จี้รัฐเปิดสัญญาโฮปเวลล์เพื่อความโปร่งใส พร้อมแนะแก้อนุญาโตตุลาการป้องกันค่าโง่ในอนาคต


เพิ่มเพื่อน    

สมาคมนิติฯ มธ. เตรียมยื่นหนังสือข้อเสนอแนะกรณีโฮปเวลล์ แนะแก้กฎหมายอนุญาโตป้องกันค่าโง่ในอนาคต พร้อมจี้รัฐบาลเปิดเผยสัญญาโฮปเวลล์เพื่อความโปร่งใส หนุนเอาผิดคนทุจริตเซ่นคดีค่าชดเชย

1 มิ.ย.62-ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาคมนิติศาสตร์ มหาลัยธรรมศาสตร์เตรียมยื่นหนีงสือต่อรัฐบาลถึงจุดยืนเรื่องข้อพิพาทค่าชดเชยโครงการโฮปเวลล์ มูลค่า 3.7 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นเงินต้นราว 1.2 หมื่นล้านบาท และดอกเบี้ย 2.5 หมื่นล้านบาท

1.สมควรที่รัฐบาล กระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทยจะต้องใช้สิทธิในการต่อสู้ทางกฎหมายต่อไป เช่น การใช้สิทธิขอพิจารณาคดีใหม่ ตามมาตรา 75 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ และติดตามสอบสวนผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายว่า การมีส่วนบกพร่องและต้องรับผิดชอบอย่างไรทั้งทางแพ่งและอาญา มิใช่มีท่าทีให้รีบชำระหนี้ หรือนำที่ดินของการรถไฟฯไปให้เอกชน หาประโยชน์เพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา

2.สมควรที่รัฐบาลจะพิจารณาแก้กฎหมายเพื่อกำหนดว่ากรณีที่ศาลจะเห็นว่าคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยขัดหรือไม่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีนั้น เมื่อคู่กรณีแสดงหลักฐานที่น่าเชื่อถือ ศาลจะต้องตรวจสอบถึงการรับฟังข้อเท็จจริง การตีความกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย การตีความสัญญา และการปรับข้อเท็จจริงกับข้อกฎหมายถูกต้องหรือไม่ มิใช่ดูแต่เพียงผลของคำวินิจฉัยว่าขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือไม่ แล้วตัดสินให้บังคับตามคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการไปโดยไม่ตรวจสอบลงไปในรายละเอียด

3.สมาคมฯขอเรียกร้องไปยังนักนิติศาสตร์ทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นอนุญาโตตุลาการ หรือศาลที่พิจารณาคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาการปกครองจะต้องพิจารณาวินิจฉัยข้อพิพาทให้ถูกต้องเป็นธรรมโดยคำนึงถึงดุลยภาพระหว่างการคุ้มครองประโยชน์ของเอกชนและการรักษาประโยชน์สาธารณะ เพื่อให้การวินิจฉัยข้อพิพาทได้รับการยอมรับของสังคมและประชาชน โดยปราศจากข้อเคลือบแคลงสงสัย

นายสมศักดิ์ กิตติพลังศรี นายกสมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า กรณีคดีโฮปเวลล์จะเป็นกรณีศึกษาที่เป็น ประโยชน์จากการเรียนรู้สิ่งที่ผิดพลาดในอดีตแล้วหาแนวทางมาสร้างมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดเกี่ยวกับข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อีกในอนาคต โดยที่มีรัฐและประชาชนเป็นผู้เสียหาย ซึ่งกรณีดังกล่าวไม่ใช่ฝ่ายภาครัฐต้องชนะคดีเสมอไป อย่างไรก็ตามเรื่องดังกล่าวต้องการสะท้อนให้เป็นบทเรียนในสังคมที่มีอุปสรรคความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติ ซึ่งการจัดสัมมนานี้เพื่อให้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นทางวิชาการที่มีความเป็นกลาง เพราะสมาคมฯ ไม่ได้มีประโยชน์อื่นใด นอกจากประโยชน์ของประชาชน และทำให้ประชาชนต้องสามารถคุ้มครองสิทธิของตนเองได้

ด้านนายกิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า
น่าจับตามองว่ากรณีคดีโฮปเวลล์ดังกล่าวจะสามารถหาตัวข้าราชการหรือบุคคลกระทำผิดจนเกิดเหตุดังกล่าวได้หรือไม่ ไม่เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการดังกล่าว แต่ยังรวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งเป็นผู้สนับสนุนการชงคดีให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาด้วย ว่ามีการทำให้เกิดการข้ามขั้นตอนโดยมิชอบด้วยหรือไม่ อย่างไรก็ตามการตัดสินคดีในครั้งนี้ศาลปกครองไม่ได้นำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมใหญ่เพราะมีความเห็นว่าผลการพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการไม่ขัดต่อความมั่นคงและศีลธรรมอันดีของชาติ แต่ยังมีข้อสงสัยว่าศาลปกครองได้เข้าไปตรวจสอบผู้เชี่ยวชาญด้านการวินิจฉัยอย่างรอบคอบแล้วหรือไม่ ถึงปัจจัยของคดีเรื่องการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี เพราะหากมีปัจจัยที่ขัดกับเรื่องดังกล่าวศาลปกครองจะสามารถปัดตกการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการได้ เช่นเดียวกับคดีค่าชดเชยทางด่วนที่เกิดขึ้น

“ตลอดจนหน่วยงานต้องเปิดเผยสัญญาให้รู้มีความหละหลวมอย่างไร สื่อมวลชนต้องใช้สิทธิ์ด้านพรบ.ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานราชการ สามารถขอดูสัญญาได้ หากพนักงานราชการปฏิเสธการเปิดเผยข้อมูลหรือบอกว่าไม่มี ให้ถือว่าข้าราชการคนนั้นมีความผิด หากสามารถนำรายละเอียดสัญญามาเปิดเผยต่อสังคมได้ จะมีเรื่องให้พูดกันอีกเยอะ “นายกิตติศักดิ์ กล่าว

ขณะที่ นายอนันต์ จันทรโอภากร อดีตอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มธ. กล่าวว่า ต้องทำให้โปร่งใสใน 3 ด้านได้แก่ 1.คนชงโครงการ 2.คนเซ็นโครงการ 3.คนบริหารโครงการ ทุกขั้นตอนควรให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนเพื่อความโปร่งใส ส่วนมากผู้ที่เกี่ยวข้องใน 3 ขั้นตอนดังกล่าวนั้นส่วนใหญ่เกษียรไปหมดแล้ว อันที่จริงบุตลากรเหล่านี้และตัวองค์กรเองอย่าง การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)ต้องรับผิดชอบ ในต่างประเทศมีการตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (Risk Management) ซึ่งเป็นบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโครงการให้เป็นผู้เกี่ยวข้อง หากในอนาคตพบข้อผิดพลาดแบบกรณีโฮปเวลล์ กลุ่มบุคคลดังกล่าวจะต้องรับโทษย้อนหลังด้วย หากทำได้จะส่งผลให้บุคลากรที่จงใจทุจริตจะต้องระมัดระวังมากขึ้นในอนาคต






เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"