แสลง2.5หมื่นล. ผุดกก.สรุปค่าโง่ โฮปเวลล์ใน1ด.


เพิ่มเพื่อน    

 บอร์ด รฟท.ถกปัญหาค่าโง่โฮปเวลล์ “กุลิศ” ลั่นไม่เคยรับรู้เรื่องจนถึงวันศาลลงดาบ สั่งตั้งคณะทำงานสรุปให้ได้ใน 1 เดือนต้องจ่ายเท่าใด พร้อมรวมข้อมูลตั้งแต่ปี 2533 ยังไม่เคาะตัวเลขจ่าย 2.5 หมื่นล้าน ชี้ต้องทำให้รัฐกระทบน้อยสุด การรถไฟฯ แพลมอาจขอผ่อนหนี้ พ่วงให้สิทธิ์บริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์

       เมื่อวันที่ 26 เม.ย. คณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (บอร์ด รฟท.) ประชุมหารือกรณีศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาให้กระทรวงคมนาคม โดย รฟท. จ่ายค่าชดเชยบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด จากการบอกเลิกสัญญาโครงการระบบการขนส่งทางรถไฟและถนนยกระดับ รวมเป็นเงิน 11,888.75 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี และค่าใช้จ่ายอื่นๆ โดยต้องจ่ายค่าชดเชยให้เสร็จภายใน 180 วัน นับตั้งแต่คดีสิ้นสุดลง
        โดยนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน  ในฐานะประธานบอร์ด รฟท. กล่าวก่อนการประชุมว่า ตั้งแต่ดำรงตำแหน่งประธานบอร์ดเป็นเวลา 1 ปี ไม่เคยได้รับรายงานเรื่องดังกล่าวจากฝ่ายบริหาร ไม่เคยมีใครแจ้ง
เมื่อถามว่าหนักใจไหม นายกุลิศกล่าวว่า หนักใจ เพราะบอร์ดไม่เคยรับทราบเรื่องนี้เลย ไม่เคยมีการรายงานเลย วันนี้ถือเป็นการประชุมนัดแรกที่เราจะรับทราบเรื่องของโฮปเวลล์ ซึ่งได้มีการเช็กไปที่บอร์ดชุดก่อนหน้านี้ หรือเช็กนายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ อดีตรักษาการผู้ว่าฯ  รฟท. ก็ไม่เคยรับทราบเรื่องนี้เลย ทำให้การประชุมวันนี้จะเป็นการรับฟังแนวทางก่อน เนื่องจากเรื่องโฮปเวลล์เป็นเรื่องที่บอร์ดเพิ่งรับทราบ 
“ผมคิดว่าคดีนี้มันจบไปแล้วตั้งแต่ศาลชั้นต้น ศาลชั้นกลาง แต่ปรากฏว่าตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่งประธานบอร์ดในวันที่ 27 เม.ย.2561 จนถึงปัจจุบัน รถไฟไม่เคยรายงาน เราก็ไม่เคยได้รับรายรายละเอียดการนำพิจารณาต่อศาลปกครองสูงสุดอยู่ในการดำเนินการ เราไม่เคยได้รับการรายงาน วันนี้จะต้องมาไล่บี้ว่าเกิดอะไรขึ้น และดูว่าต้องตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงหรือไม่ หรือสอบสวนว่าทำไมบอร์ดถึงไม่ได้รับรายงานเรื่องนี้จากฝ่ายบริหารเลย จนกระทั่้งมีคำตัดสินของศาลออกมา” นายกุลิศกล่าว
      ด้านนายเอก สิทธิเวคิน รองผู้ว่าการกลุ่มอำนวยการ รฟท. กล่าวว่า ได้สรุปจำนวนดอกเบี้ยและเงินต้นทั้งหมดในกรณีนี้ พบว่าต้องจ่ายให้กับโฮปเวลล์ประมาณ 25,000 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินต้น 12,000 ล้านบาท และดอกเบี้ย 13,000 ล้านบาท ซึ่งขั้นตอนต่อไป รฟท.จะเสนอจำนวนวงเงินที่ต้องจ่ายคืนให้กระทรวงคมนาคมในวันจันทร์ที่ 29 เม.ย.นี้ ก่อนเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันอังคารที่ 30 เม.ย. โดยยืนยันที่จะขอให้รัฐบาลและกระทรวงคมนาคมช่วยจ่ายหนี้ก้อนนี้ด้วย เนื่องจากปัจจุบัน รฟท.มีหนี้สะสมอยู่แล้วประมาณ 1.2 แสนล้านบาท
“แม้ค่าชดเชยดังกล่าวจะถูกบันทึกเป็นกำไรขาดทุนในผลประกอบการ แต่สุดท้ายรัฐบาลก็ต้องช่วยเหลือให้ รฟท. ตามมาตรา 43 แห่ง พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทยอยู่ดี ขณะเดียวกันไม่ว่ารัฐบาลจะให้ รฟท.ใช้หนี้จำนวนเท่าไหร่ อาจต้องทำเรื่องเสนอกู้เงินทั้งหมดเพื่อมาใช้หนี้ โดยหาจากแหล่งเงินภายในประเทศเป็นหลัก” นายเอกกล่าว
ภายหลังการประชุม นายกุลิศกล่าวว่า ที่ประชุมได้สั่งการรักษาการผู้ว่าฯ รฟท. สำนักกฎหมายการรถไฟ ทำงานร่วมกับกระทรวงคมนาคม สำนักงานอัยการสูงสุด กรมบัญชีกลาง และสำนักงบประมาณดำเนินการตามคำพิพากษาโดยให้รัฐมีผลกระทบน้อยที่สุด ซึ่งเบื้องต้นตั้งกรอบทำงานในเวลา 180 วัน ในการเตรียมข้อมูลเท่าที่การรถไฟฯ จะหาได้ และให้ถือเป็นวาระสำคัญที่ต้องติดตามในการประชุมบอร์ดทุกครั้ง
"เรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่สำหรับบอร์ด ซึ่งชุดปัจจุบันที่รับงานมาตั้งแต่วันที่ 27 เม.ย.2561 ไม่ได้รับทราบข้อมูลเรื่องนี้เลย จนกระทั่งศาลมีคำพิพากษามา เพราะฉะนั้นจึงได้ให้การรถไฟฯ ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ทำรายละเอียดความเป็นมาเพื่อให้บอร์ดรับทราบว่าคดีตั้งแต่ปี 2533-2534 ที่เริ่มดำเนินการจนบอกเลิกสัญญาในวันที่ 7 ต.ค.2540 มีความเป็นมาอย่างไร และหาแนวทางที่ดีที่สุดในการดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด โดยที่ให้รัฐได้ประโยชน์สูงสุด" นายกุลิศกล่าว และว่า นอกเหนือจากการเตรียมหาข้อมูลและตั้งทีมทำงานเพื่อประสานงานเกี่ยวกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว รวมถึงต้องพิจารณาแนวทางการเจรจากับโฮปเวลล์ด้วย จากนั้นจะกำหนดกรอบเวลาทำงานต่อไป 
นายกุลิศกล่าวอีกว่า ในเรื่องตัวเลขนั้น ขอรวบรวมข้อมูลให้ชัดเจนก่อน ต้องรอการรถไฟฯ หาข้อมูลก่อน แต่จะมีการนำเสนอรายงานข้อมูลให้รับทราบกระทรวงคมนาคมในวันที่ 29 เม.ย.นี้ ขณะที่การเอาผิดเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินการโครงการในขณะนั้น อาจเอาผิดย้อนหลัง แต่ต้องให้ความเป็นธรรมกับเจ้าหน้าที่ด้วย เนื่องจากบางคนเข้ามาในช่วงที่โครงการจบแล้ว โดยยืนยันว่าในการประชุมบอร์ดครั้งหน้าจะพยายามให้ชัดเจนมากที่สุด เพราะจำนวนหนี้ที่เกิดขึ้นย่อมมีผลกระทบต่อแผนฟื้นฟูองค์กรของการรถไฟฯ แน่
“สัปดาห์หน้าจะหารือร่วมกับกระทรวงคมนาคมและสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อหาตัวเลขที่มาจากแหล่งต่างๆ ให้เป็นแหล่งเดียวกัน โดยคาดว่าจะชัดเจนในการตั้งคณะทำงานในช่วงเวลา 1 เดือน ส่วนตัวเลขที่ต้องจ่ายเงินชดเชย 25,000 ล้านบาทหรือไม่นั้น จะไม่ขอพูด เนื่องจากต้องตรวจสอบในรายละเอียด หากมีการพูดไป และปรากฏว่าเป็นตัวเลขที่มากหรือน้อยเกินไป ก็จะเกิดความเสียหายได้” นายกุลิศกล่าว
ด้านนายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าฯ รฟท. กล่าวว่า หลังจากนี้ต้องทำงานร่วมกันทั้ง 3 ฝ่าย ทั้ง รฟท. อัยการ และกระทรวงคมนาคม และในวันจันทร์ ที่ 29 เม.ย.นี้ จะรายงานมติบอร์ดที่ได้ข้อสรุปให้นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม รับทราบก่อนเสนอรายงานไปยังที่ประชุม ครม.ในวันที่ 30 เม.ย.นี้
"เรื่องการจ่ายค่าชดเชยนั้น เป็นอำนาจในการต่อรอง ภายในสัปดาห์หน้าจะตั้งทีมงานแล้วเสร็จ เพื่อไปหารือกับหน่วยงานต่างๆ และคาดว่าจะได้ข้อสรุปแนวทางในการจ่ายค่าชดเชยที่ชัดเจนภายใน 1 เดือน โดยแนวทางอาจมีหลายรูปแบบ เช่น เจรจาผ่อนชำระ และการให้สิทธิ์เข้ามาบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ของ รฟท. เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าคำพิพากษาครั้งนี้ไม่กระทบกับการลงทุนโครงการต่างๆ ของ รฟท. ยังคงเดินหน้าต่อไป" นายวรวุฒิกล่าว
นายเอกกล่าวว่า ขั้นตอนต่อจากนี้ รฟท.จะเสนอจำนวนวงเงินที่ต้องจ่ายคืนให้กระทรวงคมนาคมในวันที่ 29 เม.ย. โดยยืนยันที่จะขอให้รัฐบาลและกระทรวงคมนาคมช่วยจ่าย เนื่องจากปัจจุบัน รฟท.มีหนี้สะสมอยู่ประมาณ 1.2 แสนล้านบาท.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"