คิง เพาเวอร์ สนับสนุนพรสวรรค์ทางดนตรีของคนไทย จัดประกวด TiWSC2019


เพิ่มเพื่อน    

 

แม้จะเพิ่งจัดงานเป็นปีที่สอง สำหรับการจัดประกวดวงดุริยางค์เครื่องเป่านานาชาติ ประจำปี 2562  หรือ Thailand International Wind Symphony Competition 2019 (TiWSC) ซึ่งเป็นการจัดร่วมกันระหว่างกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ภายใต้โครงการ คิง เพาเวอร์ ไทย เพาเวอร์ พลังคนไทย ร่วมกับวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล  แต่เสียงตอบรับที่ออกมานั้นดีมาก  เพราะมีทั้งเยาวชนผู้ที่สนใจทางด้านดนตรี และบุคคลทั่วไป รวมถึงนักดนตรีจากต่างประเทศ ยื่นใบสมัครเผื่อออดิชั่น เข้าร่วมการประกวด โดยในปี 2562 นี้ มีวงดนตรีเข้าร่วมการแข่งขันสูงถึง 86 ทีม ซึ่งมากกว่าปีแรกที่มีอยู่72 ทีม

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 6 เมษายนที่ผ่านมา ก็ได้มีการจัดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ที่หอประชุม มหิดลสิทธาคาร  ซึ่งมีทีมที่ผ่านรอบสุดท้ายจำนวนทั้งสิ้น  20 ทีม จากการประกวด 4 รุ่น รุ่นละ 5 ทีม แบ่งเป็นรุ่น Class A , Class B , รุ่น Class C และ Class D ไล่เรียงจากขนาดของวงดนตรี  เพื่อชิงถ้วยรางวัลและเงินรางวัลรวมมูลค่ากว่า 4,330,000 บาท

 

นายอัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ เปิดเผยว่า “การเปิดโอกาสให้คนไทยได้แสดงศักยภาพในระดับโลก ถือเป็นสิ่งที่คิง เพาเวอร์ มุ่งมั่นดำเนินโครงการเพื่อสังคมมาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ภายใต้แนวคิด KING POWER THAI POWER พลังคนไทย โดยเฉพาะกลุ่ม ‘เยาวชน’ ปีนี้เราได้ต่อยอดโครงการด้านดนตรี หรือ MUSIC POWER ผ่านการประกวดวงดุริยางค์เครื่องเป่านานาชาติ ประจำปี 2562 เป็นปีที่ 2 โดยได้รับความร่วมมือจาก วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้เยาวชนไทยได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทักษะด้านดนตรี พร้อมยกระดับให้วงดุริยางค์เครื่องเป่าไทยได้เข้าร่วมประกวดในระดับนานาชาติมากขึ้น เราอยากจะเป็นหนึ่งแรงสนับสนุนให้คนไทยได้แสดงความสามารถด้านดนตรีออกมา จึงเป็นที่มาในการจัดการแข่งขันในครั้งนี้ครับ”

 

ด้านนายณรงค์ ปรางค์เจริญ คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้จัดการประกวดร่วมกับ กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ อีกครั้ง ซึ่งในการจัดประกวดในปีที่ผ่านมาได้รับผลตอบรับและประสบความสำเร็จอย่างสูงทั้งจากเยาวชนไทยและระดับนานาชาติ สะท้อนได้จากตัวเลขของทีมที่สมัครเข้าร่วมแข่งขันมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เห็นว่าอย่างน้อยสังคมเริ่มมีการตื่นตัวใช้กิจกรรมดนตรีเป็นกิจกรรมที่แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ สำหรับการประกวดในปีนี้มีจำนวนผู้สมัครทั้งหมด 86 ทีม เพิ่มจากปีที่ผ่านมา 14 ทีม และในปีนี้มีทีมผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศจำนวน 20 ทีม ซึ่งจะขึ้นแข่งขันกันอย่างเข้มข้น โดยได้รับเกียรติจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากต่างประเทศที่มีชื่อเสียง มีความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ด้านดนตรีที่เก่งกาจ เป็นที่ยอมรับในวงการดนตรีโลก อาทิ โรเบิร์ต เอ็ม คาเนอร์กัน ผู้อำนวยการของวงซิมโฟนิค วินด์ อังซังเบลอ (Wind Ensemble) ของโรงเรียนสอนดนตรี Frost School of Music, ผู้กำกับเพลง, วาทยกรของวง Frost Wind Ensemble และศาสตราจารย์ด้านวาทยกรประจำมหาวิทยาลัยไมอามี นอกจากนี้ยังมีดร.ไบรอัน ที.กิลป์ ศาสตราจารย์ด้านดนตรีเครื่องเป่า และสมาชิกวง Brass และ Woodwind Quintets ของมหาวิทยาลัยอินเดียนาในปี 1998 ร่วมเป็นกรรมการตัดสินด้วย และเมื่อแข่งขันเสร็จจะประกาศรายชื่อทีมชนะเลิศทันที”

