5จี ปฏิวัติระบบสาธารณสุขของประเทศ


เพิ่มเพื่อน    

เมื่อช่วงกลางเดือนมี..ที่ผ่านมา สื่อทางการของประเทศจีน รายงานว่า ศัลยแพทย์ชาวจีนได้ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดสมองของคนไข้รายหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างไกลราว 3,000 กิโลเมตรผ่านเทคโนโลยี 5จี ได้เป็นผลสำเร็จครั้งแรก

 

รายงานระบุว่า ตัวผู้ป่วยนั้นเข้ารักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลกรุงปักกิ่ง แต่แพทย์ผู้ผ่าตัดนั้นอยู่ที่โรงพยาบาลในเกาะไหหลำทางใต้ของประเทศ โดยทีมแพทย์ผู้ทำการรักษาได้ใช้เวลาผ่าตัดราว 3 ชั่วโมง ผ่านหุ่นยนต์ผ่าตัดโดยใช้ระบบ 5 จี ในการผ่าตัดแก้ไขโรคพาร์กินสัน โดยกระตุ้นสมองส่วนลึก (deep brain stimulations) หรือ DBS จนกระทั่งการผ่าตัดสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และคนไข้อาการดีขึ้นตามลำดับ

 

 นี่คือส่วนหนึ่งของยูสเคสที่เกิดขึ้น สำหรับการเข้ามาของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงยุคที่ 5 หรือ 5จี

 

อย่างที่ทราบกันดีว่า เทคโนโลยี 5จี จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในวงการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่ง 5จี จะช่วยลดช่องว่างในการได้รับการรักษาพยาบาลที่เท่าเทียม ระหว่างคนชนบท และ คนเมือง โดยการใช้การรักษาทางไกลผ่านระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (telehealth) ซึ่งขณะนี้มีการวิจัยและทดลองการผ่าตัดทางไกลมากมาย และอย่างเคสที่ยกมาข้างต้น ในประเทศจีน ก็ถือเป็นการพัฒนาการรักษาโดยใช้เทคโนโลยีดังกล่าวและประสบความสำเร็จอย่างมาก

อย่างไรก็ดีคาดว่า ในเร็วๆนี้ จะมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์เชิงพาณิชย์ ที่รองรับเทคโนโลยี 5จี ปล่อยออกมาอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งก็หมายความในอนาคตอันใกล้นี้การแพทย์จะเข้าถึงผู้คนทั่วโลก และทำให้คุณภาพชีวิตของมนุษยชาติดีขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีจะเชื่อมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับผู้ป่วยได้ แม้ว่าจะอยู่คนละสถานที่กันก็ตาม

 

 สำหรับประเทศไทยเองก็ตระหนักถึงเรื่องการลดช่องว่างการเข้าถึงเรื่องสาธารณสุขด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศเรากำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มตัว และขณะเดียวกันการพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ก็มีจำกัด และไม่เพียงพอต่อการดูแลผู้ป่วย ซึ่งทางสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(สำนักงาน กสทช.) มองว่า เทคโนโลยีการสื่อสาร 5จี จะเข้ามาช่วยในเรื่องการดูแลสุขภาพของประชาชนให้ดีขึ้นได้

 โดยก่อนหน้านี้ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวในงานสัมมนาทางวิชาการ TCT/TTA Joint Seminar 2019 โดยระบุว่า ในอนาคตหลายประเทศทั่วโลก จะต้องเผชิญปัญหาการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุ และสำหรับในไทยก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ โดยปัจจุบันไทยมีผู้สูงวัยอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป คิดเป็น 7% ของจำนวนประชากรทั้งหมด และคาดว่าปี 2566 ประเทศไทยจะมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็น 14% ของจำนวนประชากร จึงเรียกได้ว่าอีก 3-4 ปีข้างหน้า ไทยจะก้าวเข้าสู่ยุคของสังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ และคาดว่าปี 2578 ประเทศไทยจะมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น เทียบเท่ากับประเทศญี่ปุ่นที่ปัจจุบันมีจำนวนผู้สูงอายุเกินกว่า 20% ดังนั้น จะทำอย่างไรเพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี

 

 ทั้งนี้สิ่งที่ช่วยแก้ปัญหา ก็คือ เทคโนโลยี 5จี ซึ่งจะเข้ามาช่วยลดภาระของภาครัฐ ในการจัดสรรงบประมาณ และอัตราคนเข้ารับการรักษา  ซึ่งจากข้อมูล คาดว่าปี 2553-2565 รัฐบาลจะต้องแบกรับค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาพยาบาลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น เป็น 1.1% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จากเดิม 0.6% ของจีดีพี และเพื่อลดค่าใช้จ่าย กสทช. จึงมีแผนงานนำเทคโนโลยี 5จี โดยระบบการให้บริการแพทย์ทางไกล เชื่อมโยงกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เพื่อทำการรักษาพยาบาลใน 4 โรค ได้แก่ โรคตา โรคผิวหนัง โรคความดัน และโรคเบาหวาน โดยที่ผู้สูงอายุไม่ต้องเดินทางไปพบแพทย์ในเมือง ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำของผู้คนในสังคม

 

ขณะเดียวกัน ในการประชุมคณะกรรมการกสทช. เมื่อเร็วๆนี้ ก็มีมติอนุมัติงบ 18.8ล้านบาท ทำระบบรักษาทางไกลผ่านระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง "Telehealth" รักษาสุขภาพนักโทษ

 

โดยนายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่า โครงการดังกล่าวจะเป็นการรักษาทางไกลผ่านระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือ Telehealth นำร่องก่อนที่เรือนจำ 2 แห่งก่อน ได้แก่ เรือนจำเขาบิน จังหวัดราชบุรี และเรือนจำจังหวัดเชียงราย โดยทั้ง 2 เรือนจำเป็นเรือนจำที่มีจำนวนผู้ต้องขังจำนวนมาก ซึ่งเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังให้สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ ให้ได้รับการบริการที่มีมาตรฐาน และประสิทธิภาพ เท่าเทียมกับบุคคลภายนอก สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน และมนุษยธรรม โดยมีระยะเวลาการดำเนินโครงการ 24 เดือน

 

จะเห็นได้ว่า การเร่งผลักดันเทคโนโลยี 5จี นั้นมีส่วนสำคัญอย่างมาก ต่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งจะมีความแตกต่างจากยุค 4จี อย่างสิ้นเชิง เพราะ 4จี จะเน้นการใช้งานสำหรับบุคคลและการใช้งานภายในบ้าน แต่สำหรับ 5จี จะเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหม่ในทุกวงการเลยทีเดียว อย่างในวงการแพทย์และสาธารณสุข ก็จะมีการพลิกโฉมจากหน้ามือเป็นหลังมือ

 

 ทั้งนี้หากทุกหมู่บ้านในประเทศไทยกว่า 74,987 หมู่บ้าน จะสามารถใช้งานบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงได้ครอบคลุมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นทางบรอดแบนด์ หรือ ทางเครือข่ายไร้สาย ก็จะช่วยให้เกิดระบบการให้บริการแพทย์ทางไกล ได้ง่ายขึ้นและสะดวกขึ้น ซึ่งจะก็ช่วยลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสาธารณสุขของรัฐบาลได้ถึงเฉลี่ย 38,000 ล้านบาทต่อปีเลยทีเดียว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"