ไทยต้องปักธง 5 จี ก่อนใครในอาเซียน


เพิ่มเพื่อน    

 

บรรดาประเทศชั้นนำของโลก ทั้งจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา และเยอรมนี ได้เริ่มต้นนับหนึ่งกับเทคโนโลยี 5จี กันแล้ว อย่างในประเทศเยอรมนี เพิ่งมีการเปิดประมูลคลื่นความถี่เมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2562 ที่ผ่านมา ทั้งนี้มีการประเมินกันว่า เทคโนโลยี 5จี จะเริ่มต้นใช้งานกันอย่างเป็นทางการในปี2020 ที่จะถึงนี้

 

ทั้งนี้ในปี 2563 จะเป็นปีที่มียูสเคส (การใช้งาน) เกี่ยวกับเทคโนโลยี 5จี ในเชิงรูปธรรมออกมามากที่สุด โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น ที่มีแผนจะนำเสนอความสามารถของ 5จี มาใช้กับมหกรรมกีฬาโอลิมปิก ซึ่งตนเองเป็นเจ้าภาพ

 

สำหรับประเทศไทยเอง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ก็ได้เตรียมความพร้อมสำหรับการเริ่มต้น นับ 1 สำหรับเทคโนโลยี 5จี โดยที่ผ่านมาก็ได้เปิดให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือได้เริ่มต้นทดสอบ บริการ 5จี ไปบ้างแล้ว ตั้งแต่ปี 2561

 

ขณะเดียวกัน กสทช.เองก็ได้ร่วมลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติและทดสอบ5จี เป็นเวลา 2 ปี ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในชื่อ ศูนย์ 5จี เอไอ/ไอโอที อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ ซึ่งตั้งอยู่ในอาคารคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยภารกิจในศูนย์นี้ จะทำหน้าที่ทดสอบ 5จี บนคลื่นความถี่ย่าน 26-28 กิกะเฮิรตซ์ ในการเตรียมความพร้อม และรองรับการให้บริการโทรคมนาคมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

 

 

โดยภายในศูนย์มีการติดตั้ง และดูแลอุปกรณ์สถานีฐานของโครงข่าย 5จี ซึ่งได้รับความร่วมมือจากผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Operator) ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคม (Vendor) และภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง ทั้งนี้ เพื่อให้หน่วยงานด้านโทรคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมศึกษาและพัฒนารูปแบบการใช้งาน (Use Case) ร่วมกัน เพื่อให้ทราบถึงทิศทางการนำ 5จี ไปใช้งานสำหรับประเทศไทยในอนาคต และเมื่อ 5จี พร้อมให้บริการสามารถนำไปใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพได้ทันที

 

 

ทั้งหมด คือ การเตรียมความพร้อมเบื้องต้น เพื่อให้ประเทศไทยเดินหน้าเข้าสู่ ยุค 5จี ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาลที่ต้องการให้ ไทย มี 5จี ใช้งานก่อนใครในอาเซียน เพราะภาครัฐต้องการปักธง ดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ในฐานะประเทศที่มุ่งในการพัฒนาอุตสาหกรรมไฮเทค

 

สำหรับปัจจัยที่จะทำให้ 5จี เกิดขึ้นในประเทศไทย จะประกอบไปด้วย 3 ปัจจัยหลัก ปัจจัยที่ 1 Spectrum (คลื่นความถี่) ซึ่งที่เตรียมจะมีการประมูลในเร็วนี้ๆ มี 2 คลื่น คือ คลื่นความถี่ย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน (Bandwidth) 90 เมกะเฮิรตซ์ และคลื่นความถี่ย่าน 2600 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 180 เมกะเฮิรตซ์ ขณะเดียวกันยังมีคลื่นกลุ่มใหม่ที่อยู่ในความสนใจ คือ คลื่นย่าน 3.5 กิกะเฮิรตซ์ (C-Band) จำนวนสูงสุด 200 เมกะเฮิรตซ์ และคลื่นย่าน 26 และ 28 กิกะเฮิรตซ์ จำนวนสูงสุด 3 กิกะเฮิรตซ์

