เงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นเดือนพค. ขยับตามราคาพริก-ผักสด


เพิ่มเพื่อน    

 สรท.ปรับเป้าการส่งออกไทยปี 62 อยู่ที่ 1% จากเดิมคาดหวัง 5% พร้อมเผยภาพรวมการส่งออกช่วง 4 เดือน มีมูลค่า 80,543 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว -1.9% ขณะที่เงินเฟ้อเดือน พ.ค.เพิ่มขึ้น 1.15% ตามการสูงขึ้นของราคาผักสด เฉพาะต้นหอม เพิ่ม 150% พริกสด เพิ่ม 50% รวมถึงข้าวสาร เนื้อสุกร แม้ว่าน้ำมันจะลดลงถึง 4 ครั้งก็ไม่ได้ช่วย

    นางสาวกัณญภัค ตันติพิพัฒนพงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.)  กล่าวเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่า ในปี 2562 นี้ สรท.คาดการณ์ว่าการส่งของไทยจะมีอัตราการเติบโตได้ที่ประมาณ 1% จากประมาณการเดิมที่ 5% โดยมีปัจจัยบวกจากผู้ประกอบการในหลายอุตสาหกรรมเริ่มมีการปรับตัวเพื่อเลี่ยงผลกระทบจากสงครามการค้า โดยการมองหาตลาดใหม่ ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ได้ออกนโยบาย Speed and Strategy เพื่อรับมือกับสงครามการค้า และสหรัฐมีการเลือกการปรับขึ้นภาษีรถยนต์จากทุกประเทศทั่วโลกออกไป 180 วัน และมีการเร่งเจรจากับยุโรปและญี่ปุ่นเพื่อขยายตลาดให้มากยิ่งขึ้น 
    ในส่วนของปัจจัยลบที่มีความเสี่ยงต่อภาคการส่งออกคือ เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ทำให้กระทบกำลังซื้อ สอดคล้องกับองค์การการค้าโลก ประเมินว่าการค้าโลกเริ่มชะลอตัวลงชัดเจน ขณะที่ความยืดเยื้อของสงครามการค้าและการปรับขึ้นภาษีรองที่ 4 ส่งผลกระทบต่อการหาช่องทางระบายสินค้าไปยังประเทศที่สามแทน รวมถึงมาตรการทางการค้าที่สหรัฐดำเนินกับประเทศอื่น ส่งผลกระทบต่อการค้าทั่วโลก รวมถึงยังส่งกระทบต่อการตัดสินใจในการเพิ่มการลงทุน และปัญหากฎระเบียบที่ไม่เอื้อต่อสถานการณ์การส่งออกที่อาจเป็นโอกาสของสินค้าไทยส่งเข้าไปทดแทนตลาดจีนและสหรัฐ
    สำหรับภ    าพรวมการส่งออกในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา ไทยมีการส่งออกมีมูลค่ารวม 80,543 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว -1.9% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นมูลค่าการส่งออกในรูปแบบเงินบาทที่ 2,540,822 ล้านบาท หดตัว -1.9% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 79,993 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว -1.1% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นมูลค่า 2,562,336 ล้านบาท หดตัว -0.9% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ไทยเกินดุลการค้า 549.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือขาดดุล -21,513 ล้านบาท 
    ส่วนการส่งออกในเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ไทยมีมูลค่าการส่งออก 18,555 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว -2.6% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน การส่งออกในรูปแบบเงินบาทเท่ากับ 582,984 ล้านบาท หดตัว -1.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 20,012 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว -0.7% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และการนำเข้าในรูปของเงินบาทมีมูลค่า 637,381 ล้านบาท ขยายตัว 0.7% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ในเดือนเม.ย.ไทยขาดดุลการค้า 1,457 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ -54,396 ล้านบาท
