พวกชอบนวดพึงระวัง อธิบดี สบส.แจงเหตุใดระงับ ขึ้นทะเบียนหมอนวด 9หมื่นราย ส่อซื้อขายประกาศนียบัตร


เพิ่มเพื่อน    

จากกรณีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(สบส.) มีคำสั่งระงับขึ้นทะเบียนหมอนวดรวมแล้วกว่า 9 หมื่นราย ที่ได้รับใบรับรองการฝึกอบรมจากสมาคมแพทย์แผนไทยแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.)ที่มีการดำเนินการในลักษณะเปิดเฟรนไชน์หรือสาขาการสอน ทำให้มีหมอนวดจำนวนดังกล่าวได้รับผลกระทบจากการที่ไม่สามารถขึ้นทะเบียนได้

ล่าสุดวันนี้ ( 20 มี.ค.) นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รมว.สธ. กล่าวว่า ในเรื่องดังกล่าวได้มอบหมายให้อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.)  เป็นผู้ดำเนินการ โดยขอย้ำว่ากระทรวงสาธารสุขสนับสนุนและส่งเสริมเรื่องการนวดไทยอยู่แล้ว แต่ทุกอย่างต้องมีเหตุมีผล เป็นไปตามมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด เพราะว่านวดไทยกำลังอยู่ระหว่างการผลักดันให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกด้วย 

 ผู้สื่อข่าวถามว่ามีการเปิดเผยข้อมูลว่า สมาคมดังกล่าวตั้งอยู่ในกระทรวงสาธารณสุข มีการติดป้ายที่ทำให้คนเข้าใจว่าเป็นหน่วยงานในสังกัด สธ. จะมีการตรวจสอบอย่างไร นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า เรื่องนี้ตนยังไม่ทราบรายละเอียด แต่ได้มอบให้อธิบดีสบส.เป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบ

นพ.ภัทรพล จึงสมเจตไพศาล ผอ.กองสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) สธ. กล่าวว่า จริงๆ ต้องบอกก่อนว่า สบส.ระงับการขึ้นทะเบียนหมอนวดเฉพาะที่อบรมกับสมาคมที่เปิดสอนนวดแห่งเดียวเท่านั้น ที่อื่นปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ได้มีปัญหาอะไร มีเพียงสมาคมนี้เท่านั้นที่ ได้รับข้อร้องเรียนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(สสจ.) ศรีสะเกษและสสจ.เชียงใหม่ ในเรื่องคนที่มาขึ้นทะเบียนโดยใช้ใบของสมาคมฯ ซึ่งตรวจสอบแล้วว่าไม่ถูกต้อง ทั้งเรียนไม่ครบ และซื้อใบประกาศนียบัตร และจากฐานข้อมูลวัน สต๊อปเซอร์วิสของสบส. ก็ตรวจสอบพบว่า มีการขึ้นทะเบียนมากจนผิดสังเกต เช่น มี1 คน เป็นผู้มาขอดำเนินการขอขึ้นทะเบียนให้กับคนอีก 20-3คน เหมือนถูกมอบอำนาจมา

นพ.ภัทรพล กล่าวอีกว่า เมื่อมาตรวจสอบข้อมูลพบว่า ในวันหนึ่งๆมีผู้จบหลักสูตรนวดกันมากถึง 300-400 คน ในวันเดียวกัน ซึ่งไม่น่าเป็นไปไม่ได้ เพราะตามกฎหมายจะระบุว่า หากสถานศึกษา หรือผู้ใดที่ขอเปิดโรงเรียน หรือสอนการนวดแผนไทย  ถือว่าเป็นโรงเรียนเอกชนด้วยเช่นกัน  แต่หากไม่ขอใบอนุญาตตามกฎของกระทรวงศึกษาธิการ ก็มีช่องสามารถทำได้ แต่การอบรมผู้เรียนต้องไม่เกิน 7 คนต่อหลักสูตร และห้ามเปิดเป็นเฟรนไชส์ด้วย   ดังนั้น สมาคมนวดต่างๆ หากจะเปิดสอนนักเรียนจำนวนมากๆ ก็ต้องทำตามกฎหมาย  ทางสบส.จึงทำหนังสือไปขอข้อมูลกับทางสมาคมแห่งนี้ให้ชี้แจง ซึ่งทางสมาคมบอกว่า  ไม่มีศูนย์สาขา ไม่มีการเปิดเฟรนไชส์ และทราบดีว่าต้องอบรมไม่เกิน 7 คน  ทางสบส. จึงได้ขอให้ส่งรายชื่อนักเรียนที่ผ่านการอบรมกับสมาคมฯ แต่ปรากว่า มีการส่งมา 2 ครั้ง ครั้งแรกคือ 70,000 คน ครั้งที่ 2 อีก 20,000 คน เป็นช่วงในระยะเวลา 10 กว่าปี ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่มากเกินไป  เพราะหากนับตามกฎระเบียบ ที่สามารถอบรมได้ไม่เกิน 7 คนต่อหลักสูตรต่อรุ่น มากสุดจริงๆ ก็ไม่น่าจะเกิน 4-5 พันคน   จึงทำให้ต้องมีการตวจสอบ เพราะการนวดเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยผู้ถูกนวด  จึงต้องมีการตรวจสอบอย่างละเอียด และให้ระงับใบอนุญาติการขึ้นทะเบียนไปก่อน