 

 

โดยนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ระบุว่า คลื่นความถี่ย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์ที่ปัจจุบันใช้ในกิจการทีวีดิจิทัล จะมีการปรับเปลี่ยนมาใช้ในกิจการโทรคมนาคมนั้นจำเป็นต้องอาศัยระยะเวลาในการปรับปรุงโครงข่าย กสทช. จึงมีการพิจารณาให้มีการจัดการประมูลคลื่นความถี่ล่วงหน้า ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าจะเกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2562 และเมื่อคลื่นความถี่พร้อมใช้งานจึงเริ่มนับอายุใบอนุญาต ซึ่งคาดว่าคลื่นความถี่ดังกล่าว จะสามารถใช้ได้เร็วสุดในเดือนธันวาคม2563

 

ส่วนในกรณีของคลื่นความถี่ย่าน 2600 เมกะเฮิรตซ์ นั้น สำนักงาน กสทช. อยู่ในขั้นตอนดำเนินการเรียกคืนคลื่นความถี่ย่าน 2600 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อนำกลับมาจัดสรรด้วยวิธีประมูล

 

ปัจจัยที่ 2 Infrasturcture (โครงสร้างพื้นฐาน) ต้องยอมรับว่า เทคโนโลยี 5จี นั้นจะต้องรองรับการรับส่งข้อมูลปริมาณมาก ฉะนั้นเพื่อให้เกิดการใช้งานที่เสถียร จะต้องมีการลงทุนจำนวนมหาศาล เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศเพื่อไม่ให้เกิดคอขวดในการใช้งาน ดังนั้น ทาง กสทช. ก็จะพยายามสนับสนุนให้เกิดการร่วมกันขยายข่ายโครงสร้างพื้นฐานของผู้ให้บริการ หรือ infrastructure sharing จะช่วยลดวงเงินลงทุนตั้งต้นและความเสี่ยงจากการลงทุนให้กับผู้ให้บริการแต่ละรายได้ และสามารถขยายโครงข่ายให้มีพื้นที่บริการให้ครอบคลุมรวดเร็วยิ่งขึ้น

 

ปัจจัยที่ 3 Connectivity (การเชื่อมต่อ) สำหรับเทคโนโลยี 5จี จะเป็นโครงข่ายอัจฉริยะที่ไม่ใช่เพียงเชื่อมโยงมนุษย์ด้วยกันแบบกรณี 4G แต่เป็นโครงข่ายที่รองรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตสรรพสิ่ง หรือไอโอที (Internet of Things) และการสื่อสารของ AI อีกด้วย ดังนั้น การเชื่อมโยงโครงข่ายของ 5จี จะต้องออกมาดี
มีความง่าย และเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่หลากหลายแบบไร้รอยต่อ ดังนั้นหน้าที่ของ กสทช. คือ การจัดการให้ผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่อได้อย่างสะดวก การจัดการให้ผู้ประกอบการสามารถติดตั้งอุปกรณ์และให้บริการในรูปแบบใหม่ๆได้ มีค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก เป็นสิ่งสำคัญ

 

 

ดังนั้น 5จี จึงเป็นสิ่งที่รอไม่ได้เพราะหากประเทศไทยขยับตัวช้า จะส่งผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขัน และส่งผลต่อภาคการผลิตและภาคอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมหาศาล ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม ต่อไปในระยะยาว

 

ทั้งนี้ทาง กสทช. ก็มีเป้าหมายชัดเจนว่า 5จีในประเทศไทยจะต้องเกิดขึ้นอย่างช้าสุด คือปลายปี 2563 หรือต้นปี 2564 ซึ่งก็เชื่อว่า ทุกอย่างจะเป็นไปตามที่ตั้งเป้าเอาไว้

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"