5G หัวใจสำคัญของเมืองอัจฉริยะ


เพิ่มเพื่อน    

การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ได้กลายเป็นหัวข้อหลักในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ทั่วโลกให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งในส่วนของประเทศไทยได้เริ่มขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะอย่างจริงจัง และมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำทางด้านดังกล่าวในภูมิภาค

 

เห็นได้จากแผนของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) ก็เร่งนำร่อง เมืองอัจฉริยะที่กรุงเทพมหานคร และหัวเมืองใหญ่ อย่าง ภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น และในพื้นที่อีอีซี 3 จังหวัด คือ ระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา ซึ่งก็มีความคืบหน้าไปในหลายด้าน

 

แต่อย่างไรก็ดีการสร้างเมืองอัจฉริยะ  (SmartCity) ให้สามารถใช้งานได้จริงนั้น ระบบการเชื่อมโยง สื่อสารจะต้องมีอย่างทั่วถึง และ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจะต้องมีเพียงพอต่อการใช้งาน  เพราะเมืองอัจฉริยะจะต้องขับเคลื่อนด้วยระบบเซ็นเซอร์ และอุปกรณ์  IoT ชนิดครอบคลุมทั้งเมือง ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ จำเป็นต้องใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เป็นสื่อกลาง ซึ่งเทคโนโลยีที่สามารถรองรับการรับส่งข้อมูลได้จำนวนมหาศาล โดยมีความหน่วงที่ต่ำมาก ก็หนีไม่พ้น เทคโนโลยี 5G 

สรุปง่ายๆก็คือ 5G คือ หัวใจของเมืองอัจฉริยะ  มันจะเกิดขึ้นได้โดยขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้

นี่จึงเป็นความจำเป็นที่ ทำให้ ทางสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) จำเป็นต้องผลักดันให้ 5G เกิดขึ้นในประเทศไทยให้ได้โดยเร็วที่สุด เห็นได้จากการเริ่มต้นด้วยการจัดสรรคคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz ที่ผ่านมา และในช่วงปลายปี 2662 จะมีการจัดสรรคลื่นความถี่ด้วยวิธีประมูลในคลื่นความถี่ย่าน 2600 MHz 26 GHz และ 28 GHz

 

ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ประเทศไทย ปักหมุด 5G ได้ก่อนใครในภูมิภาค ซึ่งนำไปสู่การสร้างโอกาสอีกมากมายมหาศาล  เพราะตอนนี้ บางประเทศอย่าง เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ก็เริ่มเปิดให้บริการ 5G ไปแล้ว และล่าสุด ทางจีน ก็ได้ออกใบอนุญาตให้บริการเครือข่ายติดต่อสื่อสารไร้สายระบบ 5G แก่ รัฐวิสาหกิจผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมรวม 4 ราย ได้แก่ ไชน่า เทเลคอม, ไชน่า โมบาย, ไชน่า ยูนิคอม, และ ไชน่า บรอดแคสติ้ง เน็ตเวิร์ก คอร์เปอเรชั่น  เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และปีนี้ ใน 40 เมืองใหญ่ของจีน มีบริการ 5G ใช้แน่นอน

 

ถ้าหากในปี 2563 ไทยไม่สามารถดำเนินการ 5G ได้สำเร็จ ผลที่เกิดขึ้น คือ 1.กระทบภาคการผลิตและอุตสาหกรรม ภาพรวมประเทศจะ สูญเสียมูลค่าเศรษฐกิจสูงถึง 2.3 ล้านล้านบาทในปี 2573 คิดเป็น 20% ของจีดีพีประเทศ หรือ77% ของงบประมาณประเทศ เฉพาะภาคอุตสาหกรรมจะเสียหาย 7 แสนล้านบาท-1.6 ล้านล้านบาท คิดเป็น 10-30% กระทบจีดีพีภาคอุตสาหกรรม

