นักวิชาการชี้ เติมทรายทุกหาดไม่คุ้ม เสียงบฯไปมากแต่ได้แค่ประทังปัญหา เสนอถอยร่นหยุดกิจกรรมกระทบ


เพิ่มเพื่อน    

 

 

การกัดเซาะชายฝั่ง เครดิตภาพ อาจารย์ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง

 

20มิ.ย.62- นักวิชาการจุฬาฯ ห่วงเติมทรายทุกชายหาดท่องเที่ยวไม่แก้กัดเซาะชายฝั่ง  ชี้ที่ผ่านมาเสียเงินทำโครงสร้างรักษาแนวชายฝั่ง ได้แค่ประทัง  ยิ่งทำให้ปัญหาขยายวงกว้าง เสนอประกาศเขตถอยร่นหยุดกิจกรรมเสี่ยง

กรณีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีนโยบายเสริมทรายทุกชายหาดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อแก้ปัญหาชายหาดเสื่อมโทรมและกัดเซาะชายฝั่งโดยมีโครงการเสริมทรายชายหาดพัทยาเป็นแนวทาง 

 

ศ.ดร.เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์ 

 

      ศ.ดร.เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในวงเสวนา”วิกฤตขยะทะเลไทยและการกัดเซาะชายฝั่ง...ใครว่าเรื่องเล็ก“ ที่เกาะทะลุ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ว่า  การที่นายกรัฐมนตรีสั่งถมชายหาดด้วยวิธีเสริมทรายทุกหาดจำเป็นต้องมีการประเมินมูลค่ากิจกรรมการใช้ประโยชน์ของชายหาดในแต่ละพื้นที่และคำนึงถึงการแก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งระยะยาวเพราะแนวทางป้องกันไม่ใช่สิ่งที่ภาครัฐต้องเอาเงินใส่ลงไปตลอดหรือต้องวิ่งตามแก้ปัญหา    สำหรับโครงการเสริมทรายชายหาดพัทยารับผิดชอบโดยกรมเจ้าท่าสามารถดำเนินการได้เพราะพัทยาเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของภาคตะวันออกและสร้างรายได้จำนวนมากแต่ชายหาดอื่นๆถามว่ามีผลตอบแทนของโครงการด้านเศรษฐศาสตร์คุ้มค่าหรือไม่  การบริหารจัดการที่เหมาะสมท้องถิ่นจะต้องสามารถดูแลและรักษาชายหาดด้วยตัวเอง 

 

การกัดเซาะชายฝั่ง เครดิตภาพ อาจารย์ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง

 

     ศ.ดร.เผดิมศักดิ์กล่าวว่าชายหาดพัทยาเจอปัญหากัดเซาะมายาวนานต้องฟื้นฟูประเทศไทยพบปัญหากัดเซาะชายฝั่งนำไปสู่การสูญเสียระบบนิเวศหาดดังนั้นการรักษาและฟื้นฟูระบบนิเวศปะการังและป่าชายเลนจะต้องเชื่อมโยงกับระบบนิเวศหาดแต่ความพยายามแก้ปัญหาที่ผ่านมาพบว่าในหลายกรณียิ่งแก้ยิ่งกัดเซาะยิ่งทำให้ปัญหาขยายวงกว้างเพราะเน้นรักษาเส้นแนวชายฝั่งด้วยโครงสร้างแข็ง  ทำให้การกัดเซาะไปยังพื้นที่ใกล้เคียงอย่างต่อเนื่อง เราเสียเงินทำแนวป้องกันชายฝั่งในอ่าวไทยและอันดามัน  แต่แก้ปัญหาไม่ได้ เพราะเป็นการแก้ปัญหาความเดือดร้อนแบบเร่งด่วน ขาดองค์ความรู้ที่ครบถ้วน ขาดเจ้าภาพที่ทำให้เกิดความร่วมมือในการป้องกัน

     ศ.ดร.เผดิมศักดิ์  กล่าวว่า ไทยมีชายฝั่งทะเลยาวมากกว่า3,100 ตารางกิโลเมตรพบว่าสถานการ์กัดเซาะชายฝั่งมีความน่าเป็นห่วงปี2560 มีชายฝั่งถูกกัดเซาะไปแล้วกว่า145 กิโลเมตรและอยู่ระหว่างแก้ปัญหาถึง558 กิโลเมตรมีเพียง1,700 กิโลเมตรไม่กัดเซาะส่วนที่เหลือ722 กิโลเมตรเป็นพื้นที่ก่อสร้างรุกล้ำแนวชายฝั่งจากการเก็บข้อมูลพบว่าแม้สถานการณ์ปัญหากัดเซาะของไทยลดลงแต่สิ่งที่กำลังทำกันอยู่นี้ไม่ใช่การแก้ปัญหาแต่เพียงประทังหรือชะลอเท่านั้นปัญหาไม่ได้หมดไปแล้วก็ไม่ได้ระบบนิเวศหาดทรายกลับคืนมาด้วยแนวทางควรรักษาและฟื้นฟูระบบนิเวศเชื่อมโยงกับระบบหาดเช่นปะการังหญ้าทะเลป่าชายหาดป่าชายเลน 

     “ ส่วนข้อเสนอแนะเชิงนโยบายแก้กัดเซาะชายฝั่งที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) หรือสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม(สกสว.) ในปัจจุบันประเด็นหลักๆ  ป้องกันสาเหตุกัดเซาะโดยประกาศเขตถอยร่นระงับกิจกรรมเสี่ยงที่ทำให้สมดุลตะกอนในบริเวณชายหาดเกิดการเปลี่ยนแปลงและรักษาระบบนิเวศที่เป็นแนวกันคลื่นเช่นปะการังป่าชายเลน  ส่วนการแก้ไขปัญหาต้องตรวจสอบซ่อมแซมโครงสร้างที่ชำรุด  ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพป้องกันกัดเซาะต้องทำตัวชี้วัดความสำเร็จในการแก้ไขปัญหากัดเซาะให้ชัดเจนและมีการกำหนดเขตกิจกรรมการใช้ประโยชน์และการวางแผนเชิงพื้นที่ทางทะเล“ ศ.ดร.เผดิมศักดิ์ กล่าว

 

 



 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"