"ดีไซน์ความเป็นไทย"ลงบน"แว่นตา"


เพิ่มเพื่อน    

VIRUN แรงบันดาลใจจากยักษ์วิรุณจำบัง

          หากพูดถึงไอเท็มหลักที่ผู้นำแฟชั่นทั้งหลายจะต้องมี ติดกระเป๋าอย่างแน่นอน นั้นก็คือแว่นตา ไม่ว่าจะเป็นแว่นกันแดด แว่นแฟชั่น หรือแว่นสายตา เพราะนอกจากจะใช้ในชีวิตประจำวันแล้วยังช่วยเติมเต็มสไตล์การแต่งตัวและบ่งบอกถึงคาแรคเตอร์ของผู้สวมใส่ได้เป็นอย่างดี ฉะนั้น การสวมใส่แว่นที่มีดีไซน์ล้ำสมัยจึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่มาแรงสำหรับคนรักแฟชั่น จึงทำให้แบรนด์ต่างๆ ต้องออกแบบแว่นตาให้ดูทันสมัยน่าสนใจมากขึ้น


         ในงาน “SILMO Bangkok 2019” ที่กำลังจะจัดขึ้นในวันที่ 5-7 มิ.ย. นี้ ที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี อาคาร 8 โดย บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือทีเส็บ กลุ่มบริษัทมาร์เวลผู้นำธุรกิจแว่นตาในประเทศไทย ฯลฯ จะเป็นงานแสดงสินค้าสำหรับผู้ประกอบธุรกิจร้านแว่นตาจากหลากหลายประเทศ หลากหลายแบรนด์ดังทั่วโลกที่จะมาร่วมเจรจาธุรกิจ ในเรื่องของเทรนด์แฟชั่น การออกแบบ นวัตกรรม การสร้างคอนเทนต์การตลาดต่างๆ ซึ่งถือเป็นมิติใหม่ในการขยายโอกาสและต่อยอดธุรกิจของวงการแว่นตาในภูมิภาคอาเซียน และตอกย้ำความเป็นผู้นำแฟชั่นของประเทศไทยในภูมิภาคอาเซียนด้วย


         ความโดดเด่นของงานนี้ไม่เพียงแต่เป็นงานเจรจาธุกิจ และแสดงแว่นตาจากแบรนด์ดังเท่านั้น ยังมีไฮไลท์หลักๆ คือ การประกวดผลงานดีไซน์แว่นตา “SILMO Bangkok Eyewear Design Contest 2019” ที่สนับสนุนกิจกรรมโดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ที่แสดงเอกลักษณ์ความเป็นไทย ผ่านฝีมือของนักออกแบบรุ่นใหม่ด้วย 


          ภรินธร อัศวเลิศไพบูลย์ ผู้จัดการโครงการ บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด กล่าวว่า SILMO Bangkok 2019 จัดขึ้นอีกเป็นครั้งที่สองภายใต้คอนเซ็ปต์ “Business Meets Fashion” เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจให้ผู้ประกอบการแว่นตาไทยในเวทีเทรดแฟร์ระดับโลก โดยปีนี้รวบรวมผู้ประกอบการจากทั่วโลกมากว่า 250 แบรนด์ จากกว่า 15 ประเทศ มาไว้ในงานนี้ พร้อมกับการเปิดตัวแว่นตาคอลเลคชั่นใหม่จากแบรนด์ดังต่างๆ อาทิ แบรนด์ BLAKE KUWAHARA, CAZAL, MYKITA, MOSOT, TVRxOBJxRAINMAKER,TRUE VINTAGE REVIVAL, ROAV, FENDI,TED,BAKER, ANNA SUI และ BEBERI ฯลฯ พร้อมนำเสนอเทคโนโลยีตรวจวัดสายตาระบบ AI ที่แม่นยำ ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดในรอบ 100 ปี และเครื่องตรวจวัดสายตาแบบ 3 มิติ ที่มีความละเอียดแม่นยำสูงสุด รวมถึงการสัมมนาที่น่าสนใจ เพื่อเปิดมุมมองใหม่ให้กับผู้ประกอบธุรกิจแว่นตาในการสร้างแบรนด์ในยุคดิจิทัล  

TOSSAFUN แว่นที่ได้แรงบันดาลใจจากลวดลายโขน


             ผู้จัดโครงการ ยังกล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังจะมีไฮไลท์คือแฟชั่นโชว์ จากแว่นตาคอลเลคชั่นใหม่ๆ ของแบรนด์ที่กล่าวมาข้างต้น รวมทั้งมีการจัดแสดงผลงานการออกแบบแว่นตาที่เป็นตัวผลิตภัณฑ์แว่นตาจริงๆ จากผู้ผ่านเข้ารอบการประกวด ซึ่งจะมีผลงานของนักออกแบบประเภทบุคคลทั่วไปรวมถึงนักออกแบบที่เป็นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมทั้งสิ้น 30 ผลงาน ภายใต้คอนเซ็ปต์ The Art of Siam เนื่องจากประเทศไทยมีความงดงามทางด้านศิลปวัฒนธรรมที่ค่อนข้างหลากหลาย จึงเลือกที่จะให้มีการประกวดในคอนเซ็ปต์นี้ นำเสนอความเป็นไทยในมุมมองของนักออกแบบที่ต่างกันออกไป และจะมีการประกาศผลผู้ชนะเลิศรางวัลที่ 1-3 ในงาน และผลงานของผู้ชนะจะมีโอกาสได้ไปจัดแสดงที่งาน SILMO Paris 2019 เหมือนดังเช่นปีที่ผ่านมาที่มีการนำเอาแว่นพลับพลาที่ได้แรงบันดาลใจมาจากภาพเขียนฝาผนังวัดพระแก้วตอนหนุมานอมพลับพลา แว่น LINE THAI ที่นำลายไทยมาตัดทอนทำเป็นส่วนต่างๆ ของแว่น แว่นผ้าไหม SILK Glasses ได้แรงบันดาลใจจากผ้าไหม รูปทรงทันสมัย การตกแต่งแบบไทยๆ ของกลองชุดมาปรับเปลี่ยนเป็น “Drum” จึงเป็นแว่นตาที่มีความแปลกใหม่ ดีไซน์เท่ห์ ดุดัน และแว่น CIRCUS EYE ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากละครสัตว์ ผลงานโดดเด่นที่เคยไปจัดแสดงที่ปารีสในปีที่ผ่านมา 