2. กระทบต่อแผนการผลักดันสมาร์ท ซิตี้ หรือเมืองอัจฉริยะ เพราะ 5G จะเข้ามาช่วยให้การใช้ชีวิตของประชาชนสะดวกขึ้น ทั้งการเรียน ทำงาน ท่องเที่ยว และกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน  3.กระทบ สมาร์ท ฮอสพิทอล หรือโรงพยาบาลอัจฉริยะ อีก 25 ปี ไทยจะมีผู้สูงอายุ 20 ล้านคนซึ่ง 5G จะเข้ามาช่วยในการรักษาพยาบาลมีเทคโนโลยีอำนวยความสะดวก จะมีการผ่าตัดที่บ้าน ช่วยประหยัดค่ารักษาพยาบาลของภาครัฐคิดเป็น 1.1 หมื่นล้านบาทต่อปี

 

ฉะนั้นไทยจึงรอไม่ได้ที่จะเลื่อนเปิดให้บริการ 5G เพราะการสร้างเมืองอัจฉริยะ  ซึ่งถือเป็นนโยบายหลักของรัฐบาล จะไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลย ถ้า 5G ไม่เข้ามาสนับสนุน

สำหรับการเกิดขึ้นของ เมืองอัจฉริยะ จะต้องมีองค์ประกอบ 7 อย่าง ดังต่อไปนี้ 1. Smart Mobility การสัญจรอัจฉริยะ  2. Smart Community ชุมชนอัจฉริยะ 3. Smart Economy เศรษฐกิจอัจฉริยะ 4. Smart Environment สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ  5. Smart Governance การปกครองอัจฉริยะ  6. Smart Building อาคารอัจฉริยะ 7. Smart Energy พลังงานอัจฉริยะ

 

ซึ่ง 7 หลักการที่ว่านี้ ก็ต้องพึ่งพาแอพพลิเคชัน, ปัญญาประดิษฐ์, บิ๊กดาต้า และ อุปกรณ์ IoT ที่จะต้องใช้การสื่อสารความเร็วสูงอย่าง 5G เป็นตัวเชื่อมต่อทั้งสิ้น

 

ลองนึกภาพดู เมืองที่ใช้การจัดการไฟจราจร ด้วยระบบอัตโนมัติ เมื่อมีปัญหารถติด ระบบสามารถจัดการระบายรถ ด้วยเทคโนโลยี ที่จัดการได้ทั้งเมือง ไม่จำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่มาสับสวิทซ์ทีละแยก ที่สำคัญเมื่อเกิดอุบัติเหตุระบบสามารถแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่ และรถฉุกเฉิน ให้ไปยังจุดเกิดเหตุอย่างรวดเร็วที่สุด ขณะที่ระบบไฟฟ้า ประปา ตรวจสอบได้จากที่ศูนย์กลาง ทุกอย่างทำงานบนเซ็นเซอร์ IoT ที่จะคอยแจ้งสถานะต่างๆ เรียกว่า เมืองจะมีสมองของตัวเอง ที่สามารถดูแลได้สะดวกและง่ายที่สุด

 

แน่นอนทาง กสทช. ก็ต้องการมีส่วนร่วมในการสร้างเมืองอัจฉริยะให้เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยเมื่อไม่นานมานี่ ก็ได้ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงนามความร่วมมือทางวิชาการจัดตั้งศูนย์ทดลองทดสอบ 5G เพื่อเตรียมความพร้อมและรองรับการให้บริการโทรคมนาคม ตามแนวนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติผลักดันประเทศไทยเข้าสู่เทคโนโลยี 5G

 

โดยที่ศูนย์นี้จะดำเนินการศึกษา ทดสอบ และตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ ระบบ รวมถึงบริการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี 5G ได้แก่ อุปกรณ์เชื่อมต่อ Internet of Things (IoT) ระบบการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล Big Data ระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ (Intelligent Transportation System: ITS) ระบบสาธารณสุขทางไกล (Telehealth) เป็นต้น

 

ทั้งนี้เชื่อว่าการให้บริการโทรคมนาคมในระบบ 5G จึงเป็นอนาคตของการให้บริการโทรคมนาคมในประเทศไทยที่จะช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"