รักน้องมาเรียมต้องชม! “ศิลปะฆาตกรแห่งท้องทะเล” 


เพิ่มเพื่อน    

รณรงค์สื่อความหมายงดทิ้งขยะในทะเล

 

    น้องมาเรียม พะยูนน้อย สุดแสนน่ารัก ที่กำพร้าแม่ และกำลังได้รับการพิทักษ์ดูแลจากทีมสัตวแพทย์ กำลังเป็นขวัญใจของคนในสังคม เพราะน้องมาเรียม มีพฤติกรรมเหมือนเด็กน้อยคนหนึ่ง  ทั้งอ้อน ทั้งไร้เดียงสา แต่เบื้องลึกในชะตากรรมของ"มาเรียม"ที่พลัดพรากจากแม่ของมันนั้น หนีไม่พ้นปัญหาสภาพแวดล้อมในทะเลที่เสื่อมโทรมลงจนส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำ และพะยูน  ก็เป็นสัตว์ที่อ่อนไหวต่อปัญหาสภาพแวดล้อมอย่างมาก
    หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ทะเลเสื่อมโทรมลงนั้นก็คือ ปัญหาขยะในทะเล ที่นับวันมีแต่จะเพิ่มขึ้น ข้อมูลล่าสุดของนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น ที่ใช้ยานสำรวจใต้น้ำ ได้พบถุงพลาสติกใบหนึ่ง จมอยู่ที่ระดับความลึก 10,898 เมตร  บริเวณร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา (Mariana Trench )  ซึ่งนับว่าใกล้กับจุดลึกที่สุดของโลกใต้มหาสมุทร

 

พีรพัฒน์ ประสานพานิช นิเทศศิลป์ สจล.


    ผลงานศิลปะ“ฆาตกรแห่งห้วงสมุทร” (Ocean Killer)  ซึ่งเป็นนิทรรศการศิลปนิพนธ์ประจำปี 2562    ของ"พีรพัฒน์ ประสานพานิช" นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขานิเทศศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ได้กลายเป็นสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อรณรงค์ไม่ทิ้งขยะในทะเล โดยเล่าเรื่องผ่านภาพทั้งหมด 6 ภาพ ที่บอกเล่าเรื่องราวความเจ็บปวดผ่านสัตว์นักล่าอย่าง “ฉลาม” ยังต้องยอมสยบให้กับฆาตรกรไร้ชีวิตอย่าง “ขยะพาสติก”

รณรงค์งดทิ้งขยะในทะเล


    “ผมเกิดและเติบโตในพื้นที่ที่มีทะเล ได้เห็นพัฒนาการของทะเลในห้วง 10 – 20 ปีที่ผ่านมา ความเติบโตทางเศรษฐกิจ จากการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้น แต่กลับทำให้สภาพแวดล้อมรอบตัวเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว จากการใช้ประโยชน์อย่างไม่ระมัดระวังและไม่ได้คิดถึงอนาคต สู่การเริ่มต้นการออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านภาพ เพื่อรณรงค์ให้นักท่องเที่ยวตระหนักถึงความรุนแรงจากขยะที่มีต่อท้องทะเล” พีรพัฒน์ เล่าถึงที่มาที่เป็นแรงบันดาลใจทำผลงานชุดนี้ 

มัจจุราชพลาสติก


                ทะเลไทยถูกจัดอันดับให้เป็นทะเลที่มีขยะมากที่สุดในโลก อันดับที่ 6 จากตัวเลขของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยขยะที่พบมากที่สุดในทะเลไทยคือ ถุงพลาสติก 18% แก้วหรือขวดพลาสติก 17% โฟมหรือ ภาชนะใส่อาหาร 9% หลอด 7% เศษเชือกหรือเศษอวน 5% และกระป๋องน้ำ 4% ซึ่งที่มาของขยะกว่า 80% มาจากแหล่งทิ้งขยะบนฝั่งบริเวณท่าเรือ หรือชุมชนริมทะเล รวมทั้งกิจกรรมการท่องเที่ยวและการประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับทะเล นิทรรศการจบบริบูรณ์ของนักศึกษา จะพาไปเปิดความหมาย 3 ภาพ หยุดความรู้สึก กับความเจ็บปวดของสัตว์ทะเลจากฆาตกรแห่งห้วงสมุทร

