“ธพว.” ตั้งแท่นปล่อยกู้ปี 62 อีก 5.7 หมื่นล.


เพิ่มเพื่อน    

 

8 มี.ค. 2562 นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ เปิดเผยว่า ในปี 2562 ธนาคารตั้งเป้าหมายปล่อยสินเชื่อไว้ที่ 5.72 หมื่นล้านบาท แยกเป็นการปล่อยสินเชื่อผ่านสาขา 3.5 หมื่นล้านบาท ที่เหลืออีก 2.2 หมื่นล้านบาทจะเป็นการปล่อยสินเชื่อผ่านโครงการรถม้าเติมทุน วงเงิน 2.22 หมื่นล้านบาท ซึ่งปัจจุบันมีรถม้าเติมทุน 600 คัน ตั้งเป้าเพิ่มเป็น 1 พันคันในต้นปี 2563

ทั้งนี้ เฉลี่ยรถม้าเติมทุน 1 คันจะมีพนักงานสินเชื่อ 2 คน โดยได้ตั้งเป้าหมายให้ปล่อยกู้ได้คนละ 4ล้านบาทต่อเดือน รวม 1 คันจะปล่อยกู้ได้ 8 ล้านบาทต่อเดือน และประเมินว่ารถม้าเติมทุนจะเข้าถึง 7.25 พันตำบลทั่วไทยในปีหน้า เน้นปล่อยกู้เอสเอ็มอีรายเล็กไม่เกิน 7 แสนบาทต่อราย โดยผลดำเนินงานของรถม้าเติมทุนช่วงเดือน ส.ค. - ธ.ค. 2561 สามารถปล่อยสินเชื่อได้รวมกันกว่า 4 พันล้านบาท

“ขณะนี้ธนาคารไม่มีแผนจะเพิ่มสาขา จากปัจจุบันที่มีอยู่ 95 สาขาทั่วประเทศ แต่จะใช้วิธีให้รถม้าเติมทุนวิ่งไปยังตำบลต่าง ๆ และไปจอดให้บริการตามปั้มน้ำมันชุมชน ปั้มน้ำมันของ ปตท. แทน” นายมงคล กล่าว

นอกจากนี้ ธนาคารมีแผนยกระดับเป็น ดิจิทัลแบงก์กิ้ง โดยการขยายช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนด้วยการให้ยื่นคำปรึกษาและยื่นขอสินเชื่อผ่านแอพพลิเคชั่น SME D BANK ได้ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมชู 3 D ได้แก่ 1.D-Development = ช่วยพัฒนาธุรกิจด้วยความรู้คู่เงินทุน 2.D-Digital = บริการทันสมัยรวดเร็วเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม SME D Bank ยื่นขอสินเชื่อ และหาความรู้ ผ่านออนไลน์ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ 24x7 (24 ชั่วโมง ตลอด 7 วัน) และ 3.D-Delivery = บริการถึงถิ่นทั่วไทย ผ่านหน่วยรถม้าเติมทุน

นายมงคล ยังกล่าวสรุปถึงผลการดำเนินงานในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ  ซึ่งจะครบวาระในวันที่ 8 มี.ค. 2562 ว่า ในช่วงกลางปี 2557 ก่อนเข้ารับตำแหน่งดังกล่าว ธพว.หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) กว่า 3.7 หมื่นล้านบาท หรือ 40% ของสินเชื่อรวม ทำให้ ธพว.เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ จากความร่วมมือของทุกฝ่ายทำให้คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) มีมติให้ ธพว. เป็นหน่วยงานแรกที่ออกจากแผนฟื้นฟูสำเร็จวันที่ 19 ม.ค. 2561

ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นปี 2558 ถึง ม.ค.2562 ธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อได้กว่า 5.2 หมื่นราย วงเงินกว่า 1.44 แสนล้านบาท ก่อให้เกิดเงินทุนหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกว่า 7.2 แสนล้านบาท และมีเอ็นพีแอลจากสินเชื่อใหม่เพียง 3.6% ส่วนยอดปล่อยสินเชื่อใหม่ในปี 2561 อยู่ที่1.76 หมื่นราย วงเงิน 3.67 หมื่นล้านบาท

สำหรับแผนแก้หนี้เอ็นพีแอลที่เกิดก่อนปี 2558 ที่มีอยู่ในปัจจุบัน 1.4 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 14 % ของยอดสินเชื่อรวม ทางคณะกรรมการธนาคารเห็นชอบให้ขายเอ็นพีแอลในปีนี้ วงเงิน 8 พันล้านบาท แยกเป็นประกาศขาย 3 พันล้านบาทภายในไตรมาส 1/2562 และประกาศขายเพิ่้มอีก 5 พันล้านบาทก่อนสิ้นปีนี้ หากขายได้หมดจะทำให้เอ็นพีแอลเหลือ 6 พันล้านบาท ส่งผลให้ภายในสิ้นปีนี้เอ็นพีแอลของ ธพว. จะอยู่ในระดับต่ำกว่า 10% 
นอกจากนี้คณะกรรมการธนาคารได้เสนอขอเงินเพิ่มทุน 8 พันล้านบาท คาดว่าจะได้รับเงินก้อนแรก 4 พันล้านบาท ภายในสิ้นปีนี้และอีก 4 พันล้านบาทในต้นปีหน้า เพื่อขยายเงินกองทุนให้มากพอรองรับการปล่อยสินเชื่อใหม่ จากปัจจุบันมีเงินกองทุนอยู่แล้วราว 2 หมื่นล้านบาท
อย่างไรก็ดี นายมงคล ยังกล่าวแนะถึงเอสเอ็มอีที่ยอดขายไม่ดีเกิดจาก 3 เรื่องได้แก่ 1.ไม่อยากเข้าระบบ ซึ่งการไม่เข้าระบบทำให้เสียโอกาสในการพัฒนา ยกระดับเทคโนโลยีเข้าสู่ภาคธุรกิจ 2. ไม่ปรับรูปแบบการค้าขายให้สอดรับกับพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ปัจจุบันคนนิยมสั่งอาหารทางไลน์แมนมากขึ้น ร้านอาหารต้องปรับตัวทางการตลาดไม่รอแต่คนมากินที่ร้านเดียว และ 3. การเงิน ต้องเตรียมความพร้อมเรื่องเอกสาร หลักฐานเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าถึงแหล่งทุน
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"