สายป่านสุดท้าย ก่อนวิถีดั้งเดิม"กรุงธนบุรี"สูญหายไม่เหลือซาก


เพิ่มเพื่อน    

ศมส.ถอดบทเรียน"ธนบุรี 250ปี" พบความ เปลี่ยนแปลง วิถีชุมชนดั้งเดิมใกล้สูญหายแทบไม่หลงเหลือ  เหตุถูกชุมชนเมืองอุตสาหกรรมสมัยใหม่รุกพื้นที่   นักวิชาการปลุกสำนึกคนชุมชนดั้งเดิม ช่วยฟื้นฟูดูแลวัฒนธรรมท้องถิ่น

       2 มี.ค.- ที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (ศมส.)องค์การมหาชน จัดสัมมนา "ธนบุรีในวัฏจักรการเปลี่ยนแปลง : มองผ่านชีวิตคนและชุมชน" นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลได้เห็นชอบให้มีการจัดกิจกรรม โครงการในโอกาสเฉลิมฉลองกรุงธนบุรีครบรอบ 250 ปี ศมส.จึงได้จัดสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับสังคม วิถีชีวิตของคนไทยสมัยกรุงธนบุรีที่สืบทอดมายาวนานสู่กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 1-2 มีนาคม 2561 ขึ้น ซึ่งจากการสำรวจข้อมูลพื้นที่ฝั่งธนบุรีทุกวันนี้ พบว่า มีการพัฒนาความเจริญด้านต่างๆ  ทำให้วิถีชีวิตชุมชนริมน้ำและชุมชนชาวสวนแบบเก่าเปลี่ยนไป กลาย เป็นชุมชนเมืองอุตสาหกรรมสมัยใหม่  หรือคนที่เคยอยู่เก่าหายไป แต่มีคนต่างถิ่นอพยพมาอยู่อาศัยแทน

    ขณะที่ผู้คนที่อาศัยอยู่ในฝั่งธนบุรีก็มีความแตกต่างหลากหลาย  โดยมีทั้งกลุ่มคนดั้งเดิมที่สืบเชื้อสายมาจากชาวจีน มุสลิม และกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ และคนกลุ่มใหม่ที่อพยพย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานเพื่อเป็นแรงงานในภาคส่วนต่างๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ การสัมมนานี้คาดหวังให้เกิดการร่วมมือร่วมใจในการอนุรักษ์ ทั้งบ้านเรือน วิถีชุมชนโบราณสถาน ควบคู่ไปกับการพัฒนาเมืองอย่างเหมาะสมตามยุคสมัย 

      นายพีรพน พิสณุพงศ์ ผอ.ศมส.กล่าวว่า การสัมมนาได้นำเสนอผลงานวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสังคมและวัฒนธรรมของคนกลุ่มต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ธนบุรี ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีความน่าสนใจมาก  เพราะปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงทุกมิติ จนเกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนพื้นถิ่น ซึ่งเกิดจากการพัฒนาทางสังคม   ทำให้วิถีชุมชนประเพณีท้องถิ่น การประกอบอาชีพ ตลอดจน อาคารบ้านเรือนเก่าเสื่อมสภาพและกำลังจะสูญหายไป สัมมนาครั้งนี้  นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมในการทำความเข้าใจ และตระหนักถึงการอยู่กับความหลากหลาย และการเปลี่ยนแปลงของสังคมและวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในพื้นที่ธนบุรี  ซึ่งทุกภาคส่วนทั้งนักวิชาการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมจำเป็นต้องร่วมมือศึกษาเพื่อหาแนวทางแก้ไขที่เหมาะสม ขณะเดียวกัน เรายังหวังว่าการสัมมนาครั้งนี้ จะเป็นการกระตุ้นจิตสำนึกให้คนในย่านฝั่งธนบุรี ได้ร่วมกันดูแลชุมชนของตัวเอง รวมทั้งให้ผู้รู้ท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่ธนบุรี ได้จัดระบบความคิดกระบวนการแก้ปัญหา และถอดบทเรียนจากการทำงานเพื่อฟื้นฟู สืบทอด อนุรักษ์ และส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่นของตนเองให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนต่อไป

    "เราได้แต่หวังว่า อย่าให้คนดั้งเดิมธนบุรีทิ้งถิ่นฐานไป หรือมีการเปลี่ยนมือ ขายที่ดินที่ตกทอดมาหลายชั่วคน เพราะในแง่ของการรักถิ่นฐาน คิดว่าคนธนบุรีดั้งเดิม ย่อมจะรักท้องถิ่นมากกว่ากลุ่มคนที่เข้ามาอยู่ใหม่"ผอ.ศมส.กล่าว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"