หญ้าทะเลไร้ชีวิต เพราะจริงๆคือ ขยะหลอดพลาสติก

       หญ้าทะเล ที่เป็นอาหารหลักของพะยูน ลดน้อยลง แต่ขยะจากหลอดพลาสติก ที่ดูคล้ายหญ้าทะเล อาจทำให้พะยูนเข้าใจผิดกินเข้าไป  เช่นเดียวกับเต่าออมสิน  เคยเป็นเหยื่อของขยะพลาสติกในทะเลมาแล้ว  ในท้องของออมสินมีถุงพลาสิกก๊อกแก๊บถึง 8กิโลกรัม เพราะเข้าใจผิดว่าเป็นแมกระพรุน

 

 

โซ่ตรวนตัดชีวิต

           ทั้งนี้ภาพ" โซ่ตรวนตัดชีวิต "พีรวัฒน์ บอกว่า ต้องการสะท้อนผลกระทบของขยะในทะเลต่อสัตว์น้ำอีกประเภท คือแมวน้ำ จากการสำรวจพบว่า “แมวน้ำ” เสียชีวิตจากเศษซากอวนและเชือกจากการทำประมงของมนุษย์สูงที่สุด ภาพนี้ถูกสื่อสารให้เห็นถึงความรุนแรง ที่สัตว์เหล่านี้ถูกกระทำจากการใช้ชีวิตปกติของพวกเขา ความรุนแรงเหล่านี้มาจากความตั้งใจและไม่ตั้งใจของมนุษย์ แต่ได้ทำลายชีวิตของสัตว์ไปนับไม่ถ้วน ภาพเหล่านี้จึงถูกใช้เป็นส่วนหนึ่ง ในการถ่ายทอดเรื่องราวความเจ็บปวด จากฆาตกรเลือดเย็นแทนสัตว์ทะเลเหล่านี้
                ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อันธิกา สวัสดิ์ศรี คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. ได้ออกแบบการเรียนการสอน ให้นักศึกษาเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง ในสิ่งที่แต่ละบุคคลสนใจ และความถนัดที่แตกต่างกัน สิ่งสำคัญคือการเปิดพื้นที่ให้นักศึกษาแสดงความสามารถและถ่ายทอดสิ่งที่เรียนมาสร้างประโยชน์สู่สังคมโลก การถ่ายทอดข้อความใดๆ ก็ตามสักหนึ่งข้อความ ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ที่การเขียน หรือการเล่าแบบออกเสียง “ภาพ” ถูกนำมาใช้ในการสื่อความหมายเช่นเดียวกัน หัวใจหลักของการออกแบบสารหรือข้อความ เพื่อสื่อสารกับสังคมนั้น คือการออกแบบให้เข้าถึงและกุมความรู้สึกของผู้รับสาร ภาพเหล่านี้ถูกนำเสนอแทนเสียงร้องของสัตว์ทะเล ต่อการคุกคามและหยิบยื่นความแต่แก่พวกเขา โดยมนุษย์ผู้ไร้ความรับผิดชอบ

 

ผลงานจัดแสดง ocean killer
                     สำหรับผู้ที่พลาดการชมผลงานในปีนี้สามารถชมได้ใหม่ในช่วงมิถุนายน 2020 หรือติดตามข้อมูลข่าวสารผ่านทาง www.facebook.com/archkmitl สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักบริหารงานทั่วไปและประชาสัมพันธ์ สจล. โทรศัพท์ 02-329-8111 เว็บไซต์ www.kmitl.ac.th หรือ www.facebook.com/kmitlofficial

 

ภาพบรรยากาศศิลปนิพนธ์


.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"