"การประกวดในปีนี้ เข้มข้นไปด้วยคุณภาพของผู้เข้าแข่งขัน ที่เตรียมตัว ฝึกซ้อมกันมาอย่างตลอดหลายเดือน ทั้งนี้เพราะรู้ว่า มาตรฐานการแข่งขันของเวทีนี้สูงมาก หากเตรียมตัวไม่ดีพอ ไม่มีทางที่จะได้รับรางวัลจากเวทีนี้"

 

นายณรงค์ กล่าวอีกว่า ทางวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ดีใจที่ทางโครงการ คิง เพาเวอร์ ไทย เพาเวอร์ พลังคนไทย ให้คำมั่นสัญญาว่า จะร่วมการจัดงานนี้ขึ้นทุกปี ซึ่งทางวิทยาลัย ก็ตั้งใจที่ให้เวทีนี้ กลายเป็นเวทีการแข่งขันระดับนานาชาติ ซึ่งจะมีนักดนตรีจากทั่วโลก เข้ามาร่วมแข่งขันกับนักดนตรีของไทย  ซึ่งเชื่อว่า การแข่งขันที่มีมาตรฐานสูงนี้ จะช่วยยกระดับให้กับนักดนตรีชาวไทย ได้แสดงฝีมือ และไม่น่าในอนาคต ก็อาจจะได้รับโอกาสได้เดินทางไปออกทัวร์ต่างประเทศ

 

"เรื่องทักษะทางด้านดนตรีของคนไทย ก็ไม่แพ้ชาติใดในโลกเช่นเดียวกัน ซึ่งเรามีนักดนตรีที่ออกไปคว้ารางวัลระดับโลกมามากมาย ฉะนั้นเรื่องฝีมือเราไม่แพ้ใคร แต่การสร้างมาตรฐานให้กับนักดนตรีให้สูงขึ้น เราเชื่อว่า เวทีนี้ ซึ่งร่วมกับคิงเพาเวอร์ จะก่อให้เกิดประโยชน์มหาศาล ในการยกระดับวิชาชีพของศิลปินและนักดนตรีให้ไปสู่เวทีนานาชาติ และยังจะช่วยทำประโยชน์ให้กับกลุ่มเยาวชน ให้มีการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ซึ่งถือว่า เวทีนี้ จะเป็นเวทีที่สร้างศิลปินไทย ให้กลายเป็นศิลปินระดับโลกได้อย่างแน่นอน"

สำหรับผลการแข่งขัน  TiWSC ประจำปี 2019  ผู้ชนะเลิศการแข่งขันใน Class D คือ ทีม Ektra Sax Quartet  , ผู้ชนะการแข่งขัน Class C คือ  HKAPA  Winds Ensemble  , ผู้ชนะการแข่งขันใน Class B คือ ทีม  Suranaree Girls Wind Symphony และ Class A ผู้ชนะคือ  Million Wind Philharmomic

นอกจากนี้ไฮไลท์พิเศษภายในงาน ยังมีมินิคอนเสิร์ตจากวง ‘บอดี้สแลม’ ที่จะมาสร้างสีสัน โชว์ร้องเพลงร่วมกับวงดุริยางค์เครื่องเป่า มหิดล Wind Orchestra เป็นครั้งแรก!! เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนที่มีหัวใจรักดนตรีไม่ย่อท้อต่อการเดินทางตามความฝัน และกล้าที่จะก้าวออกมาแสดงศักยภาพที่มีอยู่ให้โลกได้เห็น

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"