    วันเดียวกัน น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ (เงินเฟ้อ) เดือน พ.ค.2562 เท่ากับ 103.31 เพิ่มขึ้น 0.48% เมื่อเทียบกับเดือนเม.ย.2562 และเพิ่มขึ้น 1.15% เมื่อเทียบกับเดือน พ.ค.2561 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง เมื่อเทียบกับเดือนเม.ย.ที่ผ่านมาที่สูงขึ้น 1.23% ส่วนเงินเฟ้อรวม 5 เดือนของปี 2562 (ม.ค.-พ.ค.) เพิ่มขึ้น 0.92%
    “สินค้ากลุ่มอาหารสด เป็นแรงกดดันหลักที่ทำให้เงินเฟ้อเดือน พ.ค.สูงขึ้น โดยกลุ่มอาหารสดเพิ่มขึ้นถึง 5.28% ตามการสูงขึ้นของผักสด เช่น ต้นหอม เพิ่ม 150% พริกสด เพิ่ม 50% ข้าวสาร และเนื้อสุกร แม้ว่ากลุ่มพลังงานจะกลับมาหดตัว โดยลดลงถึง 0.49% ตามราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศที่ปรับลดลงถึง 4 ครั้งในเดือน พ.ค. แต่ก็ไม่ได้ฉุดให้เงินเฟ้อลดลง เพราะมีการปรับขึ้นค่าโดยสารสาธารณะ ทั้งรถขสมก., บขส. และรถตู้ แต่ก็จะมีผลแค่เดือนนี้เดือนเดียว”
    สำหรับรายละเอียดราคาสินค้าในเดือน พ.ค.2562 พบว่า สินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เพิ่มขึ้น 2.83% โดยสินค้าสำคัญที่สูงขึ้น เช่น ผักสด เพิ่ม 29.34%, ข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง เพิ่ม 3.74%, เนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ เพิ่ม 3.26%, เครื่องประกอบอาหาร เพิ่ม 1.77%, เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เพิ่ม 0.61%, อาหารบริโภคในบ้าน เพิ่ม 0.615 นอกบ้าน เพิ่ม 1.32% ส่วนไข่และผลิตภัณฑ์นม ลด 0.30%, ผลไม้สด ลด 0.63%
     ขณะที่สินค้าหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม เพิ่ม 0.20% สินค้าสำคัญที่เพิ่มขึ้น เช่น ค่าโดยสารสาธารณะ เพิ่ม 5.63%, เครื่องนุ่งห่ม เพิ่ม 0.08%, เคหสถาน เพิ่ม 0.33%, การรักษาและบริการส่วนบุคคล เพิ่ม 0.21%, การขนส่งและการสื่อสาร เพิ่ม 0.08%, บันเทิง การอ่าน การศึกษา เพิ่ม 0.28% โดยน้ำมันเชื้อเพลิง ลดลง 1.20% และยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ลด 0.02%
    น.ส.พิมพ์ชนกกล่าวว่า แนวโน้มเงินเฟ้อจะยังคงปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของสินค้าในหมวดอาหาร โดยเฉพาะผักสด ที่ปีที่แล้วฐานต่ำ จากการที่ฝนตกชุก ผลผลิตดี แต่ปีนี้ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ราคาน่าจะทรงตัวในระดับสูง ขณะที่ราคาน้ำมันจะทรงตัวอยู่ในระดับนี้ ยกเว้นมีเหตุการณ์อะไรรุนแรง ส่วนราคาบุหรี่และเหล้า ราคาทรงตัว เพราะปีก่อนปรับขึ้นราคาตามการเพิ่มขึ้นของภาษีไปแล้ว โดยสนค.จะพิจารณาปรับกรอบเงินเฟ้อใหม่ โดยเพิ่มค่ากลางจากเดิม 1.2% ส่วนจะเพิ่มขึ้นเท่าใด ขอดูตัวเลขเดือน มิ.ย.2562 ก่อน แต่ค่าเฉลี่ยจะยังคงเดิมที่ 0.7-1.7%.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"