สิงห์รถบรรทุกร่อนหนังสือถึงสตช.-กทม.-ขบ. เหตุตั้งจุดตรวจควันดำถี่


เพิ่มเพื่อน    

 


18 พ.ค.62-นายชุมพล สายเชื้อ นายกสมาคมขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ไทย (TTLA) เปิดเผยถึงกรณีการตั้งด่านตรวจจับควันดำรถบรรทุกขนส่งสินค้าว่า จากการหารือร่วมกับสมาชิกของสมาคมฯ ที่มีมากกว่า 400 บริษัทนั้น กรณีดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของผู้ประกอบการ ทั้งในด้านการให้บริการกับลูกค้าที่อาจจะได้รับสินค้าล่าช้า รวมไปถึงทำให้ผู้ประกอบการต่างๆ ไม่สามารถวิ่งให้บริการได้ตามเที่ยวที่กำหนดไว้ เนื่องจากการตั้งด่านของทางเจ้าหน้าที่นั้น มีระยะถี่หรือซ้ำซ้อนจนเกินไป เป็นเหตุให้เกิดการจราจรติดขัดเป็นวงกว้าง ขณะเดียวกัน ไม่มั่นใจถึงกระบวนการตรวจเช็ค อุปกรณ์ต่างๆ มีความถูกต้องตามมาตรฐานหรือไม่ 

ทั้งนี้ สมาคมฯ จึงได้ทำหนังสือถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.), กรุงเทพมหานคร (กทม.) และกรมการขนส่งทางบก(ขบ.)เพื่อขอความร่วมมือให้ลดการตั้งด่านตรวจควันดำลง เพื่อไม่ให้ถี่จนเกินไป ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการขนส่งสามารถวิ่งรอบเที่ยวได้มากตามที่กำหนดไว้ โดยในกระบวนการแล้ว ก่อนที่รถที่จะนำออกมาวิ่งให้บริการนั้น ได้มีการตรวจเช็คสภาพรถก่อนต่อใบอนุญาตจาก ขบ.แล้ว หากต้องการจะตรวจเช็คเพิ่มเติม เสนอให้ตรวจปีละ 1-2 ครั้งได้ นอกจากนี้ สมาคมฯ ได้เสนอให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จะต้องสร้างความมั่นใจว่า การตรวจควันดำเป็นไปตามมาตรฐานตามที่กำหนดไว้ 

“ทางสมาคมเราเข้าใจถึงปัญหาการจราจร และปัญหาด้านมลภาวะ การเข้มงวดนั้น ถูกต้องแล้ว และทางเราเห็นด้วยถึงการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ แต่การตั้งด่านควันดำของเจ้าหน้าที่ ถี่เกินไป ให้ลดลงหน่อยได้ไหม เพราะ ส่งผลกระทบด้านการจราจรโดยตรง ซึ่งในเรื่องของควันดำ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ จะมีการตรวจสภาพรถและเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเป็นประจำอยู่แล้ว บางครั้ง เพิ่งออกจากศูนย์ เจอด่าน ตรวจเจอควันดำ จึงไม่แน่ใจว่ามาตรฐานในการตรวจเป็นอย่างไร ที่สำคัญส่งผลกระทบอย่างยิ่งกับผู้ประกอบการ ที่จะต้องเสียค่าปรับ และวิ่งรอบเที่ยวได้น้อยลง ทำให้มีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น สะท้อนไปยังต้นทุนด้านโลจิสติกส์ที่อาจจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย” นายชุมพล กล่าว

ด้านนายกมล บูรณพงศ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.)กล่าวว่า ในส่วนของมาตรฐานการตรวจวัดควันดำและการตั้งด่านสุ่มตรวจควันดำนั้น มีค่ามาตรฐานจำกัดเดียวกันทั่วประเทศ ซึ่งทุกหน่วยงานต้องนำไปปฏิบัติ เนื่องจากมีกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม เป็นผู้กำหนดตัวเลขเกณฑ์ตรวจวัด ซึ่งเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยต้องนำไปปฏิบัติด้วยความเป็นมาตรฐานเดียวกัน 

ทั้งนี้ ในการตั้งด่านตรวจควันดำนั้น คงต้องบูรณาการควบคู่กันไปทั้ง ขบ.และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งมีการแบ่งประเภทการตรวจสอบอยู่แล้ว กล่าวคือ ขบ.ดูแลการตรวจวัดควันดำของรถโดยสารสาธารณะและรถเชิงพาณิชย์ เช่น รถบรรทุกสินค้า มีเกณฑ์โทษปรับ 5,000 บาท ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะเน้นตรวจสอบรถโดยสารส่วนบุคคล มีโทษปรับ 1,000-2,000 บาท ซึ่งในบางครั้ง ขบ.ต้องส่งเจ้าหน้าที่ลงไปกำกับดูแลและทำงานร่วมกันในด่านของเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วย

อย่างไรก็ตาม ขบ.ได้ให้ความสำคัญกับปัญหามลพิษและควันดำ จึงได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ ขบ. เข้าไปคุมเข้มการทำงานของสถานตรวจสภาพของเอกชนให้มีมาตรฐานที่ตรงกัน นอกจากนี้ ยังได้กำหนดให้รถสาธารณะและรถเชิงพาณิชย์ต้องนำยานพาหนะมาตรวจวัดควันดำที่กรมการขนส่งทางบก ปีละ 2 ครั้ง จากปกติรถทั่วไปตรวจควันดำเพื่อต้อภาษีเพียงปีละครั้งเท่านั้น

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่า กระทรวงคมนาคมได้รับรายงานว่า ผู้ประกอบการขนส่งรถบรรทุก อยู่ระหว่างการหารือถึงมาตรการและแนวทางในการดำเนินการ หากไม่ได้รับความร่วมมือจากทางเจ้าหน้าที่ในการตั้งด่านตรวจควันดำนั้น โดยในเบื้องต้นรายงานแจ้งว่า จะมีการลงพื้นที่บริเวณด่านควันดำ เพื่อดูกระบวนการตรวจเช็คของเจ้าหน้าที่ และเตรียมนำรถบรรทุกปิดถนนด้วย


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"