แว่นตาดีไซน์สุดล้ำจากแบรนด์ดัง


          สำหรับผลงานออกแบบแว่นตา ภายใต้คอนเซ็ปต์ The Art of Siam ปีนี้ กว่า 30 ผลงานที่ผ่านเข้ารอบมีความโดดเด่นแตกต่างกันไป อย่างเช่น ผลงานแว่นตา “Dokmai wai” (ดอกไม้ไหว) ของ ณัฐนัญช์ โรจนาธีรวัฒน์ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นแว่นตาที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก “ดอกไม้ไหว” เครื่องประดับศรีษะที่หญิงเมืองเหนือใช้เกล้ามวยผม เพื่อบูชาขวัญอยู่ในตัวตามคติความเชื่อ และเป็นการบูชาพระพุทธเจ้าขณะก้มกราบ ณัฐนัญช์ ให้รายละเอียดเอาไว้ว่า จากแรงบันดาลใจดังกล่าว จึงได้เปลี่ยนเครื่องประดับศรีษะดอกไม้ไหวให้กลับมามีชีวิตในรูปแบบใหม่ ในบริบทของแว่นตาที่ทำให้คนรุ่นใหม่ในปัจจุบันได้ตระหนักถึงคุณค่าทางวัฒนธรรมที่สำคัญ โดยเสน่ห์ของแว่น ทำขึ้นจากเทคนิคดุลลายฉลุ ใช้สปริงเชื่อมต่อตัวดอกกับกรอบแว่นตา เพื่อให้ตัวดอกขยับได้ และชุบตัวแว่นด้วยทอง 

แว่นตา VIRUN


        อีกหนึ่งผลงานที่น่าสนใจคือ “Tos-Sa-Fun” ออกแบบโดย พชร กังสดาลพิภพ นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ออกแบบโดยได้รับแรงบันดาลใจมากจากลวดลายสีสันที่หลากหลายของหัวโขน ประกอบกับการซ้อนทับรูปทรงเลขาคณิตพื้นฐานที่ให้ความสวยงามไม่ล้าสมัย เจ้าของผลงานบอกว่า โขน เป็นตัวแทนของศิลปวัฒนธรรมไทยมาอย่างช้านาน การจะให้โขนยังคงอยู่สืบต่อไปนั้น จึงต้องมีเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาให้ทันสมัยขึ้น จึงได้เปลี่ยนรูปร่างจากเครื่องสวมหัวกลายเป็นเครื่องประดับในรูปร่างแว่นตา โดยสีสันที่เลือกใช้นำมาจากหัวโขนต้นฉบับ นำมาลงสีบนรูปทรงเลขาคณิตที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากลายกนก นำมาเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ เปรียบเสมือนการพัฒนาต่อยอดศิลปวัฒนธรรมไทยให้มีความทันสมัยโดยใช้รากฐานของความดั้งเดิมด้วย 


        ไม่เพียงเท่านี้ ผลงาน VIRUN ของนายเสาเอก ชูทอง นักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร ก็เป็นแว่นตาที่ออกแบบมาพร้อมกับ Clip on ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากยักษ์วิรุณจำบัง ตัวละครในวรรณคดีไทยเรื่องรามเกียรติ์ ที่สามารถแปลงกายล่องหนได้ ผลงาน NONG-LUKS ของนายภูชิต ทองเงิน จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ก็ใช้คำว่า นง-ลักษณ์ แทนสัญลักษณ์ความงามของหญิงไทย โดยได้แรงบันดาลใจมาจากใบหน้าของตัวนางในวรรณคดี มาดัดแปลงให้เข้ากับยุคสมัยโดยแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ “ขนง” บริเวณกรอบเลนส์ด้านบนถูกตกแต่งให้มีลักษณะเหมือนคิ้วที่โก่งเป็นคันศร เป็นเอกลักษณ์ของหญิงไทยในอุดมคติ และ “อุบะ” จี้ที่ห้อยอยู่บริเวณข้างแว่นตาซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากมาลัยที่อยู่กับชฎาของตัวนาง และเมื่อสวมใส่ จี้ที่บริเวณเชือกด้านหลังทำให้ดูเหมือนใส่ต่างหู 

ผลงานชนะ Silmo bangkok eyewear designปี2018


    นอกจากนี้ยังมีแว่นตากันแดดที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากพระเครื่อง ดอกบัว โนราห์ ว่าวจุฬา ซออู้ ผีตาโขน เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ปลาตะเพียน ฯลฯ ติดตามผลงาน และงาน SILMO Bangkok 2019 เพิ่มเติมที่ www.silmobangkok .com และเฟซบุ๊ค silmobangkok 

 

แว่นตาที่ได้แรงบันดาลใจจากดอกไม้ไหว

 





 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"