แนะทางรอดอุดมศึกษาไม่ล่มสลาย มหา'ลัยปรับตัว-ตอบโจทย์สังคมและอุตสาหกรรม


เพิ่มเพื่อน    

 

      ที่คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - สาขาวิชาอุดมศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จัดเสวนาวิชาการอุดมศึกษาเรื่อง “ความล่มสลายของอุดมศึกษาในยุคของการเปลี่ยนผ่าน(Higher education in the age of disruption)" เพื่อเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการระดับอุดมศึกษาเมื่อเข้าสู่ยุคของการเปลี่ยนผ่าน
    โดย นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) กล่าวว่า ตอนนี้โลกเปลี่ยนเร็วมาก และทุกอย่างก็มีการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี ภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ ตลาดแรงงาน ซึ่งถ้าอุดมศึกษาไม่ตอบโจทย์อุตสาหกรรม ประเทศและโลก จะทำให้ประเทศไทยติดอยู่ในกับดักรายได้ปานกลาง ทั้งนี้ แนวโน้มใหญ่ของโลกในศตวรรษที่ 21 ต้องปรับตัวสู่ Data-Driven Economy และเป็นสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ยุคโลกาภิวัฒน์ การปรับนโยบายและเส้นทางการผลิตไปสู่ภาคส่วนที่เป็นการเพิ่มมูลค่าของทรัพยากร และการขับเคลื่อนที่มุ่งเน้นด้านผลิตภัณฑ์และการบริการที่อาศัยองค์ความรู้และนวัตกรรม ทั้งโลกมุ่งการสร้างนวัตกรรม มูลค่าเพิ่ม ยกระดับความสามารถในการแข่งขัน
    " คุณภาพการเรียนรู้ในยุค 4.0 จะต้องเป็นการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เน้นการใช้ความรู้สร้างนวัตกรรม โดยการเรียนรู้ต้องยึดตัวผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนเพื่อตอบโจทย์เฉพาะบุคคล การเรียนที่เกิดจากความอยากรู้ อยากทำและอยากเป็น เป็นเชื้อให้ไปคิดต่อ การถามคือการสอน และเรียนเพื่อใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันและการทำงาน ฉะนั้น อุดมศึกษาต้องเปลี่ยนแปลงให้เท่าทันและต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้ " รมช.ศธ. กล่าว
     ด้านนายบัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า ตอนนี้อุดมศึกษาไทยไม่ถึงขั้นล่มสลาย แต่เป็นการปั่นป่วน ซึ่งมหาวิทยาลัยต้องเตรียมตัวเพื่อรองรับการปั่นป่วนที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะกระบวนการสอนที่ต้องเปลี่ยนเป็นการเรียนรู้ ดังนั้น ครูอาจารย์มีความสำคัญต้องเปลี่ยนแปลงตามด้วย อย่างไรก็ตาม ตอนนี้คู่แข่งมหาวิทยาลัยไม่ใช่มหาวิทยาลัยด้วยกัน แต่เป็นหลักสูตรออนไลน์ ตลาดของมหาวิทยาลัยจึงไม่ได้จำกัดเฉพาะเด็กไทยแต่เป็นตลาดระดับโลก ต้องรับเด็กจากทั่วโลก  มหาวิทยาลัยจะอยู่รอดและเจริญก้าวหน้าต้องทำ 3 ประเด็นหลักให้ครบ คือ 1.ตอบโจทย์ความต้องการของสังคม อุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ  2.ความรวดเร็ว ตอนนี้ประเทศต้องการเทคโนโลยี และเด็กอยากเรียนรู้อย่างเร็ว มหาวิทยาลัยต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อรองรับความต้องการเหล่านี้ และ 3.ต้องสร้างผลกระทบให้เกิดขึ้น สร้างมูลค่าและเกิดผลที่ออกมาเป็นรูปธรรมชัดเจน  ทั้งนี้ สำหรับจุฬาฯ มีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการสอนเป็นกระบวนการเรียนรู้ ,มหาวิทยาลัยจะเป็นคนกลางในการนำความรู้จากหนังสือมาเล่าให้เด็กฟังไม่ได้ ต้องสร้างคุณค่าในการเรียนรู้ และจากที่เน้นผลลัพธ์ต้องเปลี่ยนเป็นเน้นกระบวนการ รวมถึงใช้การบริหารงานนำกฎระเบียบต่างๆ
    นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า โลกตอนนี้ไม่ใช่คนจบปริญญาสาขาอะไรแล้วต้องทำงานสิ่งนั้น ตอนนี้เป็นปรากฎการณ์ I don't care จบสาขาหนึ่งทำอีกอาชีพได้ อีกทั้งโลกเข้าสู่ยุคของการทำลาย แต่เพื่อการเกิดใหม่ ปัจจุบันมีหลายอาชีพที่กำลังจะหายไป เช่น นักการธนาคาร นักกฎหมาย รวมทั้งมหาวิทยาลัยหลายแห่งทั่วโลกปิดตัว แต่เกิดอาชีพใหม่ๆ ด้านเทคโนโลยี รวมถึงจำนวนผู้เรียนลดลง จากตัวเลขผู้สมัคร TCAS ปี 2562 พบว่า มีคนลงทะเบียนแล้ว เพียง 269,000 คน ขณะที่คุณค่าของปริญญาบัตรก็ลดลง มหาวิทยาลัยชื่อดังระดับโลก เปิดหลักสูตรออนไลน์ให้คนเรียนฟรี ดังนั้น มหาวิทยาลัยต้องปรับตัวอย่างแรง จะค่อยๆ เปลี่ยนคงไม่ทันโลก และไม่ใช่คู่แข่งกันเอง
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"