความสร้างสรรค์ 
    เป็นเรื่องของความอยากรู้อยากเห็น 
    เป็นทักษะการเล่าเรื่องอย่างน่าสนใจ 
    เป็นการขุดคุ้ยหาความจริง 
    เป็นการทำให้รัฐบาลและผู้มีอำนาจทั้งหลายต้องแสดงความรับผิดชอบต่อประชาชน
    เป็นเรื่องการคิดวิเคราะห์อย่างรอบด้านและการใช้วิจารญาณ
    คำถามคือ
    คนข่าวของเราวันนี้มีคุณสมบัติเหล่านี้เพียงพอที่จะเอาชนะหุ่นยนต์หรือไม่?


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"