“ที่ผ่านมาอธิบดี สบส.ได้สั่งการให้สมาคมฯชี้แจงเรื่องนี้ ปรากฏว่าก็ไม่ได้ชี้แจงเข้ามา แต่ขอขยายเวลาในการชี้แจงไป 30 วัน คือต้องมาภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน ปีที่แล้ว แต่ก็ยังไม่มาชี้แจง และอนุกรรมการที่ดูแลหลักสูตรนี้ ก็เชิญสมาคมฯมาชี้แจง เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ก็ยังไม่มาอีก แต่กลับส่งหนังสือยื่นเป็นโนติสต์ด้วยซ้ำว่า ให้ทางสบส.ยกเลิกหนังสือสั่งการสสจ. ทั่วประเทศ ที่ว่าให้ระงับขึ้นทะเบียนหมอนวดแทน ไม่งั้นจะดำเนินคดีทั้งดคีแพ่ง และคดีอาญากับทาง สบส. เพราะแจ้งว่า ทางสบส.ทำให้สมาคมฯ ถูกดูหมิ่น ซึ่งเราตกใจมาก นี่เราผิดหรือ ในเมื่อมีข้อมูลชัด” นพ.ภัทรพล กล่าว และว่าอย่างไรก็ตามขณะนี้ขอไม่เอ่ยชื่อสมาคม เพราะมีหนังสือจากสมาคมฯมาว่า ทำให้เขาเสื่อมเสีย ต้องขอระวังไว้ก่อน แต่ยืนยันว่าที่ต้องระงับ เพื่อเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายที่กำหนดไว้ และเพื่อให้คุณภาพดีด้วย แต่ในส่วนของหมอนวดที่ถูกเพิกถอนนั้นได้มีการประสานกับสมาคมนวดอื่นๆ กว่า 10 แห่งจะมาให้การอบรมต่อ เพื่อให้ได้ใบรับรองหมอนวดต่อไป

ผู้สื่อข่าวถามว่า หลังจากนี้จะมีการดำเนินการกับสมาคมฯอย่างไรต่อไป นพ.ภัทรพล กล่าวว่า สบส.กำลังทำหนังสือถึงสมาคมฯ ให้ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายใน 15 วัน หากไม่ทำก็จะนำไปสู่การพิจารณาว่าจะเพิกถอนหลักสูตรต่อไป แต่จะเพิกถอนอย่างไรนั้นต้องไปดูในรายละเอียดด้วย ในส่วนของศูนย์สาขาที่มีการเปิดนั้น ขณะนี้ได้ขอให้ทาง สสจ. ประสานว่า ไม่สามารถปฏิบัติต่อได้ หากจะทำขอให้มาขออนุญาตจากทาง สบส. ให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป

"ถ้าถามว่าความผิดในเรื่องนี้ะมีอะไรบ้าง ก็มี 2 ส่วนด้วยกัน คือ ฐานแรก คือการไปปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ เรียกว่าคำสั่งทางปกครอง สูงสุดคือการเพิกถอนหลักสูตร ความผิดฐานที่ 2 คือ อาญาหรือทางแพ่ง ซึ่งในเรื่องนี้ สบส.ไม่ใช่ผู้เสียหาย ผู้เสียหายคือประชาชนที่ไปอบรมซึ่งได้รับผลกระทบ ที่ไม่สามารถขึ้นทะเบียนได้ ก็สามารถเป็นเจ้าทุกข์ในการดำเนินคดีได้ อย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่า  สมาคมฯ แห่งนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับกระทรวงฯกรมการแพทย์ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เพียงแต่มาขออาศัยที่ราชพัสดุมาตั้งในกระทรวงฯ เท่านั้น."นพ.ภัทรพลกล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"