ครม.-คสช.จะโชว์ผลงาน จ่อล้างคำสั่งไร้ประโยชน์


เพิ่มเพื่อน    

 "บิ๊กตู่" ถกร่วม “ครม.-คสช.” จ่อแถลงผลงานครบ 5 ปี เผยมีประกาศ-คำสั่ง คสช. 456 ฉบับ จ่อใช้ ม.44 ออกคำสั่งหัวหน้า คสช.ยกเลิก 68 ฉบับ คงเหลือ 65 ฉบับที่ยังมีประโยชน์ให้เกิดความต่อเนื่องพร้อมปรับโอนหน้าที่ คสช.ให้ กอ.รมน. "วิษณุ" ยัน รมต.ลาออกไปเป็น ส.ว.ต้องมีผู้รักษาการไม่ให้เกิดช่องว่างการทำงาน ตั้ง "สมคิด" ใช้อำนาจ รมว.การอุดมศึกษา  

    เมื่อวันอังคาร พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวภายหลังการประชุมร่วมคณะรัฐมนตรี(ครม.) และ คสช.ว่า การประชุมวันนี้เป็นการทบทวนเรื่องกฎหมายต่างๆ ที่เคยคุยกันไปแล้วว่ากฎหมายใดมีความจำเป็นที่จะยกเลิกคำสั่ง คสช. หรือมาตรา 44 มีหลายเรื่องด้วยกัน โดยได้มอบหมายนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ชี้แจงว่าเกี่ยวกับเรื่องใดบ้าง ทั้งนี้ ประกาศ คสช.คำสั่ง คสช.และคำสั่งหัวหน้าคสช. รวมกันทั้งหมด 456 ฉบับ ซึ่งเคยประกาศใช้คนละวาระกัน ส่วนกฎหมายที่จะต้องคงไว้มีประมาณ 65 ฉบับ คณะทำงานกำลังทบทวนอยู่
    นายกฯ กล่าวว่า รายละเอียดการดำเนินการมีการยกเลิกและอยู่ระหว่างจัดทำร่างคำสั่งหัวหน้า คสช. เพื่อยกเลิก 68 ฉบับ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างจัดทำกฎหมายและใช้กฎหมายใหม่ 77 ฉบับ และมีการเสนอมาตรการเพื่อรองรับในระยะยาว 65 ฉบับ ที่ยังมีประโยชน์เพื่อใช้ให้เกิดความต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม กฎหมายทั้ง 456 ฉบับ หากแยกออกจะเป็นเรื่องของ พ.ร.บ.งบประมาณ พ.ร.บ.ความสำคัญทางเศรษฐกิจ พ.ร.บ.การบริหารระบบราชการ พ.ร.บ.มหาวิทยาลัย พ.ร.บ.สำคัญทางสังคม
    “สิ่งที่ทำมาไม่ได้มีอะไรเสียหายทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คสช.ที่ได้ทำงานมา วันนี้ได้มีการสรุปการทำงาน และจะมีการแถลงผลงาน ซึ่งรัฐบาลก็ได้เตรียมแถลงผลงานในเว็บไซต์ให้รับทราบต่อไปในอนาคต เป็นผลงานในปีที่ 5 และ คสช. 5 ปีที่ผ่านมา สิ่งสำคัญที่สุดคือ เรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อย ความมีเสถียรภาพในการทำงานช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ตลอดจนถึงงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และยังคงต้องดูแลต่อไป วันหน้ามีแผนในการปรับโอนหน้าที่ของ คสช.ให้กับ กอ.รมน. โดยมีการจัดโครงสร้างไว้รองรับแล้ว เพื่อเป็นหน่วยงานในการบูรณาการ ไม่ใช่เป็นหน่วยงานที่จะไปควบคุมสั่งการใครทั้งสิ้น ต้องปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาล รับคำสั่งนายกรัฐมนตรีทั้งหมด ในฐานะ ผอ.รมน. ไม่ว่าใครจะเป็นนายกรัฐมนตรีก็ตาม” นายกฯ กล่าว
    ด้านนายวิษณุ แถลงผลการประชุมร่วมระหว่างคสช.กับ ครม.ว่า ในที่ประชุมมีการรายงานผลดำเนินการที่เกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รวมถึงมีการสรุปการออกกฎหมายของ คสช.และ ครม.ที่ผ่านมาเกือบ 5 ปี โดยในส่วนของ คสช.มีทั้งสิ้น 456 ฉบับ แบ่งเป็น ประกาศ คสช. ที่ออกมาก่อนจะมีรัฐบาล 132 ฉบับ คำสั่ง คสช. 166 ฉบับ และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ออกโดยใช้อำนาจมาตรา 44 จำนวน 158 ฉบับ ยกเลิกไปแล้ว 74 ฉบับ, สิ้นผลไปในตัวเองเมื่อเสร็จภารกิจ 133 ฉบับ และจะสิ้นผลไปโดยอัตโนมัติเมื่อ คสช.พ้นตำแหน่ง 39 ฉบับ เหลือ 210 ฉบับ โดยจะมีการใช้มาตรา 44 ออกคำสั่งหัวหน้า คสช.ยกเลิก 68 ฉบับ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างร่างคำสั่งหัวหน้า คสช. และจะมีบางคำสั่งให้บางฉบับมีผลบังคับใช้ต่อไปอีกระยะหนึ่ง นอกจากนี้กระทรวงที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างทำกฎหมายใหม่ของตัวเองเพื่อทดแทนและยกเลิกไปในตัว 77 ฉบับ
     “จะเหลือ 65 ฉบับ ที่จะอยู่ต่อไปจนรัฐบาลหน้า เพราะมีความจำเป็นต้องคงไว้ ซึ่งหน่วยงานขอให้คงไว้ เช่น เรื่องไอยูยู การแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว ICAO โดยมีการคำแนะนำให้ถ่ายโอนไปเป็น พ.ร.บ.ปกติ แต่หากรัฐบาลหน้าอยากจะยกเลิกหรือแก้ไขสามารถดำเนินการได้” นายวิษณุกล่าว
     รองนายกฯ กล่าวว่า ในส่วนของ ครม.ที่เสนอกฎหมายให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ออกเป็น พ.ร.บ.นั้น มีจำนวน 456 ฉบับเช่นกัน โดยมีกฎหมายที่สำคัญ อาทิ พ.ร.บ.หลักประกันทางธุรกิจ การลดภาษีเงินได้นิติบุคคล กฎหมายจัดตั้งกรมท่าอากาศยาน พ.ร.บ.การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ กฎหมายจัดตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กฎหมายจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ร.บ.กองทุนยุติธรรม
    นายวิษณุกล่าวถึงกรณีที่รัฐมนตรี 15 คน ขอลาออกจากตำแหน่งเพื่อเตรียมไปเป็น ส.ว.ว่า การประชุม ครม.ในครั้งต่อๆ ไปจะยังสามารถทำได้ตามปกติ เพราะเหลือรัฐมนตรีที่ทำหน้าที่อยู่จำนวน 17 คน โดยจะมีการประชุม ครม.ในสัปดาห์หน้า เนื่องจากยังมีเรื่องจากกระทรวงต่างๆ ที่ต้องสู่การพิจารณาของ ครม. แม้บางกระทรวงที่ส่งเรื่องเข้ามา แต่รัฐมนตรีที่ประจำกระทรวงนั้นลาออกไปแล้ว ครม.ก็ต้องพิจารณาเรื่องของกระทรวงดังกล่าว เพราะยังไม่รู้ว่าจะจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ได้เมื่อใด
       นายวิษณุกล่าวว่า ส่วนการแบ่งมอบหมายงานแทนรัฐมนตรีที่ลาออกจากตำแหน่งนั้น เนื่องจากใบลาออกของรัฐมนตรีที่ยื่นมาแล้วนั้นยังไม่มีผล ขณะที่รัฐมนตรีบางคนยังไม่ยื่นใบลาออก และบางคนที่จะลาออกก็ยังไม่รู้เรื่อง ซึ่งตนเข้าใจว่าทุกอย่างจัดการเสร็จเรียบร้อยภายใน 1-2 วันนี้ จากนั้นจะมีการมอบหมายงานออกมาเป็นที่ชัดเจน โดยในการประชุม ครม.ที่ 7 พ.ค. ได้พูดคุยกันในเชิงหลักการว่ากระทรวงใดที่จะมีแค่รัฐมนตรีช่วยว่าการ ไม่มีรัฐมนตรีว่าการ หรือผู้ที่เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการดูแลทั้งกระทรวงได้ แต่ถ้ากระทรวงใดที่ไม่มีทั้งรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการ ที่จากนี้จะมีจำนวน 8 กระทรวง ก็ขอให้แต่งตั้งผู้รักษาการรัฐมนตรีกระทรวงนั้นต่อไป ซึ่งสามารถมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาการ โดยส่วนใหญ่จะให้ผู้ที่เคยกำกับงานด้านนั้นๆ มาก่อน 
    "ขอยืนยันว่าต้องมีผู้รักษาการ ไม่ให้เกิดช่องว่างในการทำงานแน่นอน สำหรับกรณีที่ ครม.มีมติแล้วในวันนี้ คือการแต่งตั้งนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจของ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ส่วนงานของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีนั้น ไม่ใช่เรื่องยาก สามารถมอบหมายให้ผู้ที่เป็นรัฐมนตรีด้วยกันดูแลแทนได้ เพราะรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ไม่ได้กำกับหรือสั่งการกระทรวง แต่ทำหน้าที่กำกับหน่วยงาน อาทิ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา กรมประชาสัมพันธ์" นายวิษณุกล่าว
    พล.ต.อธิสิทธิ์ ไชยนุวัติ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในที่ประชุม ครม. พล.อ.ประยุทธ์ขอบคุณรัฐมนตรีทั้ง 15 คนที่ลาออกจากตำแหน่งเพื่อไปเป็น ส.ว. ที่ร่วมกันทำงานมา โดยระบุว่าขนาดนี้จะเหลือรัฐมนตรีที่ทำงาน 17 คน ซึ่งยังสามารถทำงานได้ตามปกติ นอกจากนี้นายวิษณุได้รายงานถึงกฎหมายและประกาศฉบับต่างๆ ของ คสช. ทั้งที่หมดวาระการบังคับใช้ไปแล้วรวมทั้งสิ้น 456 ฉบับ และที่จะต้องแปลงไปเป็นกฎหมายปกติ รวมถึงยังได้รายงานกฎหมายในส่วนของรัฐบาลที่ผ่านการเห็นชอบของ สนช.ด้วยอีก 456 ฉบับ ในที่ประชุมมีการสรุปการทำงาน และเตรียมแถลงผลงาน 5 ปีของ คสช. และผลงานรัฐบาลครบรอบ 5 ปีด้วยเช่นกัน โดยจะจัดทำเป็นรูปเล่มเหมือนเช่นทุกปีให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 22 พ.ค.นี้ เนื่องจากครบรอบ 5 ปี รัฐบาลและคสช.พอดี    
    พล.ต.อธิสิทธิ์ ไชยนุวัติ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ครม.เห็นชอบหลักการร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ) ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ โดยมีสาระสำคัญกำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเป็นส่วนราชการระดับกรมที่จัดตั้งขึ้นใหม่ที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีภารกิจเกี่ยวกับการสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ  และกำหนดให้ในวาระเริ่มแรกให้เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติไปพลางก่อน จนกว่าจะมีการแต่งตั้งใหม่.
    


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"