หวั่นม.44อุ้ม3ค่ายมือถือ! ซ้ำรอยโกงระบอบทักษิณ 


เพิ่มเพื่อน    

    "ญาติวีรชน 35" ตั้งวงชำแหละ ม.44  อุ้ม 3 ค่ายมือถือ "ชาญชัย" ซัด "บิ๊กตู่" ไม่ฉลาด อ้างเข้ามาเพื่อปฏิบัติให้บ้านเมืองสงบนั้น มีแต่จะสุมประเทศให้ลุกเป็นไฟมากกว่า ด้าน "ธีระชัย" ข้องใจเข้าข่ายทุจริตเชิงนโยบาย ซ้ำรอยทักษิณ
    เมื่อวันที่ 20 เม.ย. ที่ห้องเสวนา 14 ตุลา อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา มูลนิธิญาติวีรชน 35 ร่วมกับคณะตรวจสอบภาคประชาชน จัดแถลงค้านการใช้ ม.44 โดยมิชอบ เอื้อประโยชน์กลุ่มทุนมิใช่สาธารณะประโยชน์ นำโดย นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานญาติวีรชน 35 นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ อดีตรองประธานอนุกรรมาธิการด้านกลไกการปราบปรามการทุจริต คณะกรรมาธิการวิสามัญป้องกันและปราบปรามการทุจริต สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) และนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง  
    นายชาญชัยกล่าวว่า มาตรา 44 ยังไม่เป็นประโยชน์กับประชาชน แต่ตามรัฐธรรมนูญ การคงไว้ซึ่งมาตรา 44 เพื่อปราบปรามและป้องกันเหตุความมั่นคง แต่บางกรณีคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้มาตรา 44 ช่วยบริษัทเอกชน และในเวลาเดียวกันก็ใช้เพื่อกลั่นแกล้งบริษัทเอกชน ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้า คสช. ใช้มาตรา 44 เลื่อนการชำระเงินของเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ 3 รายให้กับ กสทช. นั่นถือว่านายกฯ ใช้คำสั่งต่อ กสทช.เพื่อเอื้อให้กับ 3 บริษัท เพราะด้วยคำสั่งรัฏฐาธิปไตย จะเป็นคำสั่งที่เบ็ดเสร็จอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้กฎหมายอื่นมาสั่งต่อ แต่ครั้งนี้กลับมีกฎหมาย กสทช.มาสั่งการอีก โดยไม่คิดค่าเสียหายการเลื่อนจ่ายจากบริษัทเหล่านั้น 
    เขากล่าวว่า การใช้มาตรา 44 ครั้งนี้ เป็นการยกผลประโยชน์ให้กับบริษัทเอกชน โดยมีผลกระทบกับประชาชนที่ต้องเสียค่าโทรศัพท์เพิ่ม จากการอ้างว่ามีคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) เกิดขึ้น และถือว่านายกรัฐมนตรีใช้อำนาจไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ 
    "จะมาอ้างว่าเข้ามาเพื่อปฏิบัติให้บ้านเมืองสงบนั้น มีแต่จะสุมประเทศให้ลุกเป็นไฟมากกว่า เพราะเป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบ ยอมรับว่า พล.อ.ประยุทธ์ไม่ฉลาดในการใช้มาตรา 44 ช่วยบริษัทเอกชนเหล่านั้น" นายชาญชัยกล่าว
    ด้านนายธีระชัยกล่าวว่า ที่ผ่านมามีบางกรณีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้หยิบยกคดีแปลงสัมปทานกิจการโทรคมนาคม ที่มีการยื่นฟ้องนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ตามกฎหมายใหม่ ที่สามารถพิจารณาคดีลับหลัง ซึ่งคดีนี้มีคำวิจารณ์จากสังคมว่ามีการทุจริตเชิงนโยบาย ซึ่งในเรื่องของการทำการทุจริตในศัพท์ทางราชการ ที่มีระดับที่เรียกว่ารับเงินใต้โต๊ะ ซึ่งเงินที่เกี่ยวกับการรับมานั้นมันเป็นระดับต่ำ แต่ถ้าจะเป็นทุจริตเชิงนโยบายชนิดที่มีการวางแผนใช้หลังเกษียณอายุยาวนานนั้น จึงเรียกว่าเป็นการทุจริตเชิงนโยบาย ที่จะต้องทำต่อหน้า หรืออ้างว่ามีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ แต่ซ้อนผลประโยชน์ที่จะให้กับตัวเองแบบส่วนตัวไว้ นี่คือทุจริตเชิงนโยบาย
    "ฉะนั้นมาตรา 44 ที่มีการใช้กันอยู่ในทุกวันนี้ กับกรณีเครือข่ายโทรศัพท์มือถือนั้น จะเข้าข่ายการทุจริตเชิงนโยบายหรือไม่"
    นายธีระชัยกล่าวว่า ทำไมต้องมีการออกคำสั่งเรื่องทีวีดิจิทัล แล้วเอาไปปะปนกับเรื่อง 5 จี  ซึ่งไม่ได้มีปัญหาทางการเงินอะไรเลย แต่จะบอกว่าเป็นการดำเนินการเพื่อแลกเปลี่ยน หรือเรียกว่าหมูไปไก่มา แต่ตนมองว่ามันจะมีแต่หมูไปอย่างเดียวมากกว่า 
    เขาเผยว่า มีการระบุว่ากำลังจะยึดคืนคลื่น 700  เมกะเฮิรตซ์ แล้วนำไปประมูลใหม่โดยใช้อำนาจตามมาตรา 44 จึงมีการตั้งคำถามว่า จะยึดคืนจากใคร เพราะที่มีคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ คือ อสมท ที่ไม่จำเป็นต้องใช้มาตรา 44 จนมาเชื่อมกับการที่รัฐบาลจะยอมผ่อนปรนค่างวดในการชำระให้กับ 3 บริษัทเอกชน คิดเป็นมูลค่า 2 หมื่นล้านบาท เพื่อจะแลกกับการที่บริษัทเอกชนนั้นจะต้องเข้ามาร่วมในการประมูลด้วย ซึ่งทาง กสทช.ก็ระบุว่าเราจะได้ผลประโยชน์จากการที่มี 3 บริษัทเอกชนมาร่วมประมูลถึง 30% จึงเป็นข้ออ้างให้รัฐบาลเลื่อนการจ่ายค่างวดของบริษัทเอกชนไป 
    "ดังนั้นถ้าประมูลแบบไม่มี 3 บริษัทนี้ ก็จะไม่ได้กำไรเลยหรือ ตนจึงมองว่ารัฐบาลเข้าข่ายกระทำมิชอบหรือกำลังโยนความรับผิดชอบให้กับ กสทช.เพียงฝ่ายเดียว ดังนั้นขอแนะนำให้ กสทช.ดำเนินการให้สอดคล้องกับกฎหมายรัฐธรรมนูญเพื่อกันความผิด" อดีต รมว.การคลังกล